24 พ.ย. เวลา 01:30 • สุขภาพ

ตั้งแต่เล็กจนโต

พวกเราหลายคนถูกสอนว่า
เราไม่ควรตัดสินผู้อื่น
แต่พอถึงเวลาเข้าจริงๆ
มันไม่ง่ายเลยครับ
ที่เราจะปฏิบัติตามคำสอนนั้นได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่คนอื่นมี
คำพูดหรือพฤติกรรมที่ “ไม่เข้าท่า” อย่างแรง
แต่ถึงการไม่ตัดสินคนอื่นจะไม่ใช่เรื่องง่าย
สิ่งหนึ่งที่อาจทำให้มันง่ายขึ้นคือการที่เรา
เจียดเวลาให้กับการหมั่นสังเกตดู
ความคิดความรู้สึกที่ปรากฏขึ้นมาในใจเราเป็นระยะๆ
เพราะเมื่อเราหมั่นสังเกตดูความคิดความรู้สึก
ที่ปรากฏขึ้นมาในใจเราเป็นระยะๆ เราก็จะเห็นได้ว่า
หลายครั้ง ความคิดความรู้สึกที่ปรากฏขึ้นมาในใจเรา
ก็เป็นความคิดความรู้สึกที่ “ไม่เข้าท่า” อยู่เหมือนกัน
เพราะในที่สุดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นตัวเราหรือตัวผู้อื่น
พวกเราก็ล้วนแล้วแต่เป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วย
ความ “ไม่สมบูรณ์แบบ” กันทั้งสิ้น
มันจะทำให้เราเกิดมุมมองหรือความคิดขึ้นมาว่า
“ความ “ไม่เข้าท่า” ที่ฉันเห็นในตัวคนอื่นนั้น
มันก็ปรากฏอยู่ในตัวฉันเหมือนกัน ฉะนั้น
ฉันเป็นใครกันจึงจะกล้าวางตัวเหนือคนอื่นและไปตัดสินเขา?”
พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ ประสบการณ์การหมั่นสังเกตดู
ใจตัวเองมีแนวโน้มที่จะทำให้เราเป็นคนที่ถ่อมตัวมากขึ้น
และเมื่อเราถ่อมตัวมากขึ้น เราก็มีแนวโน้มที่จะตัดสิน
คนอื่นน้อยลง (โดยอัตโนมัติ) ตามลำดับนั่นเองครับ
อ้างอิง
Allen, N. B., & Knight, W. E.J. (2005). Mindfulness, compassion for self, and compassion for others: Implications for understanding the psychopathology and treatment of depression. In P. Gilbert (Ed.), Compassion: Conceptualisations, research and use in psychotherapy (pp. 239–262). Routledge.
โฆษณา