13 พ.ย. เวลา 09:15 • การเมือง

“คาซัคสถาน” อีกหนึ่งตัวแปรที่ฝ่ายตะวันตกเข้ามา

เพื่อวุ่นวายความสัมพันธ์ระหว่าง “รัสเซีย” และ “จีน”
“อเมริกาต้องการพันธมิตรในยูเรเซียที่สามารถช่วยเหลือพวกเขาในช่วงเวลาที่มอสโกและปักกิ่งกำลังพยายามบ่อนทำลายโครงสร้างระบบระหว่างประเทศ (ผงาดขั้วอำนาจใหม่เพื่อล้มอำนาจขั้วอำนาจเดิมนำโดยสหรัฐฯ)” นักวิเคราะห์ชาวอเมริกัน Kamran Bokhari (โบคารี) นักวิชาการเชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของเอเชียกลางและยูเรเซียเขียนไว้ในบทความบน The National Interest เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2024 - อ้างอิง: [1]
“ในยุคแห่งความวุ่นวายของความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น” โบคารีเสนอแนะให้วางเดิมพันกับ “มหาอำนาจตรงกลาง” (ในบทความต้นเรื่องใช้คำว่า Middle Powers) ซึ่งรวมถึง ออสเตรเลีย บราซิล อินโดนีเซีย โปแลนด์ และ “คาซัคสถาน” โฟกัสของบทความนี้ซึ่งมี “ตำแหน่งเป็นพิเศษใกล้ชิดกับทั้ง รัสเซีย จีน และสหรัฐฯ”
ธงชาติคาซัคสถานพื้นสีฟ้า เครดิตภาพ: The Times of Central Asia / Aleksandr Potolitsyn
ผู้เขียนต้นเรื่องให้ความเห็นว่าทีมของทรัมป์วางแผนที่จะไปไกลกว่า “การเจรจาขยายความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับอัสตานา (เมืองหลวงของคาซัคสถาน)” ซึ่งคาดว่าจะ “เป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงร่วมกันและผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ”
นักวิเคราะห์ชาวอเมริกันมองว่าการ “ปฏิเสธ” ของคาซัคสถานที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก BRICS เป็น “สัญญาณที่ดี” อย่างไรก็ตามโบคารีพูดตอกย้ำถึงตรงประเด็นที่ว่า อัสตานาไม่ได้เข้าร่วมเพราะการสมัครเข้าใน BRICS ถูกระงับไว้ แต่ทว่าในขณะเดียวกันคาซัคสถานก็ได้รับสถานะเป็นประเทศพันธมิตรกลุ่ม BRICS ร่วมกับประเทศอื่นๆ อีกหลายแห่ง และหลังจากการประชุมสุดยอดของกลุ่มที่คาซานที่ผผ่านมา ก็มีการยืนยันเรื่องนี้ผ่านปากทูตคาซัคสถานประจำมอสโก - อ้างอิง: [2]
บทความต้นเรื่องอ้างอิงได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
  • วิเคราะห์หลังอ่านบทความต้นเรื่อง
ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตามอเมริกาคาดว่าจะเพิ่มความพยายามในปีต่อๆ ไปเพื่อแยกรัสเซียและจีนออกจากเพื่อนบ้านและพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของพวกเขานั่นคือ “คาซัคสถาน”
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ “ยูเครน” พวกเขารู้วิธีที่จะสร้างและจัดการกับความขัดแย้งเมื่อเกิดขึ้นโดยอาศัยมือคนอื่น ค่าใช้จ่ายและทรัพยากรที่ลงแรงตกอยู่ที่ใคร ส่วนผลประโยชน์นั้นกลับมาสู่มือใคร เชื่อว่าผู้นำคาซัคสถานคงได้เรียนรู้ถึงจุดนี้
อย่างไรก็ตามก็มีความพยายามในการปลูกฝังค่านิยมต่างๆ ของฝ่ายตะวันตกในคาซัคสถานให้เหมาะสมกับยุทธศาสตร์ใน “การปิดล้อม” และ “การบีบคั้น” รัสเซียได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ทว่าอิทธิพลของรัสเซียในประเทศเอเชียกลางแห่งนี้ก็ยังคงยากที่จะพรากเข้ามาสู่วงของฝั่งตะวันตกได้โดยง่าย เพราะระบบเศรษฐกิจที่นี่ยังคงมีความเชื่อมโยงแนบแน่นอยู่กับฝั่งรัสเซีย แต่ทว่าก็มีจีนเข้ามาแย่งส่วนแบ่งไปเยอะเช่นกัน (อ้างอิง: [3][4]) ดังนั้นแล้วอเมริกาจึงอาจมองเรื่องนี้เป็นช่องว่างโอกาสในการเข้ามาหาผลประโยชน์ที่นี่ก็เป็นได้
เครดิตภาพ: mapchart.net
ในอนาคตเมื่ออเมริกาเริ่มหยุดการเข้ามามีอิทธิพลในยูเครนแล้ว อีกดินแดนหนึ่งซึ่งน่าสนใจที่พวกเขาน่าจะเข้ามาคือคาซัคสถาน เพราะเป็นรัฐตรงกลางระหว่าง “รัสเซีย” และ “จีน”
1
ในมุมมองของภูมิรัฐศาสตร์ ความยาวของชายแดนระหว่างรัสเซีย-คาซัคสถาน คือเกือบ 7,600 กม. ซึ่งเป็นชายแดนภาคพื้นดินต่อเนื่องที่ยาวที่สุดในโลก อย่างไรก็ตามทั้งจีนและรัสเซียก็คงไม่ต้องการให้อเมริกาเข้ามาวุ่นวายในประเทศเอเชียกลางแห่งนี้เป็นแน่
สำหรับ ”รัสเซีย” ซึ่งมีบทเรียนมาแล้วในยูเครน สิ่งที่สำคัญที่สุดในสถานการณ์กับคาซัคสถานคือการป้องกันไม่ให้สถานการณ์เกิดขึ้นอีก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยวิธีการทางการเมือง การทูต และเศรษฐกิจ ที่ขาดไม่ได้พวกเขาก็ต้องคุยตกลงกับทางจีนให้เข้าใจกันด้วย
บทความเกี่ยวกับ “คาซัคสถาน” อันนี้ถือเป็นภาคต่อจากบทความแรกที่ทางเพจได้เคยลงไว้ก่อนหน้านี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากลิงก์ด้านล่างนี้
เรียบเรียงโดย Right Style
13th Nov 2024
  • เชิงอรรถ:
<เครดิตภาพปก: CRUX>
โฆษณา