15 พ.ย. เวลา 07:01 • สุขภาพ

โรคไอกรนในเด็กอันตรายแค่ไหน?

วิธีสังเกตอาการไอกรน :
ช่วงแรก :
อาการคล้ายไข้หวัด มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย มีไข้ต่ำ
สิ่งที่แตกต่างจากไข้หวัด คือ น้ำมูกไม่เยอะ แต่อาการไอจะมากขึ้นเรื่อยๆ
ช่วงหลัง :
เริ่มไอมากขึ้น ไอเป็นชุด ไอจนอาเจียน ไอติดต่อกัน จนไม่สามารถควบคุมการหายใจได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไอหนักจนตัวเขียว หรือไอจนหยุดหายใจ ทำให้สมองขาดออกซิเจน และอาจเสียชีวิตได้
การควบคุมการระบาดและการป้องกันโรค :
รับวัคซีนเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน ป้องกันในระยะยาว ส่วนใหญ่เป็นวัคซีนแบบรวม โรคคอตีบ ไอกรนบาดทะยัก
1. การฉีดวัคซีน :
ฉีด 5 ครั้ง ใน 6 ขวบปีแรก
เข็มที่ 1 : อายุ 2 เดือน
เข็มที่ 2 : อายุ 4 เดือน
เข็มที่ 3 : อายุ 6 เดือน
เข็มที่ 4 : อายุ 1 ปี 6 เดือน
เข็มที่ 5 : อายุ 4 - 6 ปี
2. ผู้สัมผัสใกล้ชิดทุกคนควรได้รับยาปฏิชีวนะ (Post-Exposure Prophylaxis) เพื่อป้องกันการเกิดโรคและควบคุมการระบาด และต้องกินยาให้ครบ
3. รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อผ่านน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และควรแยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการแพร่แก่ผู้อื่นตามคำแนะแพทย์
4. หากมีอาการโดยเฉพาะในเด็กเล็ก ควรรีบไปพบแพทย์ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการกินปฏิชีวนะที่เหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์
อ้างอิง : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
#โรคไอกรน #โรคระบาด #เด็กเล็ก #ป้องกัน #กรมควบคุมโรค #กระทรวงสาธารณสุข #สำนักข่าวทรัสต์นิวส์ #Trustnews
โฆษณา