14 พ.ย. 2024 เวลา 07:25 • การตลาด

12 เทรนด์ Content Marketing 2025 ที่ครีเอเตอร์และแบรนด์ต้องรู้ เพื่อยกระดับยอดขายและการมีส่วนร่วม

การทำ Content Marketing ในปี 2025 กำลังจะเข้าสู่ยุคที่เทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การเข้าใจและปรับตัวกับเทรนด์ใหม่ๆ จะช่วยให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ AI ที่สนับสนุนการสร้างคอนเทนต์ การเน้นความเป็นมนุษย์ในเนื้อหา หรือการสร้างการมีส่วนร่วมผ่าน Interactive Content เทรนด์เหล่านี้จะช่วยเพิ่มยอดขายและสร้างการมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้งกับผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นนักการตลาดที่มีประสบการณ์ หรือเพิ่งเริ่มต้น การเข้าใจและปรับตัวกับเทรนด์เหล่านี้จะเป็น "Competitive Advantage" หรือความได้เปรียบที่ช่วยให้ธุรกิจ ก้าวล้ำนำหน้าคู่แข่งได้ค่ะ มาดูกันว่า 12 เทรนด์ Content Marketing ที่จะขับเคลื่อนปี 2025 มีอะไรบ้าง
1. การเติบโตของครีเอเตอร์ในปี 2025
ครีเอเตอร์เติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยอัตราเพิ่มขึ้น 20-30% ต่อปี โดยมีผู้ใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ติดตามใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น
2. ความสำคัญของ Mental Health
ครีเอเตอร์ต้องใส่ใจสร้างคอนเทนต์ที่คำนึงถึงสุขภาพจิตของตนเองและผู้ติดตาม เนื่องจากการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไปส่งผลต่อสุขภาพจิต
3. ยุคของ “All-In-One Content Era”
ปี 2025 คือยุคของ “All-In-One Content Era” ที่ครีเอเตอร์จะเป็นทั้งผู้ผลิตเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาที่ครบวงจร ตอบโจทย์ความต้องการผู้ชมอย่างหลากหลาย ทั้งด้านการตลาด การสร้างแรงบันดาลใจ และการให้คำปรึกษาเฉพาะทาง
4. ใช้ AI ที่สนับสนุน แต่ไม่ใช่คุมการสร้างคอนเทนต์
AI กำลังกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในงานสร้างสรรค์คอนเทนต์ แต่การใช้งานที่มีประสิทธิภาพในปี 2025 คือนำ AI มา “สนับสนุน” ไม่ใช่ให้ AI ทำทั้งหมด นักการตลาดจะใช้ AI ช่วยสร้างไอเดีย วิเคราะห์ข้อมูล หรือทำร่างคอนเทนต์ แล้วใส่ความเป็นมนุษย์เพื่อให้คอนเทนต์ดูน่าเชื่อถือและเข้าถึงใจกลุ่มเป้าหมาย
5. Interactive Content เพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้า
แบรนด์ต่างๆ จะเริ่มใช้คอนเทนต์แบบ Interactive มากขึ้น อย่างเช่น โพล แบบทดสอบ อินโฟกราฟิก และการทดลองสินค้า 3D บนเว็บไซต์ เพื่อดึงดูดความสนใจ ลูกค้าสามารถมีส่วนร่วมกับแบรนด์ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ประสบการณ์มีความน่าจดจำและสร้างความผูกพันได้ดีขึ้น รวมไปถึงการใช้หน้า Landing Page หรือการทำคอนเทนต์เชิงเกม (gamified experiences) ช่วยให้ผู้ใช้สนใจแบรนด์นานขึ้นและสร้างการมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้ง
6. เน้นคอนเทนต์ที่ให้ข้อมูลและเก็บ Insight จากลูกค้า
คอนเทนต์เหล่านี้สามารถเก็บข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมและความชอบของลูกค้าได้ ช่วยให้แบรนด์เข้าใจลูกค้าและเสนอคำแนะนำเฉพาะบุคคลได้มากขึ้น
7. การให้ความสำคัญกับความเป็นมนุษย์
ในยุคที่การสื่อสารทางดิจิทัลเป็นเรื่องปกติ แบรนด์ควรใส่ความเป็นมนุษย์ในคอนเทนต์ให้มากขึ้น การเชื่อมโยงกับอารมณ์ ความท้าทาย และค่านิยมของผู้ชมจะช่วยให้แบรนด์โดดเด่นและสร้างความผูกพันได้จริง
- Humanizing Content: การทำให้คอนเทนต์มีความเป็นมนุษย์ ช่วยให้ผู้ชมรู้สึกว่าแบรนด์เข้าใจอารมณ์และความต้องการของเขา
- Personalization & Empathy: คอนเทนต์ที่เฉพาะเจาะจงและสื่อถึงความเห็นอกเห็นใจ ทำให้ผู้ชมรู้สึกถึงความใกล้ชิด
- Beyond Sales: ใช้คอนเทนต์ที่เล่าเรื่องลูกค้า แสดงค่านิยมแท้จริงของแบรนด์ และให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ ไม่เน้นขาย
8. Short-form Video กำลังเป็นที่นิยมและจะยังคงเติบโตต่อ
โดยแพลตฟอร์มยอดฮิตอย่าง TikTok, Instagram Reels, และ YouTube Shorts เป็นตัวผลักดันหลัก ทำให้แบรนด์สามารถแชร์คอนเทนต์ที่สั้นและดึงดูดความสนใจได้ง่ายๆ ซึ่งตรงกับความต้องการของผู้ชมที่มีเวลาจำกัดในการรับชม
ซึ่งวิดีโอสั้นเหมาะกับการเล่าเรื่อง, การโชว์สินค้า, การทำ tutorial หรือแม้แต่คำรับรองจากลูกค้า จุดสำคัญคือต้องให้คุณค่าในไม่กี่วินาทีแรก เช่น การใช้ภาพที่ดึงดูด, การจับใจความได้ดี หรือการให้ข้อมูลที่มีประโยชน์
ข้อดีคือ วิดีโอสั้นเหล่านี้สามารถแชร์ได้หลากหลายแพลตฟอร์ม ช่วยเพิ่มการเข้าถึงและการมองเห็นแบรนด์ได้มากขึ้น
9. ยกระดับคอนเทนต์ จาก Needs สู่ Desire
แบรนด์จะเริ่มสร้างคอนเทนต์ที่ตอบสนองความฝันและเป้าหมายระยะยาวของลูกค้า (aspirations) มากกว่าการแค่ตอบสนองความต้องการในปัจจุบัน (needs) โดยคอนเทนต์เหล่านี้จะเชื่อมโยงกับอารมณ์ วิถีชีวิต และค่านิยมของลูกค้า เพื่อให้แบรนด์กลายเป็นพันธมิตรระยะยาวที่ช่วยให้ลูกค้าบรรลุเป้าหมายในชีวิต และในอนาคตลูกค้าจะมองหาแบรนด์ที่มีค่านิยมและวิสัยทัศน์ที่ตรงกับตัวเอง
11. พลังของ Audio Content
Audio Content โดยเฉพาะพอดแคสต์ (Podcast) เป็นเครื่องมือการตลาดที่ทรงพลังมากสำหรับธุรกิจ เพราะช่วยให้แบรนด์สามารถแชร์ข้อมูลเชิงลึก สร้างการรับรู้ และดึงดูดกลุ่มผู้ฟัง ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นลูกค้าได้จริง ๆ นอกจากนี้ การใช้คลิปเสียงเสริมในบล็อกยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจและเข้าถึงคนได้มากขึ้น สำหรับธุรกิจแบบ B2B การมีพอดแคสต์ยังเป็นโอกาสที่ดีในการแสดงความเชี่ยวชาญและสร้างภาพลักษณ์เป็นผู้นำความคิด และในปี 2025 ก็ถือเป็นจังหวะเหมาะในการเริ่มวางแผนกลยุทธ์เสียงแบบนี้
12. ความเคลื่อนไหวทางเทคโนโลยีและสังคมที่กำลังกำหนดอนาคตปี 2025
ในปี 2024 เราเห็นแนวโน้มหลายประการที่เด่นชัดในโลกของคอนเทนต์ ไม่ว่าจะเป็นการจองคิวร้านอาหารออนไลน์ การใช้ Soft Power ในเพลงไทยที่ช่วยดันชื่อเสียงระดับสากล และปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ เช่น YouTube ที่ออกมาใช้กลยุทธ์ใหม่อย่าง Affiliate
เมื่อมองไปยังปี 2025 เทรนด์เหล่านี้มีแนวโน้มที่จะยังคงมีอิทธิพล โดยเฉพาะการเติบโตของคอนเทนต์ที่ตอบโจทย์กลุ่ม Gen Z ซึ่งให้ความสำคัญกับการมีปฏิสัมพันธ์และความโปร่งใสของแบรนด์ การสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคลจึงจะยังเป็นสิ่งที่ได้ผลดี. การสร้างความต่างและการทำให้คอนเทนต์มีเอกลักษณ์จะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ เพื่อดึงดูดผู้ติดตามให้ยังคงสนใจ
นอกจากนี้ เรื่องสุขภาพจิตเริ่มเป็นหัวข้อสำคัญในคอนเทนต์ เนื่องจากการใช้งานโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้นอาจส่งผลต่อภาวะทางจิตใจ ซึ่งทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ต้องใส่ใจในการนำเสนอเนื้อหาที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตด้วย.
เทรนด์การสนับสนุนความหลากหลายทางเพศและการเคลื่อนไหวทางสังคมจะยังคงมีอิทธิพลต่อการสร้างคอนเทนต์ในปี 2025 โดยผู้สร้างคอนเทนต์จะผลักดันประเด็นเหล่านี้ต่อเนื่องเพื่อสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในสังคม
ข้อมูลจาก: marketingoops, abstraktmg
โฆษณา