20 พ.ย. เวลา 11:21 • ข่าว

ศาลสั่งประหารฯ "แอม ไซยาไนด์" บทสรุปฆาตกรต่อเนื่อง

ศาลอาญา นัดฟังคำพิพากษา “แอม ไซยาไนด์”, อดีตสามีนายตำรวจ และทนายพัช คดีวางยาฆ่าผู้อื่นที่ใส่สารไซยาไนด์ ฆ่าเพื่อนชิงทรัพย์ โดยพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 และมารดาผู้เสียชีวิตร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้อง พร้อมเรียกค่าเสียหาย จำนวน 30 ล้านบาท ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า “แอม ไซยาไนด์” จำเลยที่ 1 เห็นเหตุการณ์ขณะ “ก้อย” ผู้เสียชีวิตที่บริเวณท่าน้ำตลอด ไม่มีท่าทีตกใจ กระวนกระวาย ผิดวิสัยคนเป็นเพื่อน และไม่ช่วยเหลือทันที แต่กลับเดินไปหยิบของบางอย่างในรถ แสดงให้เห็นเจตนาว่ารู้ลำดับเหตุการณ์จะเกิดอะไรขี้น
ส่วนตัวอย่างเลือดของผู้เสียชีวิต พบว่ามีสารพิษไซยาไนด์ในร่างกายของผู้ตาย ทั้งเลือด กระเพาะอาหาร ตับ ในระดับรุนแรง ทำให้เกิดอันตราย ส่งผลกระทบต่อโลหิต การหายใจ ระบบประสาท ทำให้ถึงแก่ความตาย การพิสูจน์เรื่องเวลาการออกฤทธิ์ของไซยาไนด์ จากผู้เชี่ยวชาญ เชื่อได้ว่าผู้ตายถูกให้กินไซยาไนด์ตั้งแต่อยู่ในรถและมีอาการก่อนลงรถไปบริเวณท่าน้ำ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ศาลวิเคราห์แล้วว่า พยานหลักฐานต่างๆ ที่จำเลยโต้แย้งมาไม่สามารถหักล้างได้ ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิต “แอม ไซยาไนด์” ส่วนอดีตสามี คุก 2 ปี เแต่ให้การเป็นประโยชน์ ลดโทษให้ 1ใน 3 คงเหลือจำคุก 1 ปี 4 เดือน ส่วน “ทนายพัช” คุก 2 ปี ไม่รอลงอาญา ชดใช้ ให้ผู้เสียหายกว่า 2 ล้านบาท
แม้คดีจะถึงที่สุดแล้ว แต่ชื่อของ "แอม ไซยาไนด์" จะเป็นที่พูดอีกถึงตราบนานเท่านาน ในฐานะสัญลักษณ์อันเป็นพฤติการของ "ฆาตกรต่อเนื่อง"
ฆาตกรต่อเนื่อง (serial killer) จากเว็บไซต์ห้องสมุดสุขภาพจิต ของกระทรวงสาธารณสุข ได้อ้างคำนิยามจากสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐอเมริกา หรือ FBI ว่าหมายถึง ฆาตกรที่ฆ่าคนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่อสนองความต้องการ หรือความพึงพอใจทางจิตใจ โดยจะมีช่วงว่างเว้นระหว่างเหยื่อแต่ละราย ซึ่งต่างจากฆาตกรรมหมู่ที่จะสังหารบุคคลหลาย ๆ คนในคราวเดียวกัน
ฆาตกรต่อเนื่องส่วนใหญ่เป็นการกระทำของบุคคลเดียว แรงจูงใจในการกระทำความผิด อาจมีได้ตั้งแต่
- ความโกรธ
- แสวงหาความตื่นเต้น
- ผลประโยชน์ทางการเงิน
- การเรียกร้องความสนใจ
ผู้ที่เป็นฆาตกรต่อเนื่องมักจะมีลักษณะพฤติกรรมร่วมกัน 4 อย่าง คือ
1.ใช้วิธีการฆ่าเหมือนกันทุกราย
2. เป็นการฆ่าที่ไม่มีเหตุผล เหยื่อกับฆาตกรไม่มีความสัมพันธ์กันเลย
3. มีแผนฆ่าและเลือกบุคลิกลักษณะของเหยื่อที่เฉพาะ
4. เป็นกลุ่มคนที่มีปัญหาทางจิต แต่ไม่ได้เป็นโรคจิต หรือจิตเภท ที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ เพียงแค่มีความผิดปกติทางจิตใจเท่านั้น
ผู้ที่เป็นฆาตกรต่อเนื่องส่วนมากจะเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมที่ตัดขาดจากสังคมภายนอก (Antisocial Personality Disorder) แต่ไม่ได้ป่วยเป็นโรคจิต หรือวิกลจริตอย่างที่หลายคนเข้าใจ เพราะในทางกฎหมาย คนวิกลจริต คือ คนที่ไม่มีความสามารถในการไตร่ตรองถึงผลกระทบของการกระทำ ไม่รู้สึกเห็นอกเห็นใจเหยื่อ โกหก และลงมือฆ่าเพื่อความสุข ความน่ากลัวของฆาตกรต่อเนื่อง คือ ดูภายนอกเหมือนคนปกติทั่วไปจนแยกไม่ออก แต่ภายในจิตใจซุกซ่อนความดำมืดไว้
1
ผู้ที่เป็นฆาตกรต่อเนื่อง จึงมีความน่ากลัว เพราะคนส่วนใหญ่มักจะดูไม่ออก เนื่องจากดูภายนอกเหมือนคนปกติทั่วไป อาจมีความแตกต่างบ้าง เช่น เก็บตัว ไม่เข้าสังคม นอกจากนี้ การเป็นฆาตกรต่อเนื่อง ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน การรักษาด้วยยาจึงไม่ได้ผล ต้องใช้การบำบัด และรักษาจากประวัติของแต่ละคนเป็นราย ๆ ไป เพราะไม่รู้ว่าจิตใจของเขาเคยถูกกระทำอะไรมาบ้าง และอะไรคือสิ่งที่กระตุ้นให้เขาทำแบบนั้น
อ้างอิง
2. ห้องสมุดสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, กรมสุขภาพจิต, iStrong Mental Health
โฆษณา