ทุกวันนี้เราใช้ AI หรือ AI ใช้เรา? สำรวจตัวเองกับ 4 ฉากทัศน์การพัฒนาทักษะ AI เตรียมพร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงาน
"AI Upskill: Preparing the Workforce for Tomorrow ปัญญาประดิษฐ์พลิกแรงงานสู่อนาคต" 1 ในหัวข้อน่ารู้สำหรับแรงงานไทย ที่ ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่อนาคตศาสตร์ FutureTales LAB by MQDC ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้จากงานวิจัยของ FutureTals Lab ในงาน The Standard: Economic forum 2024 “Brave New World”
หากจะพูดว่ายุคนี้ คือ "ยุคตื่น AI" ก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะเทคโนโลยี AI กำลังเข้ามามีบทบาทอย่างรวดเร็วในทุกภาคส่วน จนเกิดเป็นความตื่นตัวที่ทำให้แรงงานไทยจำเป็นต้องหันมาพัฒนาทักษะและการใช้งาน เพื่อเพิ่มความสะดวก ประสิทธิภาพ และความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และ "การศึกษา" ก็ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้คนรุ่นใหม่มีความพร้อมในการเข้าสู่ตลาดแรงงานที่สามารถปรับตัวได้ทันกับความก้าวหน้าของ AI
แต่ทว่าความพร้อมของว่าที่แรงงานในอนาคตของไทย กับทักษะในการใช้งาน AI ยังเป็นประเด็นที่ต้องพิจารณา งานวิจัยของ FutureTales Lab ได้ชี้ให้เห็นถึง 4 ฉากทัศน์ที่เป็นไปได้ในยุคที่ AI กำลังเฟื่องฟู ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นผลลัพธ์ที่แตกต่างกันในด้านการพัฒนาศักยภาพแรงงาน
การศึกษาสร้างทาส – เมื่อ AI กลายเป็นที่นิยมจนเกิดการพึ่งพามากเกินไป ผู้เรียนอาจละเลยการคิดวิเคราะห์และกลายเป็นทาสของการใช้เทคโนโลยีโดยไม่แยกแยะสิ่งที่เหมาะสม จนอาจนำไปสู่การยอมจ่ายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์อย่างไร้การควบคุม
การศึกษาพาสงสัย – การรับเทคโนโลยีและข้อมูลอย่างรวดเร็วแต่ขาดการประเมินความเหมาะสมต่อบริบทไทย อาจก่อให้เกิดข้อสงสัยหรือสับสนในการใช้งาน AI ที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาของประเทศ
การเรียนรู้เสริมปัญญา – ผู้เรียนสามารถเข้าใจและใช้ AI อย่างรอบรู้ ใช้เพื่อเสริมจุดอ่อนของตนเอง เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอย่างมีเหตุผล
สรุปได้ว่า การปรับตัวของแรงงานและระบบการศึกษาในยุค AI จะเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดอนาคตของตลาดแรงงานไทย การศึกษาในยุคนี้ต้องมุ่งเน้นที่การใช้ AI อย่างมีวิจารณญาณ ไม่ใช่เพียงเพื่อประโยชน์ทางเทคนิค แต่เพื่อการพัฒนาคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ยั่งยืน