14 พ.ย. เวลา 05:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ

[#เนิร์ดeconomicseries] การปรับขึ้น-ลดอัตราดอกเบี้ยของนโยบายการเงินจากธนาคารกลาง🏦 ภาคแรก

🧒สวัสดีตอนเที่ยงค่า หัวข้อของ Economic Series ในวันนี้ก็จะเป็นเรื่องแรกที่เนิร์ดดจะเอามาเล่าให้ทุกคนฟังนะค้า เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เดี๋ยวเนิร์ดจะเริ่มเล่าให้ฟังค่ะ แต่ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องการปรับขึ้น-ลดดอกเบี้ยของนโยบายทาการเงิน เราไปทำความรู้จักกับ ธนาคารกลาง กันก่อนดีกว่า
ธนาคารกลาง คือสถาบันที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‘แบงก์ชาติ’ แห่งหนึ่งที่คอยทำหน้าที่กำกับดูแลเสถียรภาพทางการและสถานการณ์ทางการเงินในระดับมหภาคโดยมีสาขาประจำที่อยู่ในแต่ละประเทศ
แบงก์ชาติของบ้านเราก็มีอยู่ในประเทศไทยด้วยเช่นกันนะคะ โดยใช้ชื่อว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand; BOT) หรือ ธปท. ซึ่งหน้าที่หลักของสถาบันที่เราก็คุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ได้แก่ กำกับดูแลสถาบันทางการเงิน รักษาเสถียรภาพระบบการเงิน และการกำหนดและดำเนินนโยบายทางการเงินเพื่อรับมือสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
🔍การปรับขึ้น-ลดอัตราดอกเบี้ยก็เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายทางการเงินเช่นกัน ตามความเหมาะสมกับแนวโน้มทางเศรษฐกิจ อิงตามการปรับขึ้นลงของสินค้าและบริการหรืออัตราเงินเฟ้อ ที่มีคณะกรรมการที่ทำหน้าที่กำกับนโยบายการเงินโดยเฉพาะ หรือเรียกว่า กนง. 📉📈
ยกตัวอย่างการลงมติการปรับอัตราดอกเบี้ยในรอบล่าสุด
ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2567 ทาง กนง. ได้ลงมติคิดลดอัตราดอกเบี้ยจาก 2.5 เหลือ 2.25 คิดเป็น -0.25 จุด หลังจากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของนโยบายการเงินฝนเรื่องการปรับขึ้น-ลดอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลาสี่ปีเต็ม
ตามหลักแล้ว การปรับอัตราดอกเบี้ยเสมือนเป็นเครื่องส่งสัญญาณคอยบอกทิศทางการเงินให้แก่ธนาคารพาณิชย์ที่กำลังเตรียมออกนโยบายทางการเงินสำหรับเพิ่ม-ลดดอกเบี้ยเงินฝาก การกู้ยืมเงินเพื่อนำไปประกอบธุรกิจประเภทต่างๆ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยของตราสารหนี้ต่างๆ
ถัดมาก็จะเป็นผลกระทบของปรับเพิ่ม-ลดอัตราดอกเบี้ยจะแบ่งออกเป็นสองกรณี
🔍กรณีแรกที่ ธปท. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์มีปรับขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและต้นทุนการกู้ยืมเงินไปประกอบธุรกิจต่างๆ ที่สูงขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ร้อนแรง ทำให้ผู้บริโภคมีที่ความต้องการกู้ยืมเงิน จำต้องจ่ายดอกเบี้ยที่สูงขึ้น (อย่างเช่น จากเมื่อก่อนที่ผู้กู้เคยกู้เงินกับทางธนาคารพาณิชย์ด้วยดอกเบี้ย 2.1% ในปัจจุบันผู้กู้ได้กลับมาทำเรื่องการกู้ยืมอีกครั้ง แต่ผู้กู้กลับต้องจ่ายดอกเบี้ยกู้ยืมเงินที่เพิ่มขึ้นเป็น 3%)
🔍ซึ่งตรงกันข้ามกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมเงินลดลง หรือก็คือขยายวงเงินให้ยืมมากขึ้น พร้อมดอกเบี้ยที่ต่ำ เพื่อสร้างการกระตุ้นการใช้จ่ายที่มากขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา
🔍กลับมาที่การปรับอัตราดอกเบี้ยรอบล่าสุด ทำให้เห็นว่าการปรับลดในครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างหนี้และบรรเทาหนี้ครัวเรือนต่อรายได้ที่สูงขึ้นในสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เนื่องจากประชาชนมีภาระหนี้สินที่สูงสำหรับประกอบอาชีพต่างๆ ทำให้พวกเขามีแนวโน้มการใช้หนี้ทั้งหมดได้ยาก
ทั้งนี้ การปรับเพิ่ม-ลดอัตราดอกเบี้ยยังส่งผลต่อค่าเงินและตลาดหุ้นอีกด้วย ซึ่งเราจะอธิบายต่อในโพสต์ถัดไปของ Economic Series คราหน้า
แล้วทุกคนมีความคิดเห็นอย่างไรกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้บ้าง สามารถคอมเมนต์ได้ใต้โพสต์เลยนะคะ
#การเงิน #การเงินการลงทุน #เศรษฐกิจ #wealthelling
ช่องทางอื่นๆ สำหรับติดตามเพจ WEALTHELLING
โฆษณา