Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
14 พ.ย. เวลา 22:26 • ข่าวรอบโลก
โรคไอกรนระบาดหลายพื้นที่ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา (CDC) รายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโรคไอกรณในหลายพื้นที่ มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยรัฐวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มีรายงานผู้ป่วยเกือบ 1,200 คนทั่วทั้งรัฐ ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023 มีรายงานผู้ป่วยเพียง 51 คน ซึ่งนอกจากรัฐวอชิงตันแล้วยังพบการระบาดในรัฐมิชิแกน แอริโซนา เท็กซัสและโอไฮโอ้
ส่วนจำนวนผู้ป่วยทั่วประเทศยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีรายงานผู้ป่วยมากกว่า 22,000 คน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าจำนวนผู้ป่วยที่รายงานในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2023 ถึง 5 เท่าและถือเป็นจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในรอบ 10 ปี
ผู้เชี่ยวชาญจาก Yale School of Medicine ระบุว่า อัตราการฉีดวัคซีนที่ลดลงอาจเป็นสาเหตุทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคไอกรนเพิ่มขึ้น ซึ่งจากข้อมูลพบว่าอัตราการฉีดวัคซีนลดลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้คือเด็กที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว กลับไม่ได้รับวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มที่ต้องฉีดทุก ๆ 10 ปี
โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียBordetella pertussis (B. pertussis) เป็นเชื้อที่เพาะขึ้นใน Bordet Gengau media ซึ่งเป็นเชื้อที่เพาะขึ้นได้ยาก จะพบเชื้อได้ในลำคอ ทำให้มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจและเกิดอาการไอ ที่มีลักษณะพิเศษคือ ไอซ้อนๆ ติดๆ กัน 5-10 ครั้งหรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอ และมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียงวู๊ป (Whooping cough) ทำให้เรียกว่า "ไอกรณ"
โรคไอกรนเป็นได้กับทารกตั้งแต่เดือนแรก ทั้งนี้เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากแม่ผ่านมายังลูกไม่ได้หรือได้น้อยมากในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราตายสูงส่วนใหญ่ของผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิต เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีและเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน
ไอกรณยังพบได้ประปรายในชนบท และพบในเด็กอายุเกิน 5 ปี มากขึ้นซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนพบการระบาดเป็นครั้งคราวในเด็กนักเรียนชั้นประถม ระยะฟักตัวของโรคประมาณ 6-20 วัน ที่พบบ่อย 7-10 วัน ถ้าสัมผัสโรคมาเกิน 3 สัปดาห์แล้วไม่มีอาการแสดงว่าไม่ติดโรค
โรคไอกรณสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Macrolide ยาทางเลือกแรกคือ erythromycin ในขนาด 50 มก./กก./วันเป็นระยะเวลา 14 วัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การรับวัคซีนและวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ครอบคลุม ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี การได้รับวัคซีนป้องกันไอกรน 4-5 ครั้งนับเป็นมาตรการสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคไอกรนวัคซีนไอกรนที่มีใช้ขณะนี้เป็นวัคซีนที่เตรียมจากแบคทีเรีย B. pertussis ที่ตายแล้ว (Whole cell vaccine)
กำหนดการให้วัคซีนเริ่มเมื่ออายุ 2 เดือน และให้อีก 2 ครั้ง ระยะห่างกัน 2 เดือนคือ ให้เมื่ออายุ 4 และ 6 เดือน โด๊สที่ 4 ให้เมื่ออายุ 18 เดือน นับเป็นครบชุดแรก (Primary immunization) โด๊สที่ 5 ถือเป็นการกระตุ้น (booster dose) ให้เมื่ออายุ 4 ปี
สถานการณ์ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 13 พฤศจิกายน 2567 จากระบบเฝ้าระวังโรคดิจิทัล กองระบาดวิทยา (Digital Disease Surveillance: DDS) พบผู้ป่วย 1,290 ราย อัตราป่วย 44.74 ต่อประชากรแสนคน มีผู้เสียชีวิต 2 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.16 พบรายงานผู้ป่วยมากที่สุดในภาคใต้ โดยเฉพาะเขตสุขภาพที่ 12 จำนวน 1,066 ราย
จังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงที่สุด คือ ยะลา 575 ราย รองลงมา ได้แก่ ปัตตานี 199 ราย และนราธิวาส 198 ราย ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงที่สุด คือ 0 – 4 ปี จำนวน 795 ราย รองลงมา 5 – 9 ปี 144 ราย และ 10 – 14 ปี 42 ราย ตามลำดับ
ส่วนกรณีโรงเรียนสาธิต มศว. ที่ประกาศปิดการเรียนการสอนเป็นเวลา 15 วัน หลังพบเด็กนักเรียนป่วยเป็นโรคไอกรณ นพ.โสภณกล่าวว่า อันนี้เป็นคนละกรณีกับการระบาดในพื้นที่ชายแดนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเลย แต่กรณีนี้พบว่าเป็นการติดเชื้อในเด็กโต ที่ได้รับวัคซีนแล้ว เมื่อรับเชื้อมาก็จะมีอาการน้อย เช่น ไอ น้ำมูก เจ็บคอ และโอกาสเสียชีวิตต่ำมาก
อ้างอิง
cdc.gov
Pertussis Surveillance and Trends
CDC tracks pertussis cases through a national system and enhanced surveillance activities.
สุขภาพ
ข่าวรอบโลก
ข่าว
บันทึก
10
4
4
10
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย