Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
17 พ.ย. เวลา 05:45 • สุขภาพ
10 เรื่องคุณผู้หญิงต้องรู้เกี่ยวกับ “วัยทอง” การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
แพทย์เผย 10 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับวัยทอง ที่คุณผู้หญิงต้องรู้ อาการเหวี่ยง วีน ร้อนวูบวาบ ใช้หรือไม่? และวัยทองส่งผลต่อสุขภาพด้านไหนบ้าง
“วัยทอง” เป็นสิ่งหนึ่งที่คุณผู้หญิงหลายกังวล เพราะอายุที่เพิ่มมากขึ้นอารมณ์ก็เปลี่ยนแปลงไปตามไปด้วย เหวี่ยงบ้าง วีนบ้างจนบางทีแยกแทบไม่ออกว่านี่เป็นอาการของวัยทอง หรือเป็นอารมณ์หงุดหงิดของตัวเอง เผย 10 ข้อต้องรู้ ป้องกัน ชะลอ รักษา เตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ให้ใช้ชีวิตทุกวัยได้อย่างมีความสุข
10 เรื่องต้องรู้วัยทอง
● วัยหมดประจำเดือน คือช่วงอายุเท่าไหร่
ผู้หญิงเมื่ออายุเลยวัย 40 ขึ้นไป การทำงานของรังไข่จะชะลอลงบางคนประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
วัยทอง
อาจจะมาถี่ขึ้นในช่วงแรก และค่อยๆ ห่างออกมาจนหมดไปในที่สุด ซึ่งมักจะเกิดในช่วงอายุ 47-50 ปี
● ทำไมเรียกวัย 40+ ว่า “วัยทอง”
เมื่อเริ่มวัย 40 ปีขึ้นไป ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีหน้าที่การงานที่มั่นคง รวมถึงมีครอบครัวและสังคมที่ดี จึงถือเป็นวัยแห่งความสำเร็จของชีวิต ดังนั้นจึงเป็นที่มาที่คนสาวนใหญ่มักเรียกวัยนี้ว่า “วัยทอง”
● อาการเข้าข่ายวัยทอง
ในช่วงแรกประจำเดือนจะมาไม่ปกติ และอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยตามตัวตามข้อ อ่อนเพลีย เบื่อหน่ายทุกเรื่อง บางคนอาจมีโรคกระดูกพรุน และไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย
● เป็นไปได้ไหมที่จะเข้าสู่วัยทอง ตั้งแต่อายุยังน้อย
ในผู้หญิงที่ผ่านการผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกทั้งหมดและผู้หญิงที่ได้รับการฉายแสงหรือได้รับเคมีบำบัดจากการรักษาโรค มักจะหมดฮอร์โมนเพศก่อนกำหนดไปด้วย จึงทำให้มีอาการแบบเดียวกับผู้หญิงวัยทองแต่ความรุนแรงของอาการจะมากกว่า เนื่องจากเป็นการขาดฮอร์โมนแบบเฉียบพลันและอายุยังน้อย
● แต่ละคนจะมีอาการวัยทองคล้ายกันไหม
สำหรับเรื่องนี้เป็นเรื่องของพันธุกรรมและพฤติกรรม ผู้หญิงที่ถูกตัดรังไข่ออกตั้งแต่อายุยังน้อยย่อมมีอาการเสื่อมถอยเร็วกว่าคนที่หมดประจำเดือนตามธรรมชาติอยู่แล้ว แต่สำหรับในคนอ้วนมักมีอาการน้อยเพราะมีฮอร์โมนสะสมตามร่างกายสำรองไว้มากกว่าคนผอม
● เมื่อเข้าวัยทองยังมีลูกได้ไหม
สาวน้อยสาวใหญ่ที่กำลังย่างเข้าวัยทอง โดยส่วนใหญ่มักเริ่มหลังอายุ 40 ปี จะมีลูกยากเนื่องจากรังไข่เริ่มรวนเรทำงานไม่ปกติ การสร้างฮอร์โมนเพศจึงขึ้นๆ ลงๆ นานๆ ทีจะมีไข่ตกสักครั้ง เลยทำให้ประจำเดือนจะแปรปรวนไม่ปกติ ส่งผลให้โอกาสที่จะมีลูกยากขึ้น
● ฮอร์โมนเพศมากจากไหน
เมื่ออยู่ในวัยสาวรังไข่จะผลิตฮอร์โมนเพศ หรือฮอร์โมนเอสโตรเจนขึ้นมาซึ่งเป็นตัวที่ทำให้มีการพัฒนาการของร่างกายให้มีลักษณะเพศหญิงและยังมีผลต่ออวัยวะต่างๆ เช่น กระดูก ไขมันในเลือด สมอง อารมณ์ จิตใจ และอวัยวะสืบพันธุ์ นอกจากนี้รังไข่ยังผลิตฮอร์โมนโปรเจสโตโรนซึ่งให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปด้วยดี แต่ในช่วงที่ไม่มีการตั้งครรภ์ฮอร์โมนนี้จะปรับเยื่อบุโพรงมดลูกให้หลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน
● อาการร้อนวูบวาบในวัยทองเป็นอย่างไร
เป็นความรู้สึกร้อนขึ้นทันทีที่ผิวบริเวณศรีษะหรือหน้าอก และมักมีเหงื่อออกมา รู้สึกหนาว อ่อนเพลีย และวิงเวียน บางคนเป็นตอนกลางคืนโดยอาการนี้มักเกิดใน 2-3 ปีแรกของการหมดประจำเดือน
● อาการแสบเวลามีเพศสัมพันธ์
เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนระดับเอสโตรเจนในร่างกายจะต่ำมาก จึงทำให้เวลามีเพศสัมพันธ์อาจมีอาการแสบร้อน ซึ่งสาเหตุเกิดจากผนังและเยื่อบุผิวช่องคลอดแห้งสูญเสียความยืดหยุ่น นอกจากนี้ยังทำให้ช่องคลอดแคบและสั้นลงทำให้สร้างน้ำหล่อเลี้ยงได้น้อยจึงทำให้เกิดอาการเจ็บ
● ปัสสาวะเล็ด กลั้นปัสสาวะไม่ได้
การขาดเอสโตรเจนส่งผลให้เนื้อเยื่อและเส้นเลือดรอบกระเพาะปัสสาวะฝ่อเหี่ยวทำให้กลั้นปัสสาวะลำบาก เวลาไอ จาม หรือหัวเราะแรงๆ อาจเกิดปัสสาวะเล็ด เพราะการที่ร่างกายขาดเอสโตรเจนทำให้เยื่อบุผิวทางเดินปัสสาวะบางลง ติดเชื้อได้ง่ายบางรายเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ จึงทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย และเสียวแสบขัดตอนปัสสวะใกล้ๆ จะสุด
● “วัยทอง” รับมือได้ไม่ยาก เพียงแค่ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ใส่ใจในการดูแลสุขภาพ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยยืดระยะเวลา และช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายได้เช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 2
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/care
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
วัยทอง
สุขภาพ
ร่างกาย
1 บันทึก
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย