Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
รายการ ต้นรู้ โลกรู้ BY : Anurak News
•
ติดตาม
16 พ.ย. 2024 เวลา 04:23 • การศึกษา
พ.ร.บ. คู่ชีวิต หรือพระราชบัญญัติคู่ชีวิตกับสิ่งที่มุสลิมไทยต้องเรียนรู้
พระราชบัญญัติคู่ชีวิต เป็นร่างกฎหมายแยกที่ออกมาเพื่อรับรองสิทธิบุคคลเพศเดียวกันให้สามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตได้ ทั้งนี้ คู่ชีวิตมีสิทธิบางประการเหมือนกับคู่สมรสชาย-หญิง เช่น สิทธิการรับบุตรบุญธรรม การรับมรดก แต่สถานะทางกฎหมายจะเป็น “คู่ชีวิต” ซึ่งส่งผลให้อาจไม่ได้รับสิทธิบางประการเทียบเท่าคู่สมรส
หากดูจากปรากฎการของกฎหมายในอดีต
การอยู่ร่วมครอบครัวเป็น “ผัวเมีย” ของคนไทยในยุครัตนโกสินทร์ พระอัยการลักษณะผัวเมีย กฎหมายตราสามดวง ยอมรับการก่อตั้งครอบครัวแบบ “ผัวเดียวหลายเมีย”
พระอัยการลักษณะผัวเมีย กฎหมายตราสามดวง
ผู้ชายสามารถมีเมียหลายคนได้ และเมียมีหลายลำดับชั้น ในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงไม่สามารถมีผัวหลายคนได้ หากมีผัวมากกว่าหนึ่งคนในทางกฎหมายจะมองว่าชายคนนั้นเป็นชู้ นอกจากนี้ ผัวยังมีอำนาจปกครองเมียอีกด้วย หากเมียทำผิด ผัวสามารถโบยตีเมียได้ ไม่มีความผิด
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดสินใจปฏิรูประบบกฎหมายเพื่อไม่ให้สยามเสียเปรียบในเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขต นำไปสู่การจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ป.พ.พ.) และทยอยประกาศใช้ทีละบรรพ สำหรับบรรพ 5 ซึ่งว่าด้วยครอบครัวนั้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 29 พฤษภาคม 2478 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2478 กฎหมายดังกล่าวเปลี่ยนแปลงระบบผัวเมียโดยสิ้นเชิง จากผัวเดียวหลายเมีย เป็นผัวเดียวเมียเดียว (Monogamy) ตามค่านิยมตะวันตก
ต่อมาป.พ.พ. บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว ก็ถูกชำระปรับปรุงขนานใหญ่ และบังคับใช้ตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2519 ตั้งแต่ปี 2519 จนถึงปี 2551 บทบัญญัติที่เกี่ยวกับครอบครัวในป.พ.พ. บรรพ 5 ถูกแก้ไขบ้างตามกาลเวลา แต่ไม่ถึงขั้นเปลี่ยนแปลงจารีตประเพณีในสังคม เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนเริ่มตั้งคำถามถึงการรับรองสิทธิก่อตั้งครอบครัวสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ
ในแรกเริ่มเดิมที ข้อเสนอให้แก้ไขป.พ.พ. ที่เป็นกฎหมายหลักเกี่ยวกับการสมรสนั้นไม่ได้เป็นข้อเสนอที่ “เสียงดัง” มากนักในสังคมไทย เหตุปัจจัยหนึ่ง คือ ป.พ.พ. เป็นกฎหมายหลัก หากแก้ไขเรื่องการสมรสที่เดิมรับรองการสมรสเฉพาะชาย-หญิง จะส่งผลกระทบให้ต้องแก้ไขหลายๆ มาตรา และกฎหมายอื่นๆ อีกหลายฉบับให้สอดคล้องกัน ด้วยเหตุนี้ วิธีคิดในการออกแบบกฎหมายสำหรับรับรองสิทธิก่อตั้งครอบครัวสำหรับเพศหลากหลาย จึงมีข้อเสนอให้เขียนเป็นกฎหมายอีกหนึ่งฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต (ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต)
ความหมายของคู่สมรสกับคู่ชีวิตตามประมวลกฎหมายที่มีการะบุให้เเก้ไขตามประมวลกฎหมาย
ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายยุคสมัย ตั้งแต่ก่อนรัฐประหาร 2557
จนมายุคสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มาถึงช่วงหลังเลือกตั้งใหญ่ปี 2562 อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายดังกล่าวก็ยังไม่มีท่าทีจะผ่านออกมาบังคับใช้ จนกระทั่งปี 2563 ส.ส.พรรคฝ่ายค้านได้เสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ร่างพ.ร.บ.แก้ไขป.พ.พ.)
เพื่อแก้ไข ป.พ.พ. จากที่จำกัดการสมรสเฉพาะสำหรับเพศชาย-หญิง ก็ให้เป็นการสมรสระหว่างบุคคลสองฝ่ายโดยที่ไม่ได้มุ่งเน้นจำกัดเรื่องเพศ ต่อมาถูกเรียกกันในสื่อโซเชียลมีเดียว่า #สมรสเท่าเทียม ตามกระเเสนิยมในยุคปัจจุบันนั้นเอง
รายละเอียดกฎหมายตาม พ.ร.บ. คู่ชีวิตประจำปี 2567
28 พฤศจิกายน 2564 ภาคประชาชนใช้กลไกเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ริเริ่มการเข้าชื่อเสนอร่างพ.ร.บ.แก้ไขป.พ.พ. อีกฉบับ หรือเรียกสั้นๆ ว่า สมรสเท่าเทียมภาคประชาชน ต่อมา 9 กุมภาพันธ์ 2565 สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาร่างสมรสเท่าเทียมที่เสนอโดยส.ส.พรรคก้าวไกล แต่ยังไม่ได้ลงมติรับหลักการในวาระหนึ่ง เนื่องจากครม. ขอรับร่างกฎหมายไปศึกษาก่อนที่สภาจะลงมติรับหลักการ 60 วัน
เมื่อครม. นำร่างกฎหมายดังกล่าวไปศึกษา มีการจัดรับฟังความเห็นจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็น ต่อมา 29 มีนาคม 2565 ครม. มีมติไม่ร่างพ.ร.บ.แก้ไขป.พ.พ. เนื่องจากเห็นว่ามีหลักการใกล้เคียงกับร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตที่ครม.เห็นชอบไปแล้ว (เมื่อปี 2563)
หลัง 22 พฤษภาคม 2565 เข้าสู่การเปิดสมัยประชุมสภาอีกครั้ง ร่างสมรสเท่าเทียมที่เสนอโดยส.ส.พรรคก้าวไกลกลับเข้าสู่สภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ 25 พฤษภาคม 2565 และมีโอกาสที่จะได้เข้าสู่การพิจารณาของสภาอีกครั้งตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2565 ขณะเดียวกันวันที่ 7 มิถุนายน 2565 ครม. ก็ให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต เป็นเวลาหนึ่งวันก่อนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตของครม. “มาไม่ทัน” ที่จะเข้าแข่งขันกับร่างสมรสเท่าเทียมที่วางรออยู่แล้วสองปี
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 8 มิถุนายน ร่างสมรสเท่าเทียมก็ยังไม่ได้เข้าสู่การลงมติ เพราะที่ประชุมพิจารณาร่างกฎหมายเรื่องอื่นอยู่จนกระทั่งหมดเวลา ทำให้ร่างสมรสเท่าเทียมต้องยกยอดไปพิจารณาต่อในวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ซึ่งร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต และร่างพ.ร.บ.แก้ไขป.พ.พ. ที่เสนอโดยครม. ได้บรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรมาทันพอดี นอกจากนี้ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
ก็เสนอร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตอีกหนึ่งฉบับ มาประกบด้วย ขณะที่ร่างสมรสเท่าเทียมฉบับภาคประชาชน ยังอยู่ระหว่างการรวบรวมรายชื่อประชาชน โดยยังไม่ได้เสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร
ใน Pride Month ปี 2565 จึงมีเพียงร่างกฎหมายรับรองสิทธิก่อตั้งครอบครัวจากส.ส.พรรคฝ่ายค้าน ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล และจากครม. ที่เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรพร้อมกัน
ร่างสมรสเท่าเทียมที่เสนอโดยส.ส.พรรคก้าวไกล เสนอแก้ไขบทบัญญัติในป.พ.พ. ที่เกี่ยวข้องกับการสมรส ซึ่งไม่จำกัดแค่มาตรา 1448 ที่กำหนดเรื่องการสมรสของชายหญิง และไม่ได้จำกัดแค่บรรพ 5 ครอบครัว แต่ยังแก้ไขบททั่วไป และเรื่องสิทธิการรับมรดกด้วย โดยประเด็นสำคัญ คือ การแก้ไขคำว่า “สามี-ภริยา” ที่ปรากฏอยู่หลายแห่งในป.พ.พ. ให้เป็นคำว่า “คู่สมรส” ซึ่งเป็นคำที่ไม่ได้บ่งบอกถึงกรอบทางเพศแทน ทำให้ร่างกฎหมายนี้มีความยาวและมีรายละเอียดมาก ขณะที่ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่เสนอโดยครม. มีจำนวนทั้งสิ้น 46 มาตรา
ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตที่เสนอโดยส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มี 44 มาตรา ที่จำนวนบทบัญญัติน้อย ส่วนหนึ่งเพราะร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตทั้งสองฉบับ “อนุโลม” เอาบทบัญญัติในป.พ.พ.มาใช้เท่าที่ไม่ขัดกับตัวร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต
เปรียบเทียบข้อแตกต่างที่สำคัญของร่างสามฉบับได้ดังนี้
