20 พ.ย. เวลา 07:57 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

โอกาสของประเทศไทย ในการผลักดันเทคโนโลยี Web 3.0

Web 3.0 เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาหลายรุ่นจนกลายมาเป็นโมเดลที่ 3 ในปัจจุบัน แต่ความท้าทายในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ยังมีมากเนื่องจากเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้น ผู้คนยังไม่เข้าใจในวงกว้างจึงไม่ค่อยมีการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ความจริงแล้วเทคโนโลยี Web 3.0 มีประโยชน์อย่างมาก เพราะสามารถเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลให้กับประเทศได้หลายมิติ
ครั้งนี้ The Story Thailand จะพาไปทำความเข้าใจถึงโอกาส การต่อยอดการใช้งาน Web 3.0 ในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงตัวอย่างโปรเจ็กต์ที่มีการประยุกต์การใช้งาน Web 3.0 ของประเทศไทย ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงในการกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยี Web 3.0 ในภูมิภาคเอเชียได้ในอนาคต หวังเพิ่มผู้ใช้งานและสร้างมูลค่าให้ Web 3.0 มากขึ้นในอนาคตในงาน Thailand Blockchain Week 2024
โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญงานด้าน Web 3.0 ได้แก่ อรุณี แปลงนาม Innovation Developer National Innovation Agency (Public Organization), ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการ สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น Digital Economy Promotion, นที เทพโภชน์ Executive Director Om Platform Co., Ltd. / Blockmountain และพนากร เดชธำรงวัฒน์ Head of Investment Promotion Invest Hong Kong โดยสรุปประเด็นได้ดังนี้
ประเทศไทยมีโอกาสที่โดดเด่นในการพัฒนาเทคโนโลยี Web 3.0 เนื่องจากมี Colud Service ที่ค่อนข้างครบครันเพื่อสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Web 3.0 รวมถึงหน่วยงานที่พร้อมนำทางให้กลุ่มผู้ที่ต้องการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีได้ มีแหล่งทุน ที่ปรึกษาเพื่อพาธุรกิจไปเติบโตไปในระดับสากลขั้นที่สร้างผลดีให้กับประเทศชาติได้
ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวว่า การมี Cloud Service จะช่วยดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนกับธุรกิจในประเทศไทย ประกอบกับการเริ่มมี Chain เป็นของตัวเอง เป็นก้าวสำคัญที่ช่วยเสริมศักยภาพให้กับองค์กรหรือโครงการต่าง ๆ โดยช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมระบบนิเวศ การสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลเฉพาะตัว และการตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานแบบเฉพาะ ซึ่งช่วยให้โครงการต่างๆ มีความได้เปรียบในการแข่งขันในยุคของ Web 3.0 กับนานาประเทศ
ในมุมของอรุณี มองว่าการมีหน่วยงานภาครัฐที่พร้อมส่งเสริมกลุ่มธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโต เป็นโอกาสที่สำคัญของประเทศอย่างมาก อย่าง NIA (National Innovation Agency Thailand) มีพันธกิจ Groom, Grant, และ Growth ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของ SMEs ในทุกมิติ ตั้งแต่การพัฒนาความรู้และทักษะ การสนับสนุนด้านเงินทุน จนถึงการขยายธุรกิจสู่ตลาดดิจิทัล ด้วยเป้าหมายให้ SMEs ไทยสามารถปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเติบโตอย่างแข็งแกร่งในเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
โดยที่ NIA เน้นไปที่การเปิดพื้นที่ให้ผู้เล่น ได้ทดลองผลิตภัณฑ์ในตลาดที่คล้ายจริง เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ในการขายสินค้าและบริการ ยิ่งกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในขึ้นตอนของ Prototype ทดลองตาดหรือทำ Product Review NIA จะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษเพื่อสร้างโอกาสการออกสู่ตลาดจริงได้มากขึ้น
ด้านพนากรและ นที มองว่าโอกาสของ Web 3.0 มีอยู่มากแม้จะถูกกระแสของ AI กลบไปค่อนข้างมากแต่ก็ยังมีการนำเทคโนโลยี Web 3.0 ไปประยุกต์ใช้ในหลายอุตสาหกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่การท่องเที่ยว การเงิน การศึกษา ไปจนถึงเกมและการเกษตร ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอย่างเครือ Central ที่มีการใช้เทคโนโลยี Web 3.0 ในการสร้างเหรียญ NFT สร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าด้วยการสะสมเหรียญเพื่อแลกรับของตอบแทนเป็นของรางวัลต่าง ๆ ที่มาจากการ Collaboration กับแบรนด์ต่าง ๆ ได้
อุปสรรคที่ขวางการพัฒนาเทคโนโลยี Web 3.0
ส่วนใหญ่ยังมองเป็นความท้าทาย เนื่องจากเทคโนโลยี Web 3.0 ยังถูกใช้ไม่แพร่หลายจึงเกิดข้อกังขาเรื่องการต่อยอดไปใช้ประโยชน์ บวกกับการเป็นเทคโนโลยีใหม่จึงมีราคาต้นทุนค่อนข้างสูงคนจึงยังไม่ค่อยนำไปใช้ในวงกว้าง เป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องเร่งทำ Use Cases ที่เป็นแนวทางการที่นำไปใช้งานจริงเพื่อเป็นตัวอย่างที่การันตีได้ว่าเทคโนโลยี Web 3.0 มีประสิทธิภาพช่วยธุรกิจให้เติบโตได้จริง
อรุณี เสริมว่าการสร้างความรู้ความเข้าใจรวมถึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนหรือกลุ่มผู้ที่ทำธุรกิจเพื่อเปิดกว้างตลาดให้กับเทคโนโลยี Web 3.0 สอดคล้องกับพนากร ที่มองว่าการสร้างความกล้าที่จะใช้เทคโนโลยี Web 3.0 ก็เป็นความท้าทายเช่นกันพนากร มีความคุ้นเคยกับการลงทุนในตลาดฮ่องกงเป็นอย่างดี
ซึ่งตลาดฮ่องกงมีความโดดเด่นเรื่องความเปิดกว้างให้ธุรกิจต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้โดยง่าย มีกฎหมายจากภาครัฐสนับสนุน มีการเว้นภาษีสำหรับกลุ่มธุรกิจที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Web 3.0 หรือ Blockchain หรือแม้กระทั่งการสร้างโอกาสการลงทุนให้กับธุรกิจที่จดทะเบียนในประเทศ ทำให้การเติบโตในเชิงเศรษฐกิจหรือการพัฒนาด้านเทคโนโลยี Web 3.0 ก้าวหน้านำประเทศอื่น ๆ เป็นอย่างมาก
ตัวอย่างโปรเจ็กต์ที่ต่อยอดจากเทคโนโลยี Web 3.0'
ในประเทศไทยมีหลายโปรเจ็กต์ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Web 3.0 ทั้งที่เป็นกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในพอร์ตการดูแลของ Depa ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธุรกิจ SME หรือ Startup ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ หรือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มาขอทุนจาก NIA ที่อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาสินค้าและบริการ เป็นต้น ที่จะเริ่มเห็นภาพการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ
NIA มีตัวอย่างโปรเจ็กต์ที่พัฒนาร่วมกับบริษัทที่เข้ามาขอทุนเป็นการใช้เทคโนโลยี Blockchain ในอุตสาหกรรมโรงพยาบาล โดยต้องการเชื่อมโยงข้อมูลของคนไข้ทุกคนในประเทศในฐานข้อมูลเดียวกัน เพราะสร้างการเข้าถึงที่สะดวกเร็วให้กับผู้ใช้บริการโรงพยาบาล เป็นอีกหนึ่งโปรเจ็กต์ที่ได้ขยายการรับรู้เรื่องการใช้งานเทคโนโลยี Web 3.0 ไปในวงกว้างมากขึ้น
ด้าน Depa มีโปรเจ็กต์ที่ทำอยู่คือการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่เป็นข้อมูลติดต่อต่าง ๆ ของนักวิจัยเพื่อสร้าง Smart Contact อำนวยความสะดวกในการทำเบิกเงินของนักวิจัย รวมถึงผสมผสานเทคโนโลยี Web 2.0 ในการเก็บเอกสารดิจิทัลต่าง ๆ
ด้านเอกชนที่เป็นโครงการตัวอย่างคือเครือ Central ใช้งาน NFT แทนแต้มหรือคะแนนที่เปิดให้ทั้งลูกค้าและพนักงานในเครือใช้สะสมแลกคะแนนแลกของรางวัล หรือเป็นโครงการส่งเสริมความรู้เรื่องเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้กับหน่วยงาน องค์กร ภาคส่วนต่าง ๆ ที่ต้องการอบรม
ต่อมาในส่วนของตัวอย่างโครงการของต่างประเทศเป็นโครงการที่มาจากประเทศฮ่องกงที่สร้างอำนาจให้กับ Data ด้วยการเก็บเอสารดิจิทัล อาทิ ใบ Certificate ต่าง ๆ เอกสารยืนยันตัวตนของประชาชน เอกสารสุขภาพ ก่อนทำการเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่ Digital Wallet เพื่อสร้างความสะดวกสะบายให้กับการใช้งานของผู้คน
สิ่งที่จะส่งเสริมให้เทคโนโลยี Web 3.0 ก้าวนำการแข่งขันกับนานาประเทศได้
แม้จะเกิดการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นมาแลเวจากอดีตแต่ในปัจจุบันยังนับว่าเป็นสัดส่วนการใช้งานยังน้อยอยู่เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่มีความก้าวหน้าไปไกล จึงเป็นหน้าที่ของภาครัฐและเอกชนของประเทศไทยที่ต้องร่วมกันส่งเสริมความรู้เรื่องเทคโนโลยี Web 3.0 ให้เกิดการใช้งานที่แพร่หลาย รวมถึงผลักดันเรื่องกฎหมายให้เอื้ออำนวยประโยชน์แก่ธุรกิจที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
ตัวอย่างประเทศที่ปรับกฎระเบียบจนประสบความสำเร็จ คือการผลักดันตลาดคริปโทให้เป็นมิตรกับผู้พัฒนา ผู้ลงทุน และ End User สิ่งเหล่านี้จะดึงดูดผู้ลงทุนรายใหญ่เข้ามาในประเทศ ส่งผลให้ในอนาคตเกิดความเจริญในหลายด้านอย่างมีนัยสำคัญ
มาในมุมของประเทศไทยทางภาครัฐและเอกชนบางที่ได้สนับสนุนเรื่องเทคโนโลยี Web 3.0 อย่างจริงจังทั้งการเปิดพื้นที่ให้ทดลองสินค้าก่อนออกสู่ตลาดจริง มีแหล่งเงินทุนให้สำหรับธุรกิจที่มีศักยภาพ มีแหล่งค้นคว้าหลายแหล่งไม่ว่าจะเป็น Influencer ชั้นนำ งานอีเวนต์ต่าง ๆ หรือศูนย์การเรียนรู้ของภาครัฐเอง ที่จะช่วยให้ธุรกิจดำเนินงานร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้งยังเอื้อเรื่องการแบกรับความเสี่ยงให้กับผู้ลงทุนครึ่งนึงจากโครงการที่สนับสนุนการลงทุน การจ่ายเงินเดือนครึ่งหนึ่งสำหรับบริษัทที่จ่างกลุ่ม Talent ด้าน IT หรือหากจัดซื้อเครื่องมือเทคโนโลยีจากธุรกิจที่อยู่ในพอร์ตการดูเเลของ Dapa จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%
ทั้งหมดนี้ก็เพื่อส่งเสริมการต่อยอดใช้งานเทคโนโลยี Web 3.0 ให้ครอบคลุมไปในทุกอุตสาหกรรม ลดความกลัวของนักพํฒนาที่จะพัฒนาเทคโนโลยีหรือลดความเสี่ยงในการลงทุนด้วยการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานจริงเป็นตัวอย่าง ลดปัญหาเรื่องการขาดแคลนคนด้วยการมอบองค์ความรู้ให้อย่างเต็มที่ โดยหวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยได้มีพัฒนาการด้านเทคโนโลยี Web 3.0 ได้ในอนาคต
โฆษณา