13 พ.ย. เวลา 02:06 • ความคิดเห็น

ที่แห้งและเย็น แต่ไม่ใช่ตู้เย็น..

📍 เคยสงสัยไหมว่า ฉลากอาหารที่ระบุว่า "ควรเก็บในที่แห้งและเย็น" สมควรเก็บที่ไหน เก็บในตู้เย็นก็เคยเห็นไอน้ำ แล้วจะแห้งได้อย่างไร ?
สำหรับในต่างประเทศที่มีอากาศเย็น อุณหภูมิห้องธรรมดาก็สามารถเก็บไว้ได้แบบสบายๆ แต่สำหรับประเทศที่มีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีอย่าง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือประเทศไทย ควรทำอย่างไร ?
ปกติแล้วคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์อย่าง "เก็บในที่เย็นและแห้ง" มักพบได้บนต่างๆ เช่น อาหาร ยา เครื่องสำอาง และของใช้ในครัวบางชนิด เป็นคำแนะนำการเก็บรักษาเพื่อคงคุณภาพ ความสดใหม่ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย
ควรเก็บในที่แห้งและเย็น หรือ Keep in dry and cool place ในนิยามของ USP (The United States Pharmacopeial Convention) ระบุว่า
• Freezer : คือช่วง -25°C ถึง -10°C
• Cold : คือช่วง 2°C ถึง 8°C
• Cool : คือช่วง 8°C ถึง 15°C
• Warm : คือช่วง 30°C ถึง 40°C
และ Dry Place คือสภาวะที่ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยไม่เกิน 40% โดยที่ค่าสูงสุดไม่เกิน 45% ควรเก็บให้ห่างจากความชื้น เนื่องจากความชื้นสามารถนำไปสู่การเจริญเติบโตของเชื้อรา แบคทีเรีย หรือจุลินทรีย์อื่นๆ ได้
ตามหลักวิศวกรรมการทำความเย็นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น หรือเครื่องปรับอากาศ หนึ่งในปัจจัยของการทำงาน คือ ลดความชื้นในอากาศ หรือลดความชื้นสัมพัทธ์
อันที่จริงแล้วนั้นความชื้นในตู้เย็นเกิดจากการควบแน่น ซึ่งเกิดจากการเปิดประตูตู้เย็นบ่อยๆ อากาศร้อนที่เข้าไปปะทะกับความเย็นด้านในจะทำให้เกิดไอน้ำและละอองน้ำ (เหมือนกรณีเรานำของที่แช่ไว้ในตู้ออกมาด้านนอกแล้วเกิดหยดน้ำเช่นกัน)
และยังรวมถึงอาการบางประเภทอย่าง ผักและผลไม้ จะมีการปล่อยความชื้นจากน้ำออกมาอยู่ตลอดเวลา (สังเกตุจากการแช่ผักและผลไม้ไปนานๆ โดยไม่ได้เก็บในกล่อง จะมีลักษณะแห้งลง)
สรุปแล้ว "ควรเก็บในที่แห้งและเย็น" ควรเก็บที่ไหน ?
• ตู้เก็บของในบ้าน (ที่ห่างจากแหล่งกำเนิดความร้อน เช่น เตา)
• ช่องเก็บผักในตู้เย็น (ที่ไม่มีผักหรือผลไม้ที่การคายน้ำรวมอยู่ด้วย)
• เก็บในตู้เย็นด้วยกล่องที่ปิดสนิท
• ห้องใต้ดินหรือห้องเย็น (อย่างเช่นไวน์)
ตัวอย่างที่กล่าวมาก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าด้วย เช่น Chocolate ยีห้อดังในภาพซึ่งมีส่วนผสมของปาล์ม อยู่ด้วย การไปแช่ตู้เย็น จะทำให้ปาล์มจับตัวเป็นไขบริเวณผิวหน้าของ Chocolate เมื่อหยิบมาบริโภค จึงจำเป็นต้องรอให้ไขพวกนี้ละลายจึงสามารถบริโภคได้โดยคุณภาพใกล้เคียงกับแบบปกติที่สุด
หรือ เครื่องสำอาง อาหารเสริม วิตามิน ที่ต้องเก็บในที่เย็นแต่ไม่ใช่ตู้เย็น จึงควรเก็บในตู้ หรือห้องที่โดนแดดน้อยที่สุด
ที่กล่าวมาคือการเก็บรักษาอาหารในครัวเรือน ที่มีปริมาณไม่มาก และมีอายุการใช้งานที่ไม่นานมาก แต่สำหรับอุตสาหกรรมอาหารแล้ว ห้องเย็นเก็บของแห้ง (𝗗𝗿𝘆 𝗦𝘁𝗼𝗿𝗮𝗴𝗲/𝗗𝗿𝘆𝗿𝗼𝗼𝗺) ที่ใช้เก็บผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บรักษายาวนาน เช่น ชา แป้ง กาแฟ เส้นพาสต้า น้ำตาล อาหารกระป๋อง
แม้ไม่ต้องการอุณหภูมิที่ต่ำมากนัก แต่ต้องออกแบบให้มีการควบคุมอากาศ ความชื้น อุณหภูมิ และแสงสว่าง อย่างเหมาะสม เพื่อให้แน่ใจว่าสภาพแวดล้อมคงที่ ปราศจากการปนเปื้อน และความชื้น
นอกจากผลิตภัณฑ์อาหารแล้ว 𝗗𝗿𝘆𝗿𝗼𝗼𝗺 𝘀𝘆𝘀𝘁𝗲𝗺 ยังใช้นิยามว่าเป็น "ห้องควบคุมความชื้น" โดยควบคุมปริมาณความชื้นในอากาศให้อยู่ในระดับที่กำหนด เพื่อรักษาคุณภาพและผลผลิตของสินค้าที่ผลิต เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, แบตเตอรี่เครื่องมือแพทย์, UPS สำหรับ Data centers, และเครื่องมือทางไฟฟ้าอื่นๆ เป็นต้นครับ
𝗔𝗖𝗥 : 𝗔𝗱𝘃𝗮𝗻𝗰𝗲 𝗖𝗼𝗹𝗱 𝗥𝗼𝗼𝗺 ให้ความสำคัญกับระบบทำความเย็นสำหรับอุตสาหกรรม และธุรกิจทุกประเภทมานานกว่า 30 ปี ทั้งในและต่างประเทศ พร้อมให้บริการด้านวิศวกรรมแบบครบวงจร ตั้งแต่ให้คำปรึกษา ออกแบบ การจัดซื้อจัดจ้าง การติดตั้ง ไปจนถึงการบำรุงรักษาและการตรวจสอบหลังติดตั้ง
↗ ห้องแช่แข็ง/ห้องเย็น Air Blast Freezer/Chilled Room
↗ ห้องแช่แข็ง/ห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาสินค้า
↗ ห้องเย็นพักสินค้า (Anti Room)
↗ Processing Room
Line id : @advancecool หรือคลิก https://lin.ee/Uv6td2a
#ห้องเย็น #ColdStorage #Coldroom #Dryroom #ห้องเย็นเก็บของแห้ง #ออกแบบห้องเย็น #อุณหภูมิห้องเย็น
โฆษณา