Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
JKA JEN
•
ติดตาม
21 พ.ย. เวลา 13:51 • การเมือง
เราบวชเพื่ออะไรกันแน่ ?
วันนี้เราได้มีโอกาสตามคนรู้จัก
ไปวัดดังวัดหนึ่งย่านธนบุรี
แล้วคนรู้จักเราบอกกับพระสงฆ์รูปนึงว่า
"พระอาจารย์ผมอยากเลื่อนตำแหน่งแล้ว
จะได้ขยับเป็นนายพล" พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์
กล่าวว่า "เดี๋ยวอาตมาเจอโยมท่านจะคุยให้นะ"
เรารู้สึกว่าพระสงฆ์ไทยล็อบบี้ตำแหน่งทางทหาร
หรือพูดคุยเพื่อช่วยเลื่อนตำแหน่งใดๆในราชการ
ได้หรอ ? พระสงฆ์ใช้อำนาจในทางแบบนี้ได้หรือ ?
การบวชในศาสนาพุทธ ไม่ว่าจะนิกายใดก็ตามแต่
เราบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนา
เพื่อ ศึกษาพระธรรม และ แสวงหาทางหลุดพ้น
พระสงฆ์ที่บวชในศาสนาพุทธของไทยนั้น
ต้องละทางโลก ต้องละซึ่งกิเลส ราคะ และ ตัณหา
เป็นแบบอย่างที่ดีของพุทธศาสนิกชนคนไทย
การละกิเลสและละทางโลกเป็นหลักธรรมสำคัญ
ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
และเป็นสิ่งที่พระสงฆ์ทุกรูปพึงปฏิบัติตาม
อย่างเคร่งครัด เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย
สูงสุดของพระพุทธศาสนา
แต่ในปัจจุบันเราได้เห็นข่าวพระสงฆ์ที่ปฏิบัติตน
ไม่เป็นแบบอย่างให้พุทธศาสนิกชนเป็นแบบอย่าง
ไม่ละซึ่งกิเลส ลุ่มหลงมัวเมาในลาภ ยศ เงิน และ ราคะ
ถึงแม้ว่า "สมณศักดิ์" จะเป็นตำแหน่งในคณะสงฆ์ของไทย
ซึ่งพระมหากษัตริย์ไทยทรงแต่งตั้งให้ปกครองคณะสงฆ์
ซึ่งพระสงฆ์ผู้ทรงสมณศักดิ์จะได้เงินที่เรียกว่า "เงินนิตยภัต"
ได้มากหรือน้อยก็แล้วแต่สมณศักดิ์ว่าจะน้อยหรือสูง
ยิ่งหากเป็นพระสงฆ์ที่สมณศักดิ์สูงระดับพระราชาคณะ
ก็จะได้เยอะ นี่ยังไม่นับเงินที่โยมทั้งหลายถวายเป็นปัจจัย
เราจึงเกิดคำถามว่า ปัจจุบันเราบวชเพื่ออะไรกันแน่ ?
บวชเพื่อความสบายใจของพ่อแม่ เพื่อหนีคดี
บวชเพื่อให้ได้สมณศักดิ์ หรือ เพื่อการหลุดพ้น
ของกิเลสทั้งปวง ?
ไม่แน่ใจว่าในปัจจุบันนี้นักเรียนไทยตั้งแต่ประถมขึ้นไป
ยังคงเรียนวิชาพระพุทธศาสนาอยู่หรือไม่ในปัจจุบัน
แต่เราเคยศึกษาคำสอนของศาสนาพุทธในไทย
คำสอนที่เด่นๆเลยคือ อริยสัจจ์ 4 และ ศีล สมาธิ ปัญญา
อริยสัจจ์ 4 ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
โดยเฉพาะสมุทัยที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้น ก็คือ
ตัณหาหรือกิเลสนั่นเอง การเข้าใจอริยสัจจ์
จะนำไปสู่การดับทุกข์ได้
ส่วน ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติธรรม
ศีลจะช่วยให้เราละเว้นจากการทำความชั่ว
สมาธิจะช่วยให้จิตใจสงบ
และปัญญาจะช่วยให้เราเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่างๆ
และละวางกิเลสได้
ซึ่งเรามานั่งคิดว่าแค่คำสอนเหล่านี้คนไทยส่วนใหญ่
ยังจะทำแทบไม่ได้เลยต่อให้เข้าวัดทำบุญแค่ไหน
หน้า FB โพสต์ทำบุญ คำคมธรรมะให้สงบจิตสงบใจ
แต่ความจริงนั้นชอบเบียดเบียนผู้อื่น
เอาทุกวันนี้ ศีล 5 ข้อ คนไทยสามารถทำได้ครบมั้ย
จับมานั่งท่องแบบไม่ต้องมีหนังสือบทสวดมนต์สิ
จะท่องศีล 5 ได้อยู่หรือไม่ ?
