18 พ.ย. เวลา 15:43 • ข่าว

ไทยควรเริ่มใช้ระบบ Prescription ได้แล้ว

จากกรณีดราม่าเรื่อง Common Illness ที่ผ่านมา ทำให้หลายประเด็นที่ตกตะกอนนอนก้อนอยู่ในระบบสาธารณสุขไทยอย่างยาวนาน ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้ง หนึ่งในนั้นคือเรื่องของระบบ Prescription
1
เป็นที่ทราบกันดีว่า ไทยเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องของบทบาทวิชาชีพทางการแพทย์ที่ชัดเจน เช่นเภสัชกรยังสามารถจ่ายยาหลายชนิดในร้านยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ และแพทย์ยังสามารถจัดยาเฉพาะรายให้กับผู้ป่วยของตนได้ ทั้งนี้เนื่องจากในอดีต การเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขทำได้ยาก จึงวางระบบแบบยืดหยุ่นให้เข้ากับความเป็นจริง
แต่ระบบที่มีมาดั้งเดิมนี้ก็พบปัญหามากมาย ทั้งการที่ผู้ป่วยได้รับยาที่ไม่ตรงกับโรค หรือผู้ป่วยได้รับอาการข้างเคียงจากยา การใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผล และอีกหลายปัญหา ตัดภาพมาในปัจจุบัน ที่ไทยมีพร้อมทั้งระบบสารสนเทศและจำนวนสถานพยาบาลที่เข้าถึงได้ง่าย ทำให้การรับยาโดยต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์ หรือที่เรียกว่าระบบ Prescription ถูกพูดถึงอย่างมาก
ยกตัวอย่างกรณีที่ชัดเจนและใกล้เคียงกับไทยก็คือประเทศอังกฤษ ระบบ National Health Service (NHS) หรือหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1948 ทั้งนี้เนื่องจากการให้บริการปฐมภูมิเป็นไปอย่างกระจัดกระจาย ขาดการจัดระบบเพื่อการทำงานร่วมกันเป็นทีม
จนต่อมาใน ค.ศ.1942 Sir William Beveridge ซึ่งมีส่วนร่วมในการผลักดันกฎหมายประกันสุขภาพมาก่อนหน้านี้ได้ตีพิมพ์รายงาน “Beveridge report” เพื่อนำเสนอรัฐบาล เนื้อหาที่สำคัญของรายงานคือประชาชนในวัย ทำงานที่มีรายได้ ควรมีส่วนร่วมในการช่วย ผู้ป่วย ผู้ตกงาน เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้เกษียณอายุ รวมทั้งผู้ที่เป็นหม้าย4
โดยมีปรัชญาที่สำคัญคือ “below which no one should be allowed to fall" (ประชาชนโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส ไม่ควรถูกปล่อยปะละเลยจนชีวิตตกต่ำ) หรือแปลเป็นไทยอีกรอบก็คือ รางานฉบับนี้แสดงให้เห็นความสำคัญของระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทำให้นำมาซึ่งระบบ NHS ในเวลาต่อมา
การรับบริการสุขภาพในอังกฤษ ผู้ป่วยทุกคนจะต้องขึ้นทะเบียนกับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยเบื้องต้นก่อนพิจารณากำหนดแนวทางการรักษา สั่งยา หรือส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง
เมื่อแพทย์สั่งใช้ยา แพทย์จะออกใบสั่งยา คนไข้จะไปรับยาที่ร้านขายยา เภสัชกรจะเบิกค่าจ่ายยาจาก NHS รวมทั้งได้รับค่าตอบแทนการจ่ายยา (Dispensing fee)
โดยที่ค่าตอบแทนการจ่ายยานี้จะได้รับเป็นเงินก้อนในลักษณะเหมาจ่ายเป็นรายปีผ่านสมาคมเภสัชกร เมื่อคนไข้นำใบสั่งยาเพื่อไปรับยาที่ร้านขายยา จะมีคนไข้บางกลุ่มที่จะต้องจ่ายเงินบางส่วนที่ร้านขายยา โดยจ่ายให้ NHS ผ่านร้านขายยา
หากมีการนำระบบนี้มาใช้ ก็จะเป็นประโยชน์ในวงกว้าง ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องโดยแพทย์ มีการสั่งใช้ยาอย่างสมเหตุผล ลดปัญหาจากยาทั้งเชื้อดื้อยาและการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา แต่อย่างไรระบบนี้ก็มีข้อเสียตรงการใช้เวลารอคิว การจองคิว เหมือนกับประเทศในยุโรปที่พบปัญหานี้ช่วงการระบาดของโควิด 19 ซึ่งอาจไม่ถูกจริตกับคนไทยที่ชอบอะไรง่ายๆ เร็วๆ อย่างไรก็ตามสิ่งนี้เป็นความจำเป็นและเป็นความท้าทายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการทำให้ระบบนี้เกิดขึ้นและใช้ได้จริงกับระบบสาธารณสุขไทย
อ้างอิง
โฆษณา