19 พ.ย. เวลา 07:13 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

W9 ชี้ไมโครพลาสติกปนเปื้อนสูงขึ้น เผยสารพิษตกค้างร่างกาย ภัยคุกคามคุณภาพชีวิต

W9 Wellness Center เผยภัยเงียบจากการตกค้างและสะสมของไมโครพลาสติกในร่างกายมนุษย์ ผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกและโฟม ที่เพิ่มมากขึ้นตามไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ระบุวิจัยจาก Scripps Research Institute เผย ไมโครพลาสติกสะสมในหลอดเลือดแดงมนุษย์ เสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่าผู้ไม่มีไมโครพลาสติกถึง 4.5 เท่า แนะเลี่ยงการใช้พลาสติก ขับสารพิษเบื้องต้นด้วยการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพิ่มการไหลเวียนโลหิต
จากไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบันที่หลีกเลี่ยงการปนเปื้อนจากสารเคมีกลุ่มพลาสติกได้ยาก อาทิ การดื่มน้ำหรือบริโภคสินค้าผ่านผลิตภัณฑ์พลาสติกต่างๆมากมาย ที่อาจไม่ได้คุณภาพ เหล่านี้มีโอกาสที่พลาสติกจิ๋ว หรือ ‘ไมโครพลาสติก’ จะเข้าสู่ร่างกาย กลายเป็นภัยเงียบที่ ‘ตกค้างและสะสม’ ในอวัยวะต่างๆ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
ทั้งนี้จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก พบว่า ไมโครพลาสติกกำลังสะสมอยู่ในอวัยวะที่สำคัญของมนุษย์ และอาจจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยง มีสารพิษตกค้างในร่างกายมากเกินโดยไม่รู้ตัว โดยพบไมโครพลาสติกหรือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ในตัวอย่างสมองตั้งแต่ปี 2567 สูงขึ้นประมาณ 50% เมื่อเทียบจากตัวอย่างในปี 2559 “นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์” แพทย์ผู้อำนวยการ W9 Wellness Center ให้ข้อมูล
พลาสติก-โฟม โอกาสผู้บริโภค
รับสารปนเปื้อน สไตรีน - สารไดออกซิน
แพทย์ผู้อำนวยการเวลเนสเซ็นเตอร์แห่งนี้ ยังบอกด้วยว่า การใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกนับเป็นสาเหตุหลักของการปนเปื้อนไมโครพลาสติก จากภาชนะพลาสติกและโฟมเป็นส่วนใหญ่ซึ่งอาจจะทำให้ผู้บริโภคได้รับสารปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็น สารสไตรีนที่พบได้ในโฟม สารไดออกซินที่มักพบได้ในพลาสติกรีไซเคิล สาร Bisphenol A (BPA) พบได้ในขวดน้ำพลาสติก เป็นต้น ซึ่งสารดังกล่าวหากได้รับความร้อนจัดสารเหล่านี้อาจออกมาปนเปื้อนในอาหารได้
การที่ร่างกายได้รับสารปนเปื้อนในปริมาณเล็กน้อยอาจจะไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายในทันที แต่หากสะสมอยู่ในร่างกายเรื่อย ๆ อาจมีผลต่อสุขภาพได้ในระยะยาว
ความนิยมบริโภคอาหารแปรรูป
ดันการใช้พลาสติก สร้างไมโครพลาสติก พุ่ง
ขณะที่แนวโน้มของการใช้พลาติกที่เพิ่มสูงขึ้น โดยรายงานจากกองทุนสัตว์ป่าโลก (World Wildlife Fund) ที่พบว่าคนใช้พลาสติกประมาณ 5 กรัม ต่อสัปดาห์ และงานวิจัยอื่น ๆ ยังระบุว่าคนทั่วไปสร้างไมโครพลาสติกอย่างน้อย 50,000 ชิ้นต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมากสำหรับคนที่นิยมบริโภคอาหารแปรรูป
ไมโครพลาสติกสะสมในหลอดเลือดแดงมนุษย์
เสี่ยงเสียชีวิตสูงกว่าผู้ไม่มีไมโครพลาสติกถึง 4.5 เท่า
โดยมีงานวิจัยจาก Scripps Research Institute พบว่า ไมโครพลาสติกสามารถสะสมอยู่ในไขมันภายในหลอดเลือดแดงของมนุษย์ ซึ่งสร้างความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือการเสียชีวิตสูงกว่าผู้ที่ไม่มีไมโครพลาสติกถึง 4.5 เท่า
ติดตามอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์
โฆษณา