14 ธ.ค. เวลา 09:00 • ไลฟ์สไตล์

ยอมเป็น 'หนี้' เพื่อเติมเต็มชีวิต Gen z มีต้นทุนชีวิตสูงขึ้น แต่ฐานรายได้ต่ำกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน

Gen z มีต้นทุนชีวิตสูงขึ้น เพราะ ‘เงินเฟ้อ’ ฐานรายได้ต่ำกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน สวนทางค่าครองชีพพุ่ง ค่าเรียน-ค่าที่อยู่อาศัยแพง จนเปลี่ยนวิธีการใช้เงินยอมเป็น ‘หนี้’ ติดกับดัก ‘ดอกเบี้ย’ เพื่อเติมเต็มชีวิต
คนรุ่นใหม่ ทั้ง “Gen Z” และ “มิลเลนเนียล” กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สินมหาศาล พร้อมกับความท้าทายทางเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ “ต้นทุนชีวิต” หรือค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นค่าที่อยู่อาศัย ค่าศึกษา หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตประจำวัน ทำให้การเริ่มต้นชีวิตวัยผู้ใหญ่เป็นเรื่องยากกว่าที่เคย โดยเฉพาะวัยที่กำลังก้าวเข้าสู่ช่วงเวลาสำคัญของชีวิต เช่น การซื้อบ้านหลังแรก หรือการสร้างครอบครัว
📌 Gen Z ติดกับดัก ‘ดอกเบี้ย’
ข้อมูลจาก TransUnion เผยให้เห็นว่าคนรุ่น Gen Z วัย 22-24 ปี กำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สินและอัตราการผิดนัดชำระหนี้ที่รุนแรงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ โดยมีทั้งหนี้บัตรเครดิต สินเชื่อบ้าน และสินเชื่อนักศึกษาที่สูงกว่ากลุ่ม Gen Z ในช่วงวัยเดียวกันเมื่อ 10 ปีก่อน ยิ่งไปกว่านั้น ยอดคงเหลือในบัตรเครดิตเฉลี่ยของกลุ่มนี้ก็พุ่งสูงขึ้นถึง 26% เมื่อเทียบกับกลุ่ม Gen Y ในอดีต ส่งผลให้ภาระหนี้สินของ Gen Z ในปัจจุบันหนักอึ้งกว่าเดิมมาก เนื่องจากอัตรา “ดอกเบี้ย” ของบัตรเครดิตพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์
คนรุ่น Gen Z มีหนี้บัตรเครดิตเร็วกว่าคนรุ่นอื่นๆ เพราะมีรายได้น้อยและมีเงินออมน้อย จึงหันมาใช้การกู้ยืมสินเชื่อเพื่อเติมเต็มชีวิต ในความเป็นจริง คนรุ่นใหม่ยังมีโอกาสที่จะฟื้นฟูสถานะทางการเงิน แต่อย่าลืมว่าภาระหนี้สินที่แบกรับอยู่ในปัจจุบันอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตในระยะยาวอย่างมาก
McClary จาก NFCC ได้กล่าวว่าการกู้เงินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงจะขัดขวางการเก็บเงินไว้ใช้ในอนาคต นั่นหมายความว่า แม้จะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินในปัจจุบันได้ แต่ผลกระทบที่ตามมา เช่น ประวัติเครดิตที่เสียหาย หรือเข้าถึงสินเชื่อยากขึ้น
โฆษณา