Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
aomMONEY
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
19 พ.ย. เวลา 15:00 • หนังสือ
"อะไรที่คนสำเร็จมีเหมือนกัน” The Success Factors สรุป 7 ข้อสำคัญจากผู้เขียน ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์
นิยามความสำเร็จของแต่ละคนคืออะไร เป็นสิ่งที่แต่ละคนต้องตั้งคำถามและหาคำตอบ บางคนบอกว่าอยากประสบความสำเร็จในชีวิต บางคนอยากสำเร็จในด้านการงาน บางคนอยากสำเร็จในด้านการเงิน
2
ซึ่งไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จด้านไหน ทุกด้านย่อมมีความสัมพันธ์กันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และวันนี้หากคุณอยากเป็นคนที่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะรูปแบบใด แนะนำให้เริ่มต้นด้วยการอ่านหนังสือ "อะไรที่คนสำเร็จมีเหมือนกัน: The Success Factors" โดยเนื้อหาจะอธิบายถึงมุมมองที่หลายคนมองข้ามไป และนี่คือ 7 ข้อสำคัญจากผู้เขียนที่เลือกมาให้เป็นพื้นฐานที่คนอยากสำเร็จต้องมี
✅1. #พัฒนาตัวเองให้เชี่ยญชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ปัจจุบันหลายคนที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ อาจไม่ใช่เพราะไม่เก่ง แต่เราเก่งแบบสะเปะสะปะ ชนิดที่ว่าทำได้ทุกอย่าง แต่ไม่ดีสักอย่าง ยกตัวอย่าง 2 คำถามให้เห็นภาพ ดังนี้
1) “เคยเห็นนักกีฬาคนเดียวกันได้เหรีญทองหลายเหรียญในกีฬาประเภทเดียวกันหรือไม่” คำตอบคือ “เคย”
2) “เคยเห็นนักกีฬาคนเดียวกันได้เหรียญทองหลายเหรียญแต่ต่างชนิดกีฬาหรือไม่” คำตอบคือ “ไม่เคย”
นี่เป็นเหตุผลที่สนับสนุนว่า คนที่ฝึกฝนตัวเองให้เก่งที่สุดในด้านใดด้านหนึ่งจะมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าคนที่เก่งหลายด้าน แต่เป็นความเก่งแบบกลางๆ
ซึ่งเราจะเก่งหรือเชี่ยวชาญด้านอะไรนั้น เราก็ต้องรู้ตัวเองก่อนว่าเราชอบทำอะไร และสิ่งที่ทำนั้นสร้างคุณค่าให้กับผู้อื่นหรือไม่ สำหรับผู้ที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร และสิ่งที่ชอบนั้นสามารถสร้าง Value ได้ก็สามารถฝึกฝน พัฒนา ความความรู้เพิ่มเพื่อไปสู่ความเชี่ยวชาญนั้นๆ ได้เลย แต่ถ้ายังไม่รู้ว่าตัวเองเชี่ยวชาญอะไร แนะนำว่าให้ทดลองเยอะๆ โดยเฉพาะช่วงเริ่มต้นวัยทำงาน หากได้ลองทำงานที่หลากหลายมากพอก็มีโอกาสที่จะค้นพบความชอบที่จะพัฒนาเป็นความเชี่ยวชาญได้มากขึ้น
✅2. #ลงมือทำและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
“การเรียนรู้สำหรับผมไม่เหนื่อยเลย เวลาเหนื่อยผมชอบหยิบหนังสือมาอ่าน”
ต้องยอมรับว่าโลกยุคนี้เปลี่ยนแปลงเร็ว ถ้าเราไม่เรียนรู้ เราจะล้าสมัยทันที และถ้าอยากอัปเดตตัวเองให้ดีขึ้น ต้องเรียนรู้ให้มากที่สุด และเมื่อเรียนรู้แล้วก็ต้องลงมือทำด้วย ปัญหาของคนส่วนมากคือ เรียนรู้แล้วแต่ลืม นั่นเป็นเพราะไม่ได้ลงมือทำทันที เพราะหากลงมือทำ สิ่งที่เราได้เรียนรู้นั้นจะไม่มีทางลืมแน่นอน
✅3. #กล้าตัดสินใจและกล้าล้มเหลว
เรื่องนี้ถือว่ามีความยาก เพราะการตัดสินใจในบางเรื่อง มักมีข้อดีและข้อเสียพอๆ กัน เช่น ตัดสินใจเพื่อลาออกจากงานมาเปิดกิจการ สิ่งนี้มีความยากในการตัดสินใจ เพราะมีทั้งโอกาสและความเสี่ยงรออยู่ ซึ่งไม่ว่าเราจะตัดสินใจทางเลือกใดก็ต้องยอมรับว่า “ความล้มเหลวกำลังรออยู่” ดังนั้น ต้องไตร่ตรองให้ดี
ความล้มเหลวเป็นเรื่องธรรมดา สามารถล้มเหลวได้ แต่ “อย่าล้มแรง” ต้องจำกัดความเสี่ยงให้ได้ และยอมรับว่าสุดท้ายเราจะเจอความล้มเหลวแน่นอน
✅4. #เริ่มต้นให้เล็กๆแล้วค่อยเติบโต
คนส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะไม่ได้เริ่มต้นทำ “การเริ่ม” เป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุด เช่น ทุกคนรู้ว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าให้วิ่ง 10 กิโลเมตรวันนี้เลยทันที ก็คงจะไม่มีคนไป หรืออาจจะไปแค่วันแรก แล้วก็เลิก
แต่ลองเปลี่ยนเป็นวิ่งแค่ 10 เมตรพอ เชื่อว่าไม่มีใครทำไม่ได้ และที่เชื่อไปกว่านั้นคือ เมื่อเราใส่รองเท้าเพื่อออกไปวิ่งแล้วไม่น่าจะมีใครวิ่งแค่ 10 เมตรแล้วเลิกแน่นอน ต้องวิ่งได้เยอะกว่านี้แน่
“สิ่งที่ยากที่สุดของการวิ่ง ไม่ใช่ระยะทาง แต่คือเริ่มใส่รองเท้า”
✅5. #ต้องตั้งเป้าหมาย
ส่วนตัวมีการตั้งเป้าหมายทุกปี และอัปเดตทุกสัปดาห์ว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้มีความคืบหน้าเป็นอย่างไร การตั้งเป้าหมายช่วยให้เราเห็นทิศทาง และช่วยให้เราคัดกรองบางเรื่องออกจากชีวิตได้ง่ายขึ้น เช่น บางครั้งมีโอกาสเข้ามาในชีวิต ก็ต้องตัดสินใจว่า “ควรทำหรือไม่” เพราะ “การทำสิ่งหนึ่ง คือ การไม่ได้ทำอีกสิ่งหนึ่ง”
และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าควรทำสิ่งไหนดี คำตอบก็คือให้ดูจาก “เป้าหมาย” ว่าสิ่งที่กำลังจะทำนั้นตอบโจทย์เป้าหมายของเราหรือไม่ ถ้าตอบก็ไม่มีปัญหา ถ้าไม่ตอบแต่อยากทำ ก็ต้องมาดูว่าจะต้องไม่ใช้เวลาของชีวิตที่มากเกินไป
✅6. #ใช้ชีวิตเรียบง่ายอยู่กับปัจจุบัน
การทำอะไรที่เยอะเกินไป แน่นอนว่าไม่ดีแน่ โดยเฉพาะการทำงานที่หนักโดยที่ไม่มีเป้าหมาย เพราะจะส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจ เหมือนกับ “การวิ่ง” โดยการวิ่งเร็วนั้นไม่ผิด แต่การวิ่งเร็วแบบไม่หยุดพักเลยก็อาจเป็นปัญหาได้
และการวิ่งให้ช้าลงบ้าง “ช้าแบบมีจังหวะ” อาจไม่ต้องกำลังวลว่าจะถึงเป้าหมายช้า เพราะถ้าเราวิ่งเร็วแต่ผิดทาง ก็เสียเวลาบาดเจ็บ กับการรักษาตัว ดังนั้น ไม่คุ้มค่ากับระยะยาว
✅7. #การเปิดใจรับฟังไม่ใช่แค่ได้ยิน
บางครั้งการฟัง เราไม่ได้ฟังอย่างจริงจัง แต่เราฟังเพื่อจะโต้ตอบ เพราะเรามักยึดความคิดของเราเป็นหลัก พอเราคิดแบบนี้มันก็อาจกลายเป็นข้อขัดแย้ง เพราะแต่ละคนจะมีทั้งมุมถูกและมุมผิดของตังเองทั้งนั้น
สมมติ ผู้ใหญ่บอกว่า “เด็กสมัยนี้ไม่อดทน” ในทางหนึ่งก็อาจจะจริง แต่คำถามต่อมาคือ “แล้วทำไมเขาต้องอดทน” ดังนั้น จงรับฟังให้เข้าใจถึงเหตุผลของเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เพียงแค่ได้ยินแล้วก็ผ่านไป
อ้างอิง:
https://www.youtube.com/live/PgquyPeRJr4?si=j-O-x92jwefYNDds
#aomMONEY #อะไรที่คนสำเร็จมีเหมือนกัน #TheSuccessFactors #นภดลร่มโพธิ์
14 บันทึก
11
8
14
11
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย