วันนี้ เวลา 05:19 • ความคิดเห็น
พอได้อ่านคำตอบอื่นๆ, เราก็กลับไปอ่านรายละเอียดของคำถามซ้ำอีกครั้ง
ขอตอบเพิ่มเติมนะครับ
เจอคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนพูดไม่ดี จึงตัดสินใจพูดน้อยๆ ตั้งใจรักษาศีล
ก็คือ "การนิ่ง" ในสถานะการณ์บางอย่าง ถือว่าดีแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่พูดเลยนะครับ เดี๋ยวมีปัญหากับสังคม จะทุกข์หนักเข้าไปอีก
*การพูดคุยในเรื่องที่ควร ก็มีประโยชน์เหมือนกัน
ส่วนการมีศีลนั้น ถือว่าดีมาก
แต่อยากจะบอกเสริมว่า การถือศีล, สำรวม
เป็นเพียงก้าวแรกของการปฏิบัติเท่านั้นเอง ยังต้องไปต่ออีกไกลครับ
*ไม่ใช่ว่า แค่ถือศีลแล้วจะบรรลุได้
ถือโอกาสทำสรุปไว้ดังนี้ครับ
การฝึก "ตามลำดับ"
"...พราหมณ์เอย! ตถาคตครั้นได้
"บุรุษที่พอฝึกได้" มาแล้ว ในขั้นแรกย่อมแนะนําอย่างนี้ก่อนว่า
๑.จงเป็นผู้มีศีล สํารวมด้วยดีในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นเป็นภัยแม้ในโทษที่เล็กน้อย
จงสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย
๒.จงเป็นผู้สำรวมในอินทรีย์ทั้งหลาย
(จักขุอินทรีย์คือตา, โสตินทรีย์คือหู, ฆานินทรีย์คือจมูก, ชิวหาอินทรีย์คือลิ้น, กายินทรีย์คือกาย, และมนินทรีย์คือใจ)
๓.จงเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอยู่เสมอ
๔.จงประกอบความเพียรในธรรมเป็นเครื่องตื่น, ไม่หลับ, ไม่ง่วง, ไม่มึนชา
๕.จงชําระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากอาวรณิยธรรมทั้งหลาย (อาวรณ์)
๖.จงเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ รู้ตัวรอบคอบ
๗.จงเสพเสนาสนะอันสงัด นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรงดํารงสติเฉพาะหน้า
(กาย: ต้องไม่หลับหู, ไม่หลับตา, ไม่หลับใจ)
.ละอภิชฌาในโลก มีจิตปราศจากอภิชฌา
คอยชำระจิตจากอภิชฌา
.ละพยาบาท มีจิตปราศจากพยาบาท
.ละถีนะมิทธะ มุ่งอยู่แต่ความสว่างในใจ มีจิตปราศจากถีนะมิทธะ มีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัว
คอยชําระจิตจากถีนมิทธะ
.ละอุทธัจจะกุกกุจจะ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบอยู่ในภายใน
คอยชําระจิตจากอุทธัจจะกุกกุจจะ
.ละวิจิกิจฉา ข้ามล่วงวิจิกิจฉาเสียได้ ไม่ต้องกล่าวว่า "นี่อะไร? นี่อย่างไร?" ในกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะความสงสัย
คอยชําระจิตจากวิจิกิจฉา
๘.ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการ (ข้อความข้างบน) อันเป็นเครื่องเศร้าหมองจิต ทําปัญญาให้ถอยกําลังได้แล้ว
๙.เพราะสงัดจากกามและสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงบรรลุฌานที่ ๑ มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่
๑๐.เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสในภายใน เป็นที่เกิดสมาธิแห่งใจ ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่
๑๑.เพราะความจางแห่งปีติ ย่อมอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นอยู่อุเบกขามีสติ อยู่เป็นสุข
๑๒.เพราะละสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึงได้บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุขมีแต่ความที่มีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาแล้วแลอยู่
พราหมณ์เอย! ภิกษุเหล่าใดที่ยังเป็นเสขะ คือยังต้องทําต่อไป ยังไม่บรรลุอรหัตตมรรคยังปรารถนานิพพาน อันเป็นที่เกษมจากโยคะ ไม่มีอื่นยิ่งไปกว่าอยู่ คำสอนที่กล่าวมานี้แหละ เป็นคำสอนสำหรับภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น
ส่วนภิกษุเหล่าใด เป็นอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว จบพรหมจรรย์แล้วทํากิจที่ต้องทําสําเร็จแล้ว มีภาระอันปลงได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันได้บรรลุถึงแล้ว มีสัญโญชน์ในภพสิ้นไปรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบแล้ว, ธรรมทั้งหลายในคําสอนเหล่านี้ เป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมและเพื่อสติสัมปชัญญะ แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านี้ด้วย"
อ้างอิง
ทรงมีหลักเกณฑ์การฝึก "ตามลำดับ" อย่างย่อ
(เสียงธรรมโดย อ.อาจิต โตเกียรติรุ่งเรือง)
โฆษณา