13 พ.ย. 2024 เวลา 17:33 • ธุรกิจ

ไอเดียคิดตัวชี้วัดสำหรับโครงการเกมมิฟิเคชัน

เป็นอีกคำถามที่หลายท่านมักจะสงสัยครับ ว่าเราจะตั้งตัวชี้วัดโครงการเกมมิฟิเคชันของเราอย่างไรดี ว่าที่ทำไปลงไปนั้นโอเคไหม มีอะไรต้องปรับปรุงบ้างหรือเปล่า
โดยปรกติ ตัวหลัก ๆ ที่มักใช้ในการวัดผลก็คือ ROI หรือคือผลตอบแทนการลงทุน ว่ารายได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเงินลงทุนนั้นเป็นเท่าไหร่ โดยเทียบกันระหว่างก่อนหลังใช้เกมมิฟิเคชัน ROI เป็นชีวัดที่ดี แต่ไม่ได้ตอบโจทย์เรื่องพฤติกรรมหรือประสบการณ์ของผู้เล่นโดยตรง
ทำให้บางทีเราก็จะวัดผลเกมมิฟิเคชันจาก Performance ที่ดีขึ้นของผู้เล่น เช่นว่า นักเรียนมีผลการเรียนดีขึ้นหรือไม่ หรือ การโครงการลดต้นทุนของบริษัทนั้นสามารถลดต้นทุนได้ตามเป้าหรือเปล่า
.
ก็ได้ไปอ่านเจอมาในหนังสือเล่มหนึ่งครับ ชื่อ Press Start: Using gamification to power-up your marketing เขาได้แนะนำว่า มีอีกเครื่องมือที่ได้ใช้ช่วยคิดตัวชี้วัดได้ดีเลยคือ HEART Framework ซึ่งออกแบบโดย Google มีไว้สำหรับใช้วัดประสบการณ์ของผู้ใช้ โดยเฉพาะงานด้าน UX
ซึ่งผมเห็นว่าน่าสนใจดี เลยเอามาเล่าให้ฟังครับ
.
HEART Framework
H – Happiness คือการวัดความสุขของผู้ใช้ ว่ารู้สึกดี รู้สึกพึงพอใจกับเกมมิฟิเคชันของเรามากน้อยแค่ไหน ตัวชี้วัดก็จะเช่น App Rating, ผลสำรวจความพึงพอใจ หรือ Net Promoter Score เป็นต้น
E – Engagement คือการวัดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ เช่น ระยะเวลาที่ผู้เล่นอยู่ในระบบของเรา จำนวนครั้งที่เข้ามาเล่นต่อวัน ต่อสัปดาห์ หรือ อาจจะวัดเวลาที่ผู้เล่นหายไป ไม่กลับเข้ามาเล่นก็ได้
A – Adoption คือการวัดจำนวนผู้เล่น “ใหม่” ที่เข้ามาเล่น โดยเทียบก่อนหลังเริ่มใช้เกมมิฟิเคชัน ซึ่งจะเป็นยอดดาวน์โหลดแอป ยอดสมัคร หรือ การใช้ feature ใหม่ๆ ของเรา
R – Retention เป็นการวัดที่เป็นมุมกลับกับ Adoption คือเราสามารถรักษาผู้เล่นไว้ได้หรือไม่ เช่น วัดจากจำนวน Active user หรือ การกลับมา Renew ของผู้เล่นเก่า
T - Task success เป็นการวัดการทำกิจกรรมของผู้เล่นเราว่า ทำบรรลุเป้าหมายหรือไม่ ใช้ระยะเวลาที่ใช้ในการทำแต่ละกิจกรรมเท่าไหร่ หรือ อาจจะวัดจากปริมาณความผิดพลาดในการทำก็ได้
.
นอกจากนี้เรายังต้องระบุอีก 3 สิ่ง คือ Goal, Signal, Matric ของแต่ละตัว โดยที่
Goal คือ เป้าหมาย หรือ Objective ที่เราต้องการในด้านนั้น ๆ เช่น ด้าน Happiness เราอาจมี Goal คือ ผู้ใช้รู้สึกว่าแอปของเรามีประโยชน์
Signal คือ การระบุว่าอะไรคือสัญญาณบอกว่าเรามาทุกทาง กำลังใกล้บรรลุเป้าหมายเช่น ถ้าผู้ใช้
Happy รู้สึกว่าแอปมีประโยชน์ Signal ก็อาจจะเป็นผู้ใช้บอกต่อ แนะนำให้เพื่อนมาใช้ด้วย
Matric คือตัวชี้วัด อันนี้จะเป็นตัวชี้วัดที่จัดต้องได้ ให้สำหรับประเมินผล เช่น การวัดจำนวนของการการบอกต่อ แบบนี้เป็นต้นครับ
ไม่จำเป็นต้องทำให้ครบทั้ง HEART นะครับ สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของงานเรา และบางครั้งเราอาจจะพบว่าตัวชี้วัดบางตัวสามารถตอบได้หลายตัวใน HEART ก็ได้เช่นเดียวกัน
.
ก็หวังว่า HEART Framework นี้จะพอช่วยเป็นแนวทางในการตั้งตัวชี้วัดให้กับโครงการเกมมิฟิเคชันของแต่ละท่านได้นะครับ
ผมก็เห็นว่าเป็น Framework ที่เข้าใจง่าย ครอบคลุมดี เลยลองเอามาแนะนำให้ให้ลองเอาไปปรับใช้กันครับ ซึ่งไม่จำเป็นเป็นจะต้องเป็นเรื่องเกมมิฟิเคชัน สามารถนำไปปรับใช้กับเรื่องอื่น ๆ ก็ได้ครับ
#gamification ตอนที่ 103
#GrowthGame #เกมมิฟิเคชัน #เกมมิฟิเคชั่น
โฆษณา