อายุขั้นต่ำของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส/คู่ชีวิต : ตามป.พ.พ. กำหนดอายุขั้นต่ำในการจดทะเบียนสมรสของชาย-หญิง ไว้ที่ 17 ปีบริบูรณ์ แต่กรณีมีเหตุอันสมควร (เช่น หญิงตั้งครรภ์ก่อน) ศาลสามารถอนุญาตให้สมรสก่อนอายุ 17 ปีได้ ซึ่งกรณีที่บุคคลอายุ 17 ปีแต่ยังไม่ถึง 20 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะนั้น หากจะจดทะเบียนสมรสจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครอง แล้วแต่กรณี ซึ่งในร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตทั้งสองฉบับก็ยังคงหลักการเดิมไว้
กำหนดอายุขั้นต่ำในการจดทะเบียนคู่ชีวิตไว้ที่ 17 ปี ขณะที่ร่างสมรสเท่าทียม แก้ไขอายุขั้นต่ำในการจดทะเบียนสมรส เปลี่ยนเป็น 18 ปีสำหรับทุกเพศ เพื่อจัดเกณฑ์อายุให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กที่กำหนดให้ “เด็ก” คือ บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ดังนั้นการที่ป.พ.พ. เดิมกำหนดให้ผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปีจดทะเบียนสมรสได้ อีกนัยหนึ่งก็เป็นเหมือนการให้เด็ก (ตามความหมายของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก) สามารถสมรสได้
เพศของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส/คู่ชีวิต : ตามป.พ.พ. กำหนดให้ผู้ที่จะสมรสได้ ต้องเป็น “ชาย” และ “หญิง” เท่านั้น ส่วนร่างสมรสเท่าเทียม กำหนดไว้ว่าเป็น “บุคคล” สองฝ่าย ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่เสนอโดยครม. กำหนดว่าต้องเป็น บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด ส่วนร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่เสนอโดยส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กำหนดว่า “บุคคล” สองคน
สัญชาติของผู้ที่จะจดทะเบียนสมรส/คู่ชีวิต : การสมรสตามกฎหมายของไทย ชายหรือหญิงสามารถจดทะเบียนสมรสกับคนสัญชาติอื่นได้ เนื่องจากป.พ.พ. ไม่ได้จำกัดให้คู่สมรสชาย-หญิง ต้องมีสัญชาติไทยทั้งสองฝ่าย ส่วนในร่างสมรสเท่าเทียมก็ไม่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้ ด้านร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ทั้งฉบับที่เสนอโดยครม.และฉบับที่เสนอโดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์
กำหนดให้คู่ชีวิตอาจเป็นบุคคลสัญชาติไทยทั้งสองคน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทยก็ได้ คนไทยสามารถจดทะเบียนคู่ชีวิตกับใครก็ได้ แต่ชาวต่างชาติสองคนจะมาจดทะเบียนคู่ชีวิตในไทยไม่ได้
ข้อห้ามจดทะเบียนสมรส/คู่ชีวิต : ตามป.พ.พ. กำหนดข้อห้ามในการจดทะเบียนสมรสหลักๆ สามข้อ 1) ห้ามจดทะเบียนสมรสกับคนวิกลจริต หรือคนที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ 2) ห้ามจดทะเบียนกับญาติตามสายโลหิตโดยไม่ได้คำนึงว่าจะเป็นญาติในทางกฎหมายหรือไม่ (ห้าม incest) 3) ห้ามจดทะเบียนสมรสซ้อน ซึ่งร่างสมรสเท่าเทียมก็คงเรื่องนี้ไว้ ส่วนร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตทั้งสองฉบับก็กำหนดไว้ทำนองเดียวกัน และกำหนดห้ามจดทะเบียนสมรสซ้อนไม่ว่าอีกบุคคลฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนสมรสอยู่แล้ว หรือจะจดทะเบียนคู่ชีวิตอยู่แล้วก็ตาม
ความยินยอมในการสมรส : ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1458 กำหนดหลักการให้การสมรสจะต้องทำโดยความยินยอมของชาย-หญิงที่จะอยู่ร่วมกันเป็นสามีภริยา หากการจดทะเบียนสมรสใด คู่สมรสไม่ได้ยินยอมอยู่ร่วมกัน หรือแอบแฝงจดทะเบียนเพื่อเอาสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการของรัฐ การสมรสจะตกเป็นโมฆะ
ซึ่งคู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสอาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ เคยมีกรณีที่ชาย-หญิงจดทะเบียนสมรสเพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการของรัฐ จนเป็นคดีขึ้นสู่ศาลยุติธรรม และศาลสั่งให้การสมรสเป็นโมฆะ เช่น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1067/2545
