Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Health Story - เฮ้วนี้มีเรื่อง
•
ติดตาม
13 พ.ย. เวลา 06:35 • สุขภาพ
โรคไอกรนอันตรายแค่ไหน หลังพบ นร.สาธิต มศว ปทุมวันป่วย จนต้องสั่งปิดเรียน
1.ไอกรนระบาดในสาธิต มศว ปทุมวัน
เมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2567 นายโชติวิทย์ ธรรมสุจิตร ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ออกประกาศ เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไอกรน โดยมีเนื้อหาในประกาศว่า
สืบเนื่องจากการสอบสวนการระบาดกรณีพบผู้ป่วยโรคไอกรน ตั้งแต่วันอังคารที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2567 จนถึงปัจจุบัน จำนวนมากกว่า 2 รายขึ้นไป ภายในพื้นที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน
เพื่อเป็นการลดความเสียงของการแพร่ระบาดของโรคไอกรนในโรงเรียน และตระหนักถึงความปลอดภัยของ บุคลากรและนักเรียนที่จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดดังกล่าว โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนศรินทร์วิโรฒ ปทุมวัน จึงเห็นสมควรให้ประกาศมาตรการและแนวทางการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
- ปิดสถานศึกษา ระหว่างวันพุธที่ 13 – วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
- งดใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียน ระหว่างวันพุธที่ 13 – วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
- ให้ทุกระดับชั้นจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์เต็มรูปแบบ
- การมอบหมายงานของอาจารย์และการปฏิบัติงานกลุ่มของนักเรียน ต้องเป็นงาน หรือกิจกรรมที่ไม่มีการมารวมกลุ่มปฏิบัติด้วยกันโดยเด็ดขาด
- ระหว่างวันพุธที่ 13 – วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ขอให้บุคลากรปฏิบัติงาน ณ สถานที่พักอาศัยของตนเอง (Work from Home) โดยพร้อมรับการติดต่อหรือสั่งการจากผู้บังคับบับบัญชา ในส่วนของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการและสายปฏิบัติงานให้มาปฏิบัติงาน ณ สถานที่ทำการ ตามวันและเวลาที่ได้รับมอบหมาย เพื่อพร้อมรับการติดต่อราชการระหว่างเวลา 08.30 – 15.30 น. ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไอกรนและโรงเรียนกำหนดอย่างเคร่งครัด
- เปิดสถานศึกษา วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 และดำเนินการ สอบกลางภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน – วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ตามปกติ
ทั้งนี้ ขอให้ติดตามข่าวสารที่โรงเรียนประกาศอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
2.โรคไอกรนคืออะไร
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่ระบบทางเดินหายใจ สามารถติดต่อได้ง่ายผ่านการไอ จาม และการหายใจเอาละอองฝอยที่มีเชื้อเข้าไป โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบหรือภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงพอ มักพบการระบาดในสถานที่ที่มีเด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน อธิบดีกรมการแพทย์
3.อันตรายของโรคไอกรน
นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า อาการของโรคไอกรนในระยะแรกจะคล้ายหวัดธรรมดา มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย และมีไข้ต่ำๆ หลังจากนั้น 1-2 สัปดาห์ จะมีอาการไอรุนแรงเป็นชุดๆ จนกระทั่งหายใจเข้าดังวีด
บางรายอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะในเด็กทารกอาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นเขียว หยุดหายใจ และอาจเสียชีวิตได้ ผู้ปกครองควรสังเกตอาการ หากพบว่าเด็กมีอาการไอติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์ ไอรุนแรงจนอาเจียน หรือหายใจมีเสียงดังผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์
โรคไอกรนอาจมีความรุนแรงในบางกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะทารกอายุน้อยกว่า 1 ปีที่ยังได้รับวัคซีนไม่ครบ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง รวมถึงบุคลากรที่ต้องดูแลเด็ก จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ปกครองอาจไม่ทราบหรืออาจไม่ได้พาบุตรหลานไปรับวัคซีนกระตุ้นในช่วงประถมปลายหรือมัธยมต้น จึงขอความร่วมมือสถานศึกษาช่วยประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนผู้ปกครองถึงความสำคัญของการฉีดวัคซีนกระตุ้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้าง
4.ปัจจัยเสี่ยงป่วยไอกรน
นพ.อัครฐาน กล่าวว่า การระบาดของโรคไอกรนในปัจจุบันมีหลายปัจจัย หนึ่งในนั้นคือการที่ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนที่ได้รับในวัยเด็กเริ่มลดลงตามกาลเวลา โดยเฉพาะหลังจากการฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายในช่วงอายุ 4 ขวบ ประกอบกับการเคลื่อนย้ายของประชากรในภูมิภาคที่มีความแตกต่างของการเข้าถึงวัคซีนพื้นฐาน
นพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์
5.มาตรการป้องดันในสถานศึกษา
สถานศึกษาจำเป็นต้องมีมาตรการที่เข้มงวด ทั้งการคัดกรองนักเรียนที่มีอาการไอเรื้อรังหรือไอรุนแรงเป็นชุด แยกผู้ป่วยและให้หยุดเรียนจนกว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะครบ 5 วัน พร้อมทั้งแจ้งผู้ปกครองในห้องเรียนที่พบผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวัง ในส่วนของผู้สัมผัสใกล้ชิด ต้องได้รับยาปฏิชีวนะป้องกันและสังเกตอาการ 21 วัน ในเด็กที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนยังไม่ครบ ควรมีการฉีดกระตุ้นให้เร็วที่สุด
สำหรับเด็กโตที่ ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นช่วงอายุ 11-12 ปี พิจารณาฉีดวัคซีนกระตุ้น Tdap (Tetanus-Diphtheria-acellular Pertussis) แม้จะเป็นวัคซีนทางเลือก แต่มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากเป็นชนิดไม่พึ่งเซลล์ซึ่งมีผลข้างเคียงน้อย
#ไอกรน #โรงเรียน #สาธิตมศว #ปทุมวัน #กรมการแพทย์ #โรคระบาด
ข่าว
สุขภาพ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย