21 พ.ย. เวลา 10:59 • การเมือง

คำสั่งศาลโลกคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ชาวปาเลสไตน์

กล่าวถึงกรณีการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) หรือศาลโลก ตามคำฟ้องของแอฟริกาใต้ ที่กล่าวหาว่ารัฐอิสราเอลละเมิดพันธกรณีของตนตามอนุสัญญาว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ว่าอาจช่วยคุ้มครองพลเรือนชาวปาเลสไตน์ ช่วยยุติหายนะด้านมนุษยธรรมที่เกิดจากมนุษย์ในฉนวนกาซาที่ถูกยึดครอง และให้ความหวังอยู่บ้างที่จะเกิดความยุติธรรมระหว่างประเทศ
แอฟริกาใต้ได้ยื่นคำฟ้องกล่าวหาว่า การปฏิบัติและการงดเว้นการปฏิบัติของอิสราเอลที่มีต่อชาวปาเลสไตน์ในกาซา ภายหลังการโจมตีของกลุ่มฮามาสและกลุ่มติดอาวุธอื่นๆ เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566 มีลักษณะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คำฟ้องของแอฟริกาใต้กระตุ้นให้รัฐสั่งการให้มี “คำสั่งคุ้มครองชั่วคราว”
เพื่อคุ้มครองชาวปาเลสไตน์ในกาซา รวมทั้งเรียกร้องอิสราเอลให้ยุติการโจมตีทางทหารโดยทันที ซึ่ง “ถือเป็นหรือส่งเสริมให้เกิดการละเมิดต่ออนุสัญญาว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” และให้ยกเลิกมาตรการที่เกี่ยวข้องที่เป็นส่วนหนึ่งของการลงโทษแบบกลุ่มและการบังคับให้โยกย้ายถิ่นฐาน การไต่สวนเบื้องต้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่กรุงเฮก มีขึ้นในวันที่ 11-12 มกราคมนี้
ขณะที่แอฟริกาใต้เรียกคำสั่งศาลว่าเป็น “ชัยชนะขั้นเด็ดขาด” สำหรับหลักนิติธรรมสากล  ด้านอิสราเอลโต้ว่า ข้อกล่าวหาของแอฟริกาใต้  เป็นเท็จ
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลไม่ได้จำแนกว่า สถานการณ์ในกาซารุนแรงถึงขั้นเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ดี มีสัญญาณเตือนที่น่าตกใจเมื่อคำนึงถึงจำนวนผู้เสียชีวิตและการทำลายล้างอย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นเหตุให้มีชาวปาเลสไตน์ถูกสังหารกว่า 23,000 คนในช่วงเวลาเพียงสามเดือนเศษ และยังมีผู้สูญหายอีกกว่า 10,000 คนภายใต้ซากปรักหักพัง
ซึ่งคาดว่าอาจเสียชีวิตแล้ว รวมทั้งการใช้วาทกรรมที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรีของมนุษย์และเหยียดเชื้อชาติต่อชาวปาเลสไตน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและกองทัพอิสราเอลบางส่วน นอกจากนั้น การปิดล้อมกาซาอย่างผิดกฎหมายของอิสราเอล ส่งผลให้ประชากรพลเรือนถูกตัดขาด หรือแทบไม่สามารถเข้าถึงน้ำ อาหาร ความช่วยเหลือด้านเวชภัณฑ์ และเชื้อเพลิง ยิ่งทำให้เกิดความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความอยู่รอดของประชาชนในกาซา
แอกเนส คาลามาร์ด เลขาธิการ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เผยว่า เรายังมองไม่เห็นจุดสิ้นสุดของความทุกข์ยากต่อมนุษย์ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง หายนะและการทำลายล้างที่เราได้พบเห็นทุกชั่วโมงในกาซา ความเสี่ยงที่กาซาจะถูกเปลี่ยนจากเรือนจำในที่โล่งแจ้งใหญ่สุด ให้กลายเป็นหลุมศพขนาดใหญ่ กำลังเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมท่ามกลางสายตาของเรา
“ในขณะที่สหรัฐอเมริกายังคงใช้อำนาจของตน เพื่อวีโต้ข้อมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่เรียกร้องให้มีการหยุดยิง อาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมต่อมนุษยชาติได้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยมีความเสี่ยงอย่างแท้จริงว่าจะเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ รัฐต่างๆ "
"มีพันธกรณีเชิงบวกที่จะป้องกันและลงโทษการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และอาชญากรรมที่ทารุณอย่างอื่น การไต่สวนการปฏิบัติของอิสราเอลในการพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เป็นขั้นตอนสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อคุ้มครองชีวิตชาวปาเลสไตน์ เพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือต่อการใช้กฎหมายระหว่างประเทศในระดับสากล และปูทางไปสู่ความยุติธรรมและการเยียวยาต่อผู้เสียหาย”
รัฐทุกแห่งมีพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่จะต้องป้องกันการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตามอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษความผิดอาญาฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ พ.ศ. 2491 และตามคำวินิจฉัยก่อนหน้านี้ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตามหลักกฎหมายจารีตประเพณี หมายถึงว่ารัฐทุกแห่งมีพันธกรณีที่จะต้องป้องกัน รวมทั้งรัฐซึ่งไม่ได้เป็นรัฐภาคีต่ออนุสัญญานี้ด้วย ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 คณะผู้ชำนาญการแห่งสหประชาชาติเตือนว่า “กำลังเกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” ในเขตยึดครองปาเลสไตน์ และโดยเฉพาะในกาซา
ขณะที่แอฟริกาใต้เรียกคำสั่งศาลว่าเป็น “ชัยชนะขั้นเด็ดขาด” สำหรับหลักนิติธรรมสากล
ขณะที่แอฟริกาใต้เรียกคำสั่งศาลว่าเป็น “ชัยชนะขั้นเด็ดขาด”
ด้านอิสราเอลโต้ว่า ข้อกล่าวหาของแอฟริกาใต้ “เป็นเท็จ” และ “บิดเบือนอย่างร้ายแรง” โดยบอกว่าปฏิบติการของกองกำลังอิสราเอลเป็นการทำหน้าที่ป้องกันตนเองจากศัตรูที่โจมตีก่อน และเป็นการพยายามอย่างเต็มที่เพื่อปกป้องพลเรือน
ส่วนสหรัฐที่เป็นผู้สนับสนุนหลักของอิสราเอลตั้งข้อสังเกตว่า คำตัดสินดังกล่าวไม่ได้พิพากษาเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และกล่าวว่าคำตัดสินดังกล่าวสอดคล้องกับมุมมองของสหรัฐที่ว่า อิสราเอลมีสิทธิที่จะดำเนินการตามกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันการโจมตีซ้ำจากการโจมตีอิสราเอลโดยฮามาส
#เเอฟริกาใต้ #อิสราเอล #สงคราม #อาหรับ #ICJ #ศาลยุติธรรมโลก
เรียบเรียง โดย อาจารย์ต้นสัก สนิทนาม
โฆษณา