พามารู้จัก "ชะโนด" พันธุ์ไม้ในดินแดนแห่งความเชื่อ และความศรัทธา "คำชะโนด"

ชะโนด หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "คอสร้อย" เป็นพีชวงศ์ปาล์ม มีลักษณะโดยรวมของต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล มีใบเหมือนใบตาล ลำต้นเป็นข้อเหมือนต้นมะพร้าว ลูกเป็นเม็ดเล็กเป็นพวงคล้ายหมาก เมื่อโตเต็มที่สูงได้ถึง 20 - 40 เมตร
ถิ่นอื่นพบได้ในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และแหลมปลายสุดของทวีปแอฟริกา เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เช่น พื้นที่พรุ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดด เมื่อมีอายุมากค่อนข้างทนทานต่อสภาพอากาศ ทนต่อสภาพดินที่ธาตุอาหารน้อย และทนต่อน้ำท่วม
การเพาะชำต้นชะโนด เพาะขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด จากผล มีเนื้อเมล็ดแข็ง ทรงกลม เมล็ดสุกแก่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม วิธีการ คือ นำเมล็ดไปตากแดด 3 - 4 วัน เอาเปลือกนอกออก แช่ในน้ำอุ่น 2 - 3 วัน แล้วนำไปเพาะในแปลงเพาะชำประมาณ 30 วันเมล็ดเริ่มงอก ย้ายลงในถุงเพาะชำประมาณ 2 สัปดาห์ จะเริ่มแตกใบอ่อน รวมระยะเวลาประมาณ 40 วัน
ที่มา: สวนรุกชาติบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี)
#สวนรุกขชาติบ้านดุง #ขอนแก่น #ชะโนด #คําชะโนด #กรมอุทยานแห่งชาติ
โฆษณา