1.ปาณาติปาตา เวระมะณี : ละเว้นการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต
หรือละเว้นการทำร้ายร่างกายผู้อื่น
2.อะทินนาทานา เวระมะณี : ละเว้นจากการลักทรัพย์
3.กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี : เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
ไม่นอกใจคู่ครอง หรือการล่วงละเมิดทางเพศ
4.มุสาวาทา เวระมะณี : ละเว้นไว้ซึ่งการพูดปด หรือ โกหก
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
5.สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี :
ละเว้นจากการดื่มสุรา เมรัย ซึ่งทำให้เกิดความประมาท
ที่กล่าวมาทั้ง 5 ข้อคนไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนทำได้ครบมั้ย ?
ขนาดพระบางรูปยังรักษา ศีล 227 ข้อ ได้ไม่ครบเลย
พระพุทธเจ้าก่อนจะเสด็จดับขันธ์ปริพนิพพาน
ได้กล่าวปัจฉิมโอวาทไว้ว่า
"วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ"
" สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
ท่านทั้งหลายจง ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น
ให้ถึงพร้อม ด้วยความไม่ประมาทเถิด "
ศาสนาพุทธถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือไม่ ?
คนไทยชอบบอกว่าเมืองไทยเป็นเมืองพุทธ
แต่ทำไมในประเทศไทยถึงยังมีหลากหลายศาสนา
แต่ทำไมรัฐไทยถึงพยายามให้ศาสนาพุทธเป็น
ศาสนาประจำชาติ ? ทั้งๆที่จริงไทยเป็น พหุวัฒนธรรม
โดยเฉพาะการงดขาย ดื่ม ซื้อเครื่องดื่มมึนเมา
ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาของไทย
ทั้งๆที่คนไทยอีกหลายคนที่ไม่ได้นับถือพุทธ
หรือนักท่องเที่ยวเองก็ดี
แต่การที่บอกว่าไทยเป็นเมืองพุทธนั้นยากจะเชื่อ
เพราะข่าวทำร้ายกัน เป็นชู้กัน เมาแล้วขับ
ทำไมถึงยังมีให้เห็นอยู่หน้าข่าวในทุกๆวัน
การบวชที่เราเห็นในปัจจุบันนั้นบวชเพื่อละทางโลกจริงหรือ ?
หรือ บวชเพราะจะได้ให้พ่อแม่สบายใจ บวชเพราะเพญจเพศ
บวชเพราะหนีคดี แต่ใดๆก็แล้วแต่การบวชนั้นจะต้องได้รับ
การยินยอมจากบิดามารดา และ เราต้องเต็มใจที่จะบวชจริงๆ
หากแต่หลายครอบครัวบังคับร้องขอให้ลูกชายตนเองบวช
ไม่ว่าจะเพราะอยากเกาะชายผ้าเหลือง หรือ บวชหน้าไฟ ก็ดี
แต่ถ้าหากผู้ที่บวชมิได้เต็มใจที่จะบวชก็คงไม่ได้ประโยชน์อะไร
การบวชแบบบังคับควรยกเลิกหรือไม่ ?
แล้วทุกวันนี้เราบวชเพื่ออะไรกันแน่ ?
เอวัง ก็มีประการฉะนี้
blockdit
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย