Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วันนี้คะ 😁
•
ติดตาม
15 พ.ย. เวลา 22:37 • สุขภาพ
ไอกรน
ไอกรน....
จะเขียนตั้งแต่แรกๆ ก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ จะให้ข้อมูลอาจต้องระวังนิดหนึ่ง รอได้ก็ต้องรอ ไม่เน้นเร็ว
ก็รอๆฟังทางอาจารย์จะมีความเห็นอย่างไร ...
ที่จริงเวลาไปประชุมทางวิชาการโรคติดเชื้อในเด็ก
โรคไอกรนจะถูกพูดถึงเสมอๆ ในฐานะ reemerging disease หรือโรคที่กลับมาระบาดใหม่ ฉะนั้น เรื่องการระบาดครั้งนี้จริงๆ ไม่ใช่เรื่องแปลก หรือสร้างความตกใจให้หมอเด็กนัก.. มันไม่ได้หายไปไหนค่ะ แม้จะมีไม่มาก แค่ไม่ค่อยได้ส่งแลปหา สมัยก่อนๆการตรวจหาเชื้อเหล่าานี้ไม่ได้ทำง่ายๆแบบยุคหลังโควิดมานี้ เปลี่ยนความสามารถในการตรวจหาเชื้อไปเลย
จิ้มทีเดียว หามาเลย 23 ตัว เจอไหม ตัวไหน
ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ ก็จะเข้าใจเลยว่า
ทำไมไประบาดที่โรงเรียนระดับนี้ เด็กได้วัคซีนครบแน่ๆ ...
สรุปประเด็นง่ายๆ
1.โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรีย ที่มักจะมีความรุนแรงของอาการในเด็กทารกที่อายุน้อยกว่าหกเดือน ยิ่งอายุต่ำกว่าสามเดือนโอกาสเกิดอาการมที่รุนแรงยิ่งมีมาก เด็กจะไอเป็นชุด ไอจนเขียว ไอจนหยุดหายใจ ไอจนเลือดออกตามเยื่อบุตา ออกในสมอง
แต่ในเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ถ้าไม่มีโรคประจำตัวอะไร อาการมักไม่รุนแรง อาการเหมือนหวัดทั่งๆไป
แต่อาจจะไอได้นานหน่อย
คนแก่เป็นอีกกลุ่มอายุที่อาการรุนแรงได้
อาการไอนานได้ถึงสองสามเดือน สมัยก่อนเรียกอีกชื่อว่าโรคไอร้อยวันค่ะ
2. ที่จริงโรคนี้ยังเจอในบ้านเราเรื่อยๆค่ะเป็นระยะๆ ตอนนี้แลปที่ใช้ตรวจทำได้ดีขึ้น เข้าถึงง่ายขึ้น จึงสามารถแยกโรคจาากเชื้อหวัดทั่วๆไปได้ง่ายขึ้น
ในเด็กวัยเรียน เราก็จะเหมารวมโรคหวัดเป็น
ตะกร้าๆหนึ่งซึ่งเชื้อสารพัดก่อให้เกิดอาการนี้ได้
ถ้าเคสไหนไอนานๆ ไม่หาย ก็ส่งตรวจหาเชื้อที่ปกติเจอไม่บ่อยเพิ่มเติม ซึ่งไอกรนคือหนึ่งในนั้น
ประสบการณ์ส่วนตัว ตั้งแต่ทำงานมา เจอเคสเดียวค่ะ ที่วินิจฉัยได้หลังแอดมิท ตัวเองดูคนไข้ต่อ ทารกอายุหนึ่งเดือน ไอหนักมาก ไอตามตำราที่เคยอ่าน (whooping cough) แต่ไม่เคยเจอคนไข้จริง เห็นลักษณะการไอ ที่ไม่เหมือนการติด้ชื้อทั่วไป ก็สงสัยว่าใช่ ให้การรักษา และส่งตรวจ PCR ไป สอบสวนโรค พี่ชายกับแม่ก็มีอาการหวัดทั้งคู่ ก็รักษาแล้วก็ตามเรื่องวัคซีนค่ะ ตอนนั้นก็ ไม่เป็นข่าวอะไรค่ะ คนในโรงเรียนดูไม่ตื่นเต้น
3.เป็นโรคที่รักษาได้ ยาง่ายๆเลย ในเด็กโต วัยรุ่น ผู้ใหญ่อาการมักไม่รุนแรงเหมือนทารกหรือคนแก่
4.เป็นโรคที่ป้องกันได้ด้วยวีคซีนค่ะ ประเทศไทยเราให้วัคซีนคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ในทารกแรกคลอดที่อายุ 2, 4 และ 6 เดือน 3 เข็ม ถือว่าฉีดครบ และต้องกระตุ้น อีก 2 เข็มที่อายุ 1 ปี 6 เดือน และ 4-6 ปี
วัคซีนไอกรน มีสองแบบ คือ whole cell กับ acellular pertussis ที่จริงประสิทธิภาพการป้องกันโรคไม่ต่างกัน แต่วัคซีน whole cell จะป้องกันการเกาะของเชื้อในโพรงจมูกแบบบไม่ก่อโรคได้ดีกว่า ซึ่งใครไปฉีดวัคซีนฟรีที่สถานพยาบาลของรัฐ จะได้แบบนี้นะคะ
แต่ด้วยความที่วัคซีน whole cell อาจมีอาการข้างเคียงที่พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่ปรารถนา คือไข้สูง ร้องกวนงอแง ไปจนถึงชัก ทำให้ส่วนใหญ่ของผู้ปกครองที่สามารถซื้อวัคซีนฉีดเองได้จะเลือกกลุ่ม acellular pertussis vaccine ฉีดให้ลูกมากกว่าแม้จะราคาสูงกว่าวัคซีนแบบ whole cell ก็ตาม
5.วัคซีนป้องกันการเกิดโรคได้ดีค่ะ แต่หลังจากฉีดไปแล้ว 5-7 ปี ระดับภูมิคุ้งกันจะเริ่มร่วง ดังนั้นเราจึงแนะนำให้กระตุ้นในเด็กอีกทีช่วงอายุ 10 -12 ขวบ (อย่างช้าก็อายุ 14-15 ปี) ดังนั้นมันก็จะมีการระบาดในเด็กวันประถมได้ค่ะ ช่วงภูมิร่วงพอดี
เมื่อไหร่ถือว่าระบาด
ตรวจเจอ 2 คนขึ้นไป ในพื้นที่หรือชุมชนนั้น ถือว่าระบาดค่ะ
6.ถ้าระบาดทำยังไง
-คนที่มีอาการ คนป่วยก็แยกตัวออก รักษาไปค่ะ
แยกตัว ทานยา มียาฆ่าเชื้อหาได้ไม่ยาก ยาพื้นๆ ง่ายๆ หลังรักษา ทานยา 5 วันก็กลับไปเรียนได้ปกติ หรือถ้าไม่ทานยาก็ต้องหยุด หรือจับแยกตัวออกมาสามสัปดาห์
-คนที่สัมผัสใกล้ชิดแล้วมีความเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง หรือที่บ้านมีเด็กทารก มีคนแก่ แม้ไม่มีอาการก็ให้ยาป้องกันหลังสัมผัสโรคค่ะ
- ไม่มีอาการ ไม่ได้มีความเสี่ยงโรครุนแรง ไม่ได้สัมผัสใกล้ชิด ไม่ต้องไปตรวจแลปอะไรให้วุ่นวายแล้วก็เสียเงินเสียทองค่ะ
- เช็ควัคซีน ถ้าได้ครบห้าเข็มตอน 4 ขวบ ถือว่าได้วัคซีนครบ แต่ถ้าระบาดช่วง 8- 9 ขวบ ก็สามารถกระตุ้นได้เลย ไม่ต้องรอตามเกณฑ์อายุครบ 10-14 ปี
เป็นวัคซีนกระตุ้น และเข้าช่วงวัยรุ่นพอดี หลังจากนั้น แนะนำฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี
- วัคซีนมีประโยชน์ในสตรีมีครรภ์ ช่วยลดการติดเชื้อของทารก แนะนำให้ฉีดไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ ใช้วัคซีนรวมคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก แทน วัคซีนรวมไอกรน บาดทะยัก
- วัคซีนคอตีบในผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ สามารถฉีดได้ร่วมกับวัคซีน อื่นคือ คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก
1 บันทึก
4
6
1
4
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย