17 พ.ย. เวลา 15:50 • สุขภาพ

เชื้อไวรัสก่อมะเร็งที่พบบ่อยในมนุษย์

เชื้อไวรัสในความเข้าใจของใครหลายคนที่เชื้อก่อโรคที่เราคุ้นเคย นอกจากไข้หวัดแล้ว ก็มีโควิด 19 ที่เพิ่งระบาดไปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่รู้หรือไม่ว่า ไวรัสตัวจ้อยที่เหมือนจะด้อยพิษสง สามารถก่อโรคถึงตายให้เราได้มากกว่าที่คิด และที่คาดไม่ถึงก็คือ โรคมะเร็งบางชนิด ก็อาจเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสได้เหมือนกัน
1. Human Papilloma Virus : HPV
เป็นเชื้อที่เราคุ้นเคยกันดี เนื่องจากปัจจุบันวัคซีนป้องกันเชื้อ HPV ถูกบรรจุในวัคซีนบังคับ EPI แล้ว HPV เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง เป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อเนื้อเยื่อบุผิว และก่อที่ก่อโรคบริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย ด้วยการสัมผัสเชื้อโดยตรง หรือการมีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ ผู้ที่มีเชื้อ HPV อยู่ในร่างกาย มักไม่มีอาการแสดงใด ๆ จึงอาจแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ซึ่งพบเชื้อชนิดนี้มีมากกว่า 100 สายพันธุ์ สายพันธุ์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายมากที่สุดคือ สายพันธุ์ 16 และ 18
มะเร็งที่สามารถเกิดขึ้นได้จากเชื้อ HPV
  • 1.
    มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับที่ 2 ในผู้หญิงไทย
  • 2.
    มะเร็งอวัยวะเพศชาย
  • 3.
    มะเร็งปากช่องคลอด
  • 4.
    มะเร็งทวารหนัก (Anal cancer)
2. Hepatitis virus B และ C
ไวรัสตับอักเสบเป็นอีกชนิดที่พบได้บ่อย ทั่วโลกมีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบประมาณ 240 ล้านคน โดยความชุกมีตั้งแต่ 2-8% แตกต่างกันไปตามแต่ละประเทศ ร่างกายเกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ หากมีการกระตุ้นของ immune system ที่มากเพียงพอ ผู้ป่วยมักเกิดอาการของตับอักเสบเฉียบพลัน เช่น ไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ตัวตาเหลือง ปวดท้องชายโครงขวา ร่วมกับตรวจทางห้องปฏิบัติการพบลักษณะของ acute hepatocellular injury หรือ acute hepatocellular jaundice
ในทางกลับกัน หากการติดเชื้อแบบเรื้อรังนั้นผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่ไวรัสจะทำให้เกิดการอักเสบของตับแบบเรื้อรัง ส่งผลให้มีการสะสมของผังผืดตับ (liver fibrosis) และเกิดตับแข็งและมะเร็งตับตามมา โดยปัจจัยที่มีผลมากที่สุดที่สัมพันธ์กับการดำเนินโรคว่าผู้ได้รับเชื้อรายใดจะเกิดการติดเชื้อแบบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง ได้แก่ อายุ
หากได้รับเชื้อแบบ perinatal transmission โอกาสจะเกิดการติดเชื้อแบบเรื้อรังสูงถึง 95% หรือได้รับเชื้อขณะอายุ 1-5 ปีโอกาสเกิดการติดเชื้อแบบเรื้อรังประมาณ 50% ตรงข้ามกับการได้รับเชื้อในวัย adulthood ที่อายุมากกว่า 20 ปีพบการติดเชื้อแบบเรื้อรังเพียง 5-10% เท่านั้น
3. Epstein-Barr virus (EBV)
เชื้อ Epstein-Barr virus (EBV) ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2511 ว่าเป็นเชื้อก่อโรค Infectious mononucleosis ที่มักเป็นการติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรงและหายได้เองในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ1 อาการอาจคล้ายโรคหวัด หูชั้นกลางอักเสบ ปวดท้อง ต่อมน้ำเหลืองรอบคอโต เป็นต้น
มะเร็งที่เกิดขึ้นจากเชื้อดังกล่าวคือมะเร็งช่องปากและลำคอ(nasopharyngeal carcinoma) เนื่องจากเชื้อมักระบาดผ่านการสัมผัสน้ำลาย เช่น การจูบ(โรคติดเชื้อดังกล่าวถูกเรียกอีกชื่อว่า Kissing disease) นอกจากนี้ยังอาจก่อโรคมะเร็งอื่นๆได้
เช่น มะเร็งกระเพาะ(stomach cancer) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง(Burkitt's lymphoma, Hodgkin's lymphoma) เป็นต้น
4. Human Immunodeficiency Virus : HIV
นอกจากทำให้เกิดความบกพร่องทางภูมิคุ้มกัน หรือที่เราเรียกกันว่าเอดส์ หรือ AIDS
แล้ว เชื้อ HIV ยังสามารถก่อมะเร็งบางชนิด ซึ่งมักเป็นโรคแทรกซ้อนจากภาวะ AIDS
อาทิเช่น มะเร็งปอด มะเร็งของลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งตับ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด Hodgkin's lymphoma และมะเร็งในช่องปากและคอ เป็นต้น
นอกจากนี้ เชื้อไวรัสชนิด Human T-lymphotropic virus ก็สามารถก่อมะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือที่เรียกว่า Adult T-cell leukemia ได้เช่นกัน
อ้างอิง
โฆษณา