17 พ.ย. เวลา 02:33 • ธุรกิจ

12 กฎเหล็ก เกี่ยวกับเรื่อง Branding ช่วยสร้างแบรนด์เรา ให้ติดตลาด

กฎข้อที่ 1: The Law of Fellowship หรือกฎแห่งมิตรภาพ
-ในการทำธุรกิจ หลาย ๆ คนมักคิดว่าแบรนด์ของเราต้องเป็นเจ้าตลาดและผูกขาดอยู่เพียงแบรนด์เดียว
3
แต่ในความเป็นจริงแล้ว กฎข้อนี้บอกไว้ว่า บางครั้งการมีคู่แข่งที่อยู่ในตลาดเดียวกัน มักไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป
เพราะข้อดีของการมีแบรนด์คู่แข่งที่อยู่ในตลาดเดียวกัน เหมือนอย่าง Coca-Cola และ Pepsi, Nike และ Adidas, Apple และ Samsung
4
คือ นอกจากจะเป็นการกระตุ้นให้แบรนด์ต่าง ๆ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ เพราะต้องพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ มาแข่งขันกันแล้ว
1
แบรนด์ต่าง ๆ ยังช่วยกันเพิ่มการรับรู้ให้ลูกค้าสนใจ หรือ Educate ให้ลูกค้ารู้จักสินค้าได้มากขึ้นอีกด้วย
- กฎข้อที่ 2: The Law of the Generic หรือกฎที่ว่าด้วยการตั้งชื่อแบรนด์แบบทั่ว ๆ ไป
วิธีที่ทำให้แบรนด์ล้มเหลวได้ง่ายและเร็วที่สุดคือ การตั้งชื่อแบรนด์โดยใช้คำทั่ว ๆ ไป ไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ
2
กฎข้อนี้บอกไว้ว่า การตั้งชื่อแบรนด์ต้องมีความครีเอต คือ ไม่ใช้คำทั่ว ๆ ไป แต่ยังสามารถสื่อถึงธุรกิจ หรือประโยชน์ของสินค้าและบริการที่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้
ยกตัวอย่างเช่น ร้านอาหารในเครือ iberry Group ของคุณปลา-อัจฉรา บุรารักษ์
iberry มาจากคำว่า ice cream + berry
ซึ่งสะท้อนถึงการเป็นธุรกิจไอศกรีม ที่นำผลไม้ตระกูลเบอร์รี ไม่ว่าจะเป็น สตรอว์เบอร์รี, บลูเบอร์รี, ราสป์เบอร์รี และกูสเบอร์รี มาเป็นส่วนผสม
หรือ กับข้าว’ กับปลา ที่นอกจากจะสะท้อนว่าเป็นธุรกิจอาหาร ที่นำวัฒนธรรมการทานแบบไทย ๆ คือ มีกับข้าว มีปลา และทานร่วมกันแล้ว
คำว่า กับปลา ยังหมายถึง เป็นธุรกิจอาหารในเครือของคุณปลา-อัจฉรา บุรารักษ์ อีกด้วย
1
- กฎข้อที่ 3: The Law of the Company หรือกฎที่ว่าด้วยความแตกต่างระหว่างแบรนด์และบริษัท
กฎข้อนี้บอกไว้ว่า แบรนด์ก็คือแบรนด์ ส่วนบริษัทก็คือบริษัท ระหว่าง 2 คำนี้มีความแตกต่างกัน
หากลองสังเกตจะเห็นว่า หลาย ๆ บริษัทมักจะใช้ชื่อแบรนด์และชื่อบริษัท เป็นชื่อเดียวกัน
ซึ่งในกรณีที่บริษัททำธุรกิจโดยมีแบรนด์หลักเพียงแบรนด์เดียว อาจไม่ใช่เรื่องที่ผิด
แต่หากภายใต้บริษัทมีหลากหลายแบรนด์ อาจทำให้ลูกค้าเกิดความสับสนได้
ทีนี้ถ้าถามว่า แล้วถ้าบริษัททำหลายแบรนด์ เหมือนอย่าง Unilever หรือ P&G จะต้องตั้งชื่ออย่างไร ?
กฎข้อนี้บอกว่า บริษัทควรให้ความสำคัญกับ “ชื่อแบรนด์” มากกว่าชื่อบริษัท
1
ซึ่งวิธีการตั้งชื่อแบรนด์ควรจะเป็นไปตามกฎข้อที่ 2 คือ ไม่ใช้คำทั่ว ๆ ไป แต่ยังต้องสื่อถึงธุรกิจ หรือประโยชน์ของสินค้าและบริการที่สามารถส่งมอบให้กับลูกค้าได้
ส่วนชื่อบริษัท อาจเน้นเป็นชื่อที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมองค์กร ค่านิยมที่ยึดถือ ที่คนภายในองค์กรหรือผู้ถือหุ้นสามารถจดจำได้ง่าย ๆ
- กฎข้อที่ 4: The Law of Sub-Brands หรือกฎแห่งการสร้างแบรนด์รอง
Sub-Brands หมายถึง แบรนด์รองที่อยู่ภายใต้แบรนด์หลัก แต่มีการพัฒนาสินค้าหรือบริการให้มีความแตกต่างจากแบรนด์หลัก เพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน
ยกตัวอย่างเช่น
Toyota แบรนด์รถยนต์ ที่มีแบรนด์รองคือ LEXUS เน้นตีตลาดรถยนต์หรู
Holiday Inn แบรนด์โรงแรม ที่มีแบรนด์รองคือ Holiday Inn Express เน้นราคาเข้าถึงง่ายกว่า
การสร้างแบรนด์รอง เป็นกลยุทธ์ที่หลาย ๆ แบรนด์ใช้ทั่วโลก
แต่กฎข้อนี้เตือนว่า การสร้างแบรนด์รอง ควรทำเมื่อจำเป็น และทำอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้ส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์หลัก
- กฎข้อที่ 5: The Law of Siblings หรือกฎที่ว่าด้วยแบรนด์พี่และแบรนด์น้องในเครือ
จากกฎข้อที่แล้วบอกว่า การสร้างแบรนด์รองควรทำอย่างระมัดระวัง
กฎข้อนี้ อธิบายเพิ่มเติมว่า หากคิดจะสร้างแบรนด์รอง แต่ละแบรนด์ควรมีภาพลักษณ์ มีสินค้าและบริการ มีกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันชัดเจน
หากแต่ละแบรนด์แตกต่างกันไม่มากพอ อาจทำให้ลูกค้าสับสน
หรือในกรณีที่แบรนด์หนึ่งมีราคาถูกกว่าอีกแบรนด์หนึ่ง แต่สินค้าและบริการแทบไม่แตกต่างกัน ก็อาจทำให้เกิดการแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาด (Cannibalization) กันเองได้
- กฎข้อที่ 6: The Law of Shape หรือกฎแห่งรูปร่าง (ของโลโก)
หนึ่งในองค์ประกอบของการสร้างแบรนด์ที่สำคัญคือ โลโก
เพราะโลโก เป็นองค์ประกอบแรก ๆ ที่ลูกค้ามองเห็น สะท้อนความเป็นตัวตนและคุณค่าของแบรนด์ ซึ่งยิ่งโลโกมีเอกลักษณ์ ลูกค้าก็จะยิ่งจดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น
กฎข้อนี้บอกไว้ว่า การออกแบบโลโกมีหลายแบบคือ ทั้งออกแบบโลโกให้เป็นรูปวงรี สี่เหลี่ยม หรือเป็นโลโกแบบแนวตั้ง
แต่การออกแบบโลโกที่ดีที่สุดคือ แนวนอน (Horizontal Shape) เช่น โลโกของ Google หรือ Coca-Cola
1
เนื่องจากตาของมนุษย์ ที่ 2 ข้างอยู่ในตำแหน่งข้าง ๆ กัน ทำให้มนุษย์มีขอบเขตการมองเห็นที่กว้าง จึงโฟกัสภาพแนวนอนได้ดีกว่าภาพแนวตั้ง
ดังนั้น การออกแบบโลโกแบรนด์แบบแนวนอน จึงสอดคล้องกับสายตาของมนุษย์ ทำให้ดึงดูดสายตาจากลูกค้าได้ดีกว่าการออกแบบรูปร่างอื่น ๆ นั่นเอง
- กฎข้อที่ 7: The Law of Color หรือกฎแห่งสี
ในการเลือกใช้สี หลาย ๆ แบรนด์มักจะเลือกสีที่สอดคล้องกับธุรกิจ หรือ Mood ที่ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ เช่น
เลือกใช้สีขาว สะท้อนถึง ความบริสุทธิ์
เลือกใช้สีแดง สะท้อนถึง ความมีพลัง ความสดชื่น
เลือกใช้สีน้ำเงิน สะท้อนถึง ความมั่นคง น่าเชื่อถือ
เลือกใช้สีเขียว สะท้อนถึง สุขภาพ รักสิ่งแวดล้อม
1
อย่างไรก็ตาม กฎข้อนี้บอกไว้ว่า นอกจากการเลือกสีที่สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของธุรกิจแล้ว
สิ่งสำคัญที่ไม่แพ้กันคือ การเลือก “สีตรงข้าม” กับคู่แข่ง เพื่อสร้างความแตกต่าง และทำให้ลูกค้าจดจำได้ง่ายขึ้น
เหมือนอย่าง Coca-Cola ที่มีสีเอกลักษณ์คือ สีแดง
ในขณะที่ Pepsi เลือกใช้สีน้ำเงิน ซึ่งเป็นสีคู่ตรงข้ามนั่นเอง
- กฎข้อที่ 8: The Law of Borders หรือกฎแห่งพรมแดน
กฎข้อนี้บอกว่า หลักของการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ ไม่ควรจำกัดศักยภาพของตัวเองที่แค่ภายในประเทศ
แต่ข้อสำคัญของการขยายไปต่างประเทศคือ แบรนด์ต้องมีความพร้อมในระดับหนึ่ง รวมถึงต้องมีการปรับตัวให้เหมาะกับตลาดและวัฒนธรรมของประเทศที่เข้าไปตีตลาด
โดยที่สำคัญคือ ยังต้องคงเอกลักษณ์และคุณค่าของแบรนด์ไว้ได้อย่างชัดเจน
- กฎข้อที่ 9: The Law of Consistency หรือกฎแห่งความสม่ำเสมอ
26
Branding หรือการสร้างแบรนด์ คือ การทำธุรกิจให้มีตัวตนขึ้นมาในสายตาของลูกค้า ผ่านสิ่งต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างความรู้สึกร่วมขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ชื่อแบรนด์, สีของแบรนด์, โลโกแบรนด์
ซึ่งการสร้างแบรนด์ คือ การหวังผลระยะยาว กว่าที่ลูกค้าจะมองเห็นว่า แบรนด์มีตัวตนและเกิดการจดจำ
เช่นเดียวกับกฎข้อนี้ ที่บอกไว้ว่า การสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วข้ามคืน ไม่ได้เกิดขึ้นในหลักปี แต่อาจใช้เวลานานกว่า “ทศวรรษ”
เพราะการสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จ ต้องอาศัยความสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์อย่างสม่ำเสมอ และการพัฒนาแบรนด์ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ๆ
กฎข้อนี้เป็นกฎที่แทบทุกแบรนด์หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้แต่แบรนด์ดัง ๆ อย่าง Coca-Cola, Apple หรือ Starbucks ก็ใช้เวลาหลายสิบปี กว่าที่จะแบรนด์จะดังและเป็นที่รู้จักทั่วโลก
1
- กฎข้อที่ 10: The Law of Change หรือกฎแห่งการเปลี่ยนแปลง
ในการสร้างแบรนด์ ควรมีการปรับเปลี่ยนแบรนด์ตามเทรนด์โลกเสมอ ๆ
1
แต่กฎข้อนี้ก็เตือนไว้ว่า การปรับเปลี่ยนอะไรก็ตาม ควรทำอย่างรอบคอบ ไม่เช่นนั้นแบรนด์อาจสูญเสียเอกลักษณ์ และทำให้ลูกค้าจดจำไม่ได้อีกต่อไป
ยกตัวอย่างเช่น
Tropicana แบรนด์น้ำส้มชื่อดัง ที่เคยเปลี่ยนแพ็กเกจจิงใหม่ มีการปรับเปลี่ยนโลโกจากแนวนอนเป็นแนวตั้ง รวมถึงการจัดวางตัวอักษรบนกล่อง โดยหวังว่าแพ็กเกจจิงใหม่จะดูทันสมัยมากขึ้น
แต่ในความเป็นจริง กลับทำให้แบรนด์สูญเสียเอกลักษณ์ที่ลูกค้าเคยจดจำได้ จนทำให้ยอดขายแบรนด์หายไปกว่า 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าเลยทีเดียว
- กฎข้อที่ 11: The Law of Mortality หรือกฎแห่งความล้มหายตายจาก
หากเปรียบเทียบแบรนด์เป็นมนุษย์ ต้องบอกว่า แบรนด์ก็มีจุดเริ่มต้น มีจุดพีกที่เป็นที่นิยม และท้ายที่สุดก็ต้องมีจุดที่ล้มหายตายจากเช่นกัน
กฎข้อนี้บอกว่า การล้มหายตายไปจากตลาด ไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับแบรนด์เล็ก ๆ แต่แบรนด์ที่เคยแข็งแกร่งที่สุดในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ก็มีโอกาสที่จะสูญเสียความนิยม จนถึงขั้นต้องยุติกิจกรรม และหายไปจากตลาดเช่นเดียวกัน
ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจเช่าวิดีโอ Blockbuster หรือโทรศัพท์มือถือ Nokia และ BlackBerry
- กฎข้อที่ 12: The Law of Singularity หรือกฎแห่งความเป็นเอกลักษณ์
กฎข้อสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างแบรนด์ให้สำเร็จ ต้อง “มีเอกลักษณ์” มีความโดดเด่นและแตกต่างจากคู่แข่ง มีจุดแข็งเฉพาะ ที่ทำให้ลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ของเราได้
และไม่ควรเลียนแบบคู่แข่ง เพราะอาจทำให้แบรนด์สูญเสียความเป็นตัวเองได้
Reference
- หนังสือ The 22 Immutable Laws of Branding เขียนโดย Al Ries และ Laura Ries
1
โฆษณา