9 ชั่วโมงที่แล้ว • ธุรกิจ

“404 Page Not Found” ปัญหาที่ใคร ๆ ก็เคยเจอ

มาหาคำตอบกันว่าทำไมลิงก์เว็บไซต์ของเราหรือเว็บที่เรากดเข้าไปดู ถึงแจ้งเตือนขึ้นมาเหมือนไม่มีหน้าเว็บนั้นอยู่..!?
.
เริ่มจากการทำความรู้จัก Error Code ในชื่อ 404 Status Code กันก่อน
รหัส 404 Status Code คือ หมายเลขอินเตอร์เน็ตหนึ่งใน HTTP Status Code ที่แสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีปัญหาการเข้าใช้งานหน้าเว็บไซต์ โดยเมื่อเรากดเข้าไปบนหน้าเว็บไซต์แล้วมีข้อความแจ้งเตือนว่า 404 Not Found หรือ Error 404 คือสถานะที่เซิร์ฟเวอร์ไม่พบหน้าเว็บที่ผู้ใช้พยายามเข้าถึง
ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การลบหน้าเว็บออกไป, การเปลี่ยน URL โดยไม่ทำการเปลี่ยนเส้นทางใหม่, หรือการไม่ได้อัปเดตฐานข้อมูลหลังจากมีการย้ายโดเมน ทำให้ลิงก์ที่เคยใช้งานอยู่กลายเป็นลิงก์ที่เสียหรือ "broken link" ซึ่งจะทำให้เกิดประสบการณ์ที่ไม่ดีต่อผู้ใช้งาน และส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเว็บไซต์ E-Commerce
เปิดสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาหน้าเว็บขึ้นแจ้งเตือน 404 Page Not Found
1. การปรับเปลี่ยนชื่อ URL จากลิงก์เดิมที่เคยสร้างมาก่อนและติดอันดับบน Google เรียบร้อยแล้ว ส่งผลให้ลิงก์เก่าที่เคยมีมาก่อนกลายเป็นลิงก์เสีย เมื่อคลิกที่ลิงก์แล้วจะขึ้นแจ้งเป็น Error 404 นั่นเอง
2. เกิดจากการลบหน้าเพจ โดยเฉพาะบนเว็บไซต์ด้าน E-Commerce ที่มีการปรับเปลี่ยนสินค้า หรือยกเลิกการขายสินค้านั้น ๆ ไป ส่งผลให้ลิงก์เดิมกลายเป็นลิงก์เสีย และขึ้นแจ้งเตือน 404 Page Not Found หรือ Error 404 ทันที ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจหรือทางด้านการขายได้นั่นเอง
3. เลือก Web Hosting ที่ไม่สามารถซับพอร์ทเว็บไซต์ได้ จนทำให้เกิดเป็นลิงก์เสีย โดยอาจสามารถเข้าเว็บไซต์หน้าแรกได้ แต่เมื่อคลิกไปดูเนื้อหาหน้าอื่น ๆ ภายในเว็บ จะขึ้นแจ้งเตือน 404 Page Not Found ดังนั้นจึงควรเลือกใช้ Web Hosting ที่รองรับ CMS (Content Management System) ที่เราเลือกใช้ในการสร้างเว็บนั่นเอง
4. การไม่อัปเดต Database ทุกครั้งที่มีการแก้ไข อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดเป็นลิงก์เสียได้ ดังนั้นทุกครั้งที่มีการย้ายข้อมูลบนเว็บไซต์จากโดเมนเก่า ไปยังโดเมนใหม่ ต้องทำการอัปเดต Database ทุกครั้ง เพื่อป้องกันปัญหา 404 Page Not Found หรือ Error 404
ถามว่าการเกิดปัญหา 404 Page Not Found กระทบต่อการทำ SEO หรือไม่ !?
การที่เกิดปัญหาลิงก์เสียและขึ้นแจ้งเตือน 404 Page Not Found อาจไม่ได้ส่งผลเสียต่อการทำ SEO หรือการจัดอันดับของเว็บไซต์โดยตรง แต่ก็กระทบต่อการประสิทธิภาพของการทำ SEO ซึ่งอาจสร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มลูกค้าหรือ Target Group ที่กดเข้าลิงก์แล้วมาเจอกับปัญหานี้
นอกจากนี้ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ตัวเว็บไซต์ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งอาจทำให้ตัวเว็บไม่ได้รับการจัดอันดับ SEO แบบที่ควรจะเป็น และยังอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าโฆษณาหากมีการชี้ลิงก์โฆษณาไปยังหน้า 404 ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงได้ ทำให้เว็บของคุณหลุดจากอันดับการค้นหาที่อยู่ช่วงต้น ๆ อีกด้วย
เปิด 3 วิธี ช่วยตรวจสอบให้แน่ใจว่าหน้าเว็บของคุณไม่ได้เป็นลิงก์เสีย จนขึ้น 404 Page Not Found
วิธีที่ 1 Google Search Console
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของเว็บไซต์ โดยสามารถเช็กหน้า 404 ได้ในส่วนของ "Coverage" เมื่อเข้าหน้านี้แล้วจะเห็นรายงานเกี่ยวกับ "Soft 404" หรือหน้าที่ไม่พบ URL ซึ่งจะแสดงลิงก์ที่มีปัญหาออกมา ทำให้สามารถแก้ไขได้ตรงจุด
วิธีที่ 2 การใช้เครื่องมือ SEO ช่วยตรวจสอบ
โดยมีหลายเครื่องมือที่ช่วยในการตรวจสอบหน้า 404 เช่น Screaming Frog, Sitechecker, และ Ubersuggest เครื่องมือเหล่านี้จะทำการสแกนเว็บไซต์ทั้งหมดและแจ้งลิงก์ที่เกิดข้อผิดพลาด 404 ช่วยให้แก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีที่ 3 ตรวจสอบด้วยตนเอง
หากทราบ URL ที่อาจเกิดปัญหา สามารถทดสอบด้วยการพิมพ์ URL ลงในเบราว์เซอร์ หรือใช้คำค้นหาใน Google เพื่อดูว่า URL นั้นยังใช้งานได้หรือไม่ การรีเฟรชหรือแก้ไข URL ที่ผิดพลาด เช่น ตรวจสอบตัวอักษรและตัวเลขที่อาจพิมพ์ผิด ก็เป็นวิธีที่ช่วยลดข้อผิดพลาดได้
การตรวจสอบหน้า 404 Page Not Found เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้งาน และยังส่งผลดีต่อการทำ SEO ของเว็บไซต์ หากมีหน้า 404 ขึ้นมาบ่อย ๆ อาจทำให้เว็บไซต์ถูกจัดอันดับต่ำลงในผลการค้นหาของ Google ได้ !
#BBO3 #thebigblueocean #digitaltransformation #transformationbuddy
#404PageNotFound #404Error #เว็บไซต์
โฆษณา