18 พ.ย. เวลา 13:38 • ความคิดเห็น

อย่าลืมมองตัวแปรอื่นในสมการ

ไม่นานมานี้ Derek Sivers ได้เขียนบทความว่าด้วยสมการแห่งความมั่งคั่ง:
1
Wealth = Have ÷ Want
ความมั่งคั่ง คือสิ่งที่เรามีหารด้วยความต้องการ
ถ้าเรามี 10 แต่เราต้องการ 100 เราก็เป็นคนจน
ถ้าเรามี 10 แต่เราต้องการ 5 เราก็เป็นคนรวย
1
ถ้าเรามี 10 แต่เราต้องการ 1 เราก็เป็นคนรวยเอามากๆ
ถ้าชีวิตเพิ่งเริ่มต้น ยังไม่ค่อยมีอะไร ให้ใส่ใจที่ "Have" ก่อน
แต่เมื่อเรามีพอแล้ว ให้กลับมาสำรวจ "Want" ของเราเอง
เพราะการเพิ่มสิ่งที่เรามีนั้นไม่ง่าย ต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกเยอะ
แต่การลดสิ่งที่เราต้องการนั้นเป็น "เกมข้างใน" (inner game) ล้วนๆ
ที่ผ่านมา Derek โฟกัสกับการเพิ่มสิ่งที่เขามี
แต่เดี๋ยวนี้ Derek โฟกัสกับการลดทอนความต้องการของตัวเอง
(สำหรับใครที่ไม่รู้จัก Derek Sivers เป็นผู้ก่อตั้งเว็บ CD Baby และขายธุรกิจไปในราคา 700 ล้านบาท จากนั้นเขาก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องการหาเงิน รายได้จากหนังสือเล่มหลังๆ ที่เขาเขียน Derek จะบริจาคให้การกุศล)
-----
อ่านสมการของ Derek แล้วทำให้คิดขึ้นได้ว่า บางทีเราก็จดจ่อหรือจับจดกับตัวแปรบางตัวในสมการมากเกินไป จนหลงลืมไปว่าเรามีโอกาสสร้างความเปลี่ยนแปลงผ่านตัวแปรตัวอื่นๆ ได้มากกว่า
1
เมื่อสามปีที่แล้ว ผมเขียนถึง The Psychology of Money ของ Morgan Housel ซึ่งผมยกให้เป็นหนังสือเปลี่ยนชีวิตแห่งปี 2021
ข้อความตอนหนึ่งกล่าวไว้ว่า:
ปัจจัยสำคัญที่สุดในการลงทุนคือ “เวลา” ที่เราอยู่ในตลาด
95% ของมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของ Warren Buffett เพิ่งงอกเงยหลังจากบัฟเฟตต์พ้นวัยเกษียณมาแล้ว
1
มีนักลงทุนหลายคนที่ทำผลตอบแทนปีต่อปีสูงกว่าบัฟเฟตต์เสียอีก แต่พวกเขาก็ไม่ได้ยิ่งใหญ่เท่าบัฟเฟตต์เพราะไม่ได้ลงทุนมายาวนานเท่า
เพราะ “เวลา” หรือ “t” นั้นคือ “ตัวเลขยกกำลัง” ในสมการผลตอบแทนการลงทุน
ผลตอบแทนต่อปีจะเยอะเท่าไหร่ จึงอาจไม่สำคัญเท่ากับเราอยู่กับมันยาวนานแค่ไหน
1
หลายคนเอาแต่สนใจผลตอบแทน เห็นการลงทุน A ให้ผลตอบแทน 7% แต่การลงทุน B ให้ผลตอบแทน 30% ต่อปีก็เทใจให้การลงทุน B
แต่ถ้าการลงทุน B เสี่ยงมาก และเรามีโอกาสเจ๊ง เวลาที่เราอยู่ในตลาดก็จะต่ำมาก
สมมติว่า:
การลงทุน A ทำให้เราอยู่ในตลาดได้ 30 ปี
การลงทุน B ทำให้เราอยู่ในตลาดได้แค่ 3 ปีก็ต้องรีบขายทิ้ง
การลงทุน A ให้ผลตอบแทน: 1.07^30 = 7.6 เท่า
การลงทุน B ให้ผลตอบแทน: 1.30^3 = 2.2 เท่า (หรือาจจะเจ๊งก็ได้)
แน่นอนว่าไม่มีคำตอบที่ผิดหรือถูก แล้วแต่ว่าใครจะชอบแบบไหน
1
ขอแค่ให้ระลึกว่า ผลตอบแทนนั้นเป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ยาก เพราะมีปัจจัยเต็มไปหมด แต่เวลาที่เราอยู่ในตลาดนั้นเราควบคุมได้มากกว่า
2
-----
นอกจากเรื่องเงินๆ ทองๆ แล้ว หลักการ "มองหาตัวแปรอื่นในสมการ" ยังใช้ในความสัมพันธ์ได้อีกด้วย
เวลาเรามีปัญหากับคนอื่น ความคิดของเรามักจดจ่อไปที่ "คู่กรณี" ว่าเขาทำผิดอะไร นิสัยอะไรของเขาที่เราไม่ชอบ
แต่อย่าลืมว่าเราเองก็เป็นตัวแปรหนึ่งในสมการเช่นกัน
เหมือนเรื่องเล่าที่ภรรยาบ่นกับสามีหลายวันว่าบ้านข้างๆ ซักผ้าไม่สะอาดแล้วตากเอาไว้
อยู่มาวันหนึ่งผ้าที่ข้างบ้านตากกลับดูสะอาดขึ้นจนภรรยาประหลาดใจ สามีจึงบอกว่า:
"ผ้าข้างบ้านเขาซักสะอาดมาตั้งนานแล้ว เช้านี้ผมแค่เช็ดหน้าต่างบ้านให้บ้านเราเท่านั้นเอง"
ดังนั้น ทุกครั้งที่มีปัญหากับคนอื่น ให้มองว่ามันคือโอกาสในการขัดเกลาตัวเองให้เป็นคนที่มีวุฒิภาวะในความสัมพันธ์มากขึ้น
แต่ถ้าเราพิจารณาโดยถ้วนถี่และด้วยใจเป็นกลางแล้วพบว่าเราไม่ได้ทำอะไรผิด ก็แสดงว่าเราอาจใจอ่อนเกินไปจนปล่อยให้เขาทำร้ายซ้ำๆ
"If someone betrays you once, it's their fault. If they betray you twice, it's your fault."
– Eleanor Roosevelt
3
"Everybody deserves a second chance, but not a third."
– Kevin Kelly
1
ทุกผลลัพธ์กอปรไปด้วยหลายเหตุปัจจัย ถ้าพบว่าตัวเองพยายามแก้ตัวแปรใดมาเนิ่นนานแล้วไม่ดีขึ้น ก็ขอให้ถอยออกมาดูให้ดี ว่ามีตัวแปรอื่นที่เราหลงลืมไปหรือเปล่าครับ
1
โฆษณา