ร่างสมรสเท่าเทียม ที่เสนอโดยส.ส.พรรคก้าวไกล ไม่ได้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญเรื่องนี้ ส่วนในร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตทั้งสองฉบับ กำหนดทำนองเดียวกันว่าการจดทะเบียนคู่ชีวิตจะต้องทำโดยความยินยอม มิเช่นนั้นจะเป็นโมฆะ ดังนั้น หากบุคคลจะไปจดทะเบียนคู่ชีวิตเพียงเพื่อให้ได้สวัสดิการของรัฐโดยไม่ได้ตั้งใจจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันจริง คู่ชีวิต บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่ชีวิตอาจร้องขอศาลให้พิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้
สำหรับมุสลิมนั้น
7 พระราชบัญญัติคู่ชีวิตที่มุสลิมต้องระวัง
ประเด็นเหล่านี้จะมากำหนดกฎเกณฑ์เเทนการสั่งใช้ของพระผู้เป็นเจ้า
1) สินส่วนตัว ซึ่งเป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส เครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องประกอบอาชีพ ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างการสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา และของหมั้น
2) สินสมรส คือทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส หรือทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ ซึ่งระบุว่ายกให้เป็นสินสมรส และดอกผลของสินส่วนตัว
ถ้าเป็นสินส่วนตัว คู่สมรสฝ่ายหนึ่งสามารถจัดการทรัพย์สินของตัวเองได้ตามปกติ แต่สินสมรสเป็นเจ้าของร่วมกันและต้องจัดการทรัพย์สินร่วมกัน การขายหรือจัดการสินสมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย
ร่างสมรสเท่าเทียม คงหลักการนี้ไว้ ส่วนในร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตทั้งสองฉบับ กำหนดให้มีสินส่วนตัว และทรัพย์สินร่วมกันของคู่ชีวิต เหมือนกันกับกรณีของคู่สมรส อย่างไรก็ดี ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตทั้งสองฉบับไม่ได้กำหนดรายละเอียดเรื่องความยินยอมของคู่ชีวิตหากอีกฝ่ายหนึ่งทำนิติกรรมที่กระทบต่อทรัพย์สินร่วมกัน ซึ่งในมาตรา 15 ของร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิตทั้งสองฉบับ กำหนดให้เอาบทบัญญัติในป.พ.พ. มาใช้โดยอนุโลม (เท่าที่ไม่ขัดกับร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต)
ดังนั้น หากคู่ชีวิตจะทำนิติกรรมใดที่กระทบต่อทรัพย์สินร่วมกัน ก็ต้องขอความยินยอมของคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งเหมือนกรณีของคู่สมรส
การรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน : ป.พ.พ. รวมถึงร่างสมรสเท่าเทียม กำหนดให้คู่สมรสรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ทั้งสองฉบับก็กำหนดให้คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้เช่นกัน
การรับมรดก : ป.พ.พ. กำหนดให้คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นทายาทมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย และร่างสมรสเท่าเทียม ไม่ได้แก้ไขเรื่องนี้ เท่ากับว่าคู่สมรสไม่ว่าเพศใดก็มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายได้ ส่วนในร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ทั้งสองฉบับ กำหนดว่าหากคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งตาย อีกฝ่ายมีสิทธิหน้าที่เช่นเดียวกันกับคู่สมรส ดังนั้น คู่ชีวิตจึงมีสิทธิรับมรดกเช่นกัน
การสิ้นสุดความเป็นคู่สมรส/คู่ชีวิต : ตามป.พ.พ. กำหนดให้การสิ้นสุดการสมรสหรือที่เรียกสั้นๆ ว่า การหย่า สามารถเกิดได้จากความสมัครใจของคู่สมรสเองหรือเกิดจากคำพิพากษา ซึ่งการฟ้องหย่าต้องมีเหตุที่สามารถฟ้องหย่าได้ด้วย เช่น สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ ซึ่งในร่างพ.ร.บ.แก้ไขป.พ.พ. ที่ครม. เสนอ ได้กำหนดแก้ไขเพิ่มเติมเหตุฟ้องหย่า
หากสามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต ก็เป็นเหตุฟ้องหย่าได้ ดังนั้น หากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่านไปพร้อมกับร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต กรณีที่สามีภริยาอุปการะเลี้ยงดูผู้มีเพศกำเนิดเดียวกันฉันคู่ชีวิต ก็เป็นเหตุให้สามีหรือภริยาฟ้องหย่าได้
#สมรสเท่าเทียม #มุสลิม #หลักการเเละเเนวทางกับเพศที่สาม #พรบคู่ชีวิต #พรบสมรสเท่าเทียม #อิสลาม
อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม เรียบเรียง
ศาสนา
ชาวมุสลิม
ศาสนาอิสลาม
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย