เมื่อวาน เวลา 10:30 • ธุรกิจ

ซอส พาวเวอร์ เมื่อเครื่องปรุงไทย ของฮิตต่างชาติ ยุโรป ญี่ปุ่น รักจนยืนหนึ่งใน “ซอฟต์พาวเวอร์

ซอส และ เครื่องปรุงรสของไทย เป็นที่ชื่นชอบของต่างชาติมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่น้ำปลา ถึง ซอสพริกศรีราชา จนหลายครั้งเรามักจะเห็นว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติ มักซื้อเครื่องปรุงไทยเป็นของฝาก กลับประเทศไปด้วย
Krungthai COMPASS ประเมินว่า การเติบโตของ อุตสาหกรรมธุรกิจผลิตเครื่องปรุงรส ในปี 2567 รายไดจะเติบโตเฉลี่ย 10.8% และ ในปี 2568 จะเติบโต 8.1%
ทั้งนี้ ภาพรวมของตลาดซอสที่จำหน่ายในประเทศไทย ที่มีสัดส่วนรายได้ทั้งหมด 57% ของอุตสาหกรรมทั้งหมด จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 คาดว่าจะเติบโต 7.5% และ ในปี 2568 คาดว่าจะเติบโต 9% จากความต้องการบริโภคเครื่องปรุงรสในประเทศที่เพิ่มขึ้น
โดยมีแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของธุรกิจร้านอาหารและโรงแรมที่ได้รับอานิสงส์จาก จํานวนนักท่องเที่ยวไทยที่ขยายตัวต่อเนื่องและการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อีกทั้งอาหาร ยังเป็น 1 ใน 11 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่รัฐบาลจะใช้ในการขับเคลื่อนนโยบาย Soft Power
ด้านมูลค่าการส่งออก ปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนรายได้ 43% จะเติบโตได้ดีกว่า โดยในปี 2567 คาดว่าจะเติบโต 15% และ ในปี 2568 จะเติบโต 7% ตามการขยายตัวของรายได้ธุรกิจร้านอาหารของ ประเทศคู่ค้าหลัก ทั้งอาเซียน EU สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ในปี 2567 ยังได้รับ อานิสงส์เพิ่มเติมจากความกังวลด้านความมั่นคงทางอาหารที่ทําให้ประเทศคู่ค้าหันมา สต็อกเครื่องปรุงรสจากไทยเพิ่มมากขึ้น รวมถึงผลดีจากนโยบายครัวไทยสู่ครัวโลก ที่จะ ส่งผลให้เครื่องปรุงรสของไทยเป็นที่ต้องการในตลาดต่างประเทศมากขึ้น
ทั้งนี้ในด้านสัดส่วนการตลาดหลักของซอสไทย แบ่งเป็น อาเซียน 37% ยุโรป 30% สหรัฐ 11 %ญี่ปุ่น 6.7%
ทั้งนี้ ธุรกิจผลิตเครื่องปรุงรสของไทยยังเผชิญความเสี่ยงสําคัญๆ ได้แก่
1) ต้นทุน วัตถุดิบยังอยู่ในระดับสูง โดยราคาสินค้าเกษตรที่เป็นวัตถุดิบหลักกว่า 74% ของต้นทุน ได้ปรับตัวสูงขึ้นในช่วง ต้นปี 2567 จากสภาวะอากาศโลกที่แปรปรวน ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนจัดหา วัตถุดิบเพิ่มขึ้น ส่วนในปี 2568 สภาวะอากาศที่คาดว่าจะดีขึ้น จะทําให้ราคาวัตถุดิบมีแนวโน้ม ลดลง
2) ต้นทุนค่าขนส่งที่ยืนสูง โดยต้นทุนค่าระวางเรือในปี 2567-68 ยังอยู่ในระดับสูง เมื่อเทียบกับปี 2566 จากความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์โลก กระทบต่อการส่งออก
3) ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงปี 2567-68 ทําให้การแข่งขันด้านราคามีแรง กดดันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ต้นทุนวัตถุดิบจะเพิ่ม แต่ผู้ผลิตยังสามารถปรับราคาขายได้ รวมทั้งมีการเพิ่มสัดส่วนสินค้าที่มีอัตรากําไรสูง ทําให้กําไรของธุรกิจยังมีแนวโน้มเติบโตดี
ในด้าน ESG ผู้ประกอบการผลิตเครื่องปรุงรสทั้งต่างชาติและไทย ตั้งเป้าหมายในการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในระยะ 15-30 ปีข้างหน้า
โดยปัจจุบันมีการปรับปรุง การผลิตเพื่อลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยของเสีย และมีการนําของเสียที่ได้จาก กระบวนการผลิตมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงได้มีการพัฒนาเครื่องปรุงรสที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ เครื่องปรุงรสออร์แกนิก หรือเครื่องปรุงรสมังสวิรัติ
โฆษณา