22 พ.ย. เวลา 02:33 • หุ้น & เศรษฐกิจ

วางแผนการลงทุนรับมือภาวะเงินเฟ้อ ให้อยู่รอดได้อย่างเป็นสุข

เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ ภาวะที่ไม่อาจเลี่ยงได้คือสถานการณ์เงินเฟ้อ ภายในงาน Thailand Blockchain Week 2024 ได้มีการบรรยายให้หัวข้อ “ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ การลงทุนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริงหรือ” โดยพีระสิทธิ์ จิวะพงศ์ CEO Merkle Capital ชยนนท์ รักกาญจนันท์ CEO Finnomena Funds และ จักรพงษ์ เมษพันธุ์ The Money Coach แบ่งปันมุมมองการลงทุนและเตรียมความพร้อมในการรับมือภาวะเงินเฟ้อ
ในสถานการณ์เงินเฟ้อ ถ้าเกิดว่าเราถือเงินสดไว้เฉย ๆ แบบที่ตามองเห็นมูลค่าจะลดลงประมาณปีละ 3% การวางแผนชีวิตและรู้จักการลงทุนจะทำให้ชนะเงินเฟ้อได้ แต่ละคนจะประสบกับสถานการณ์เงินเฟ้อที่แตกต่างกันตามรูปแบบการใช้ชีวิต แต่สิ่งที่ทุกคนควรเตรียมพร้อมเหมือนกันคือ การวางแผนการลงทุนเพื่อรับมือกับภาวะเงินเฟ้อที่กำลังจะเกิดขึ้น ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นสุขและมั่นคง
การลงทุนจะทำให้อยู่รอดในภาวะเงินเฟ้อ?
จักรพงษ์ เมษพันธุ์ The Money Coach กล่าวว่า การลงทุนมีความเสี่ยง แต่ไม่ลงทุนเสี่ยงกว่า เพราะภาวะเงินเฟ้อเวลาที่จะลงทุนต้องลงทุนแบบเข้าใจ การลงทุนที่ผิดพลาดอาจจะทำให้ได้รับผลกระทบมากกว่าเงินเฟ้อ โจทย์ที่ต้องมองไปไกลๆคือ การที่เราทำงานอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง สุดท้ายเราต้องทำงานเพื่อเปลี่ยนทุนมนุษย์ให้กลายเป็นทุนเงิน
ในช่วงอายุตั้งแต่ 20 จนถึง 60 ปีเรายังมีแรงทำงานหาเงินได้ หากหาเงินได้เยอะชนะเงินเฟ้อได้แน่นอน แต่ถึงจุดหนึ่งเราจะไม่มีคนทำงาน เราจะไม่มีแรง ไม่มี passion เหมือนเดิม เมื่อถึงเวลานั้นที่เราต้องหยุดทำงาน หยุดหารายได้ ไม่ว่าจะด้วยตัวงาน passion หรือว่าสุขภาพ เราต้องมีทุนมากพอที่จะเลี้ยงตัวของเราต่อไปได้ การโฟกัสกับการลงทุนเพื่อเปลี่ยนทุนมนุษย์ของตัวเอง เราจะได้พักและใช้เงินเลี้ยงตัวเราเองในอนาคต
ปัจจุบันผลตอบแทนจากการออมเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้เสมอไป เราอาจจะไม่ต้องมาตั้งคำถามว่า เงินเฟ้อน่ากลัวไหม? เงินเฟ้ออันตรายหรือเปล่า? ถ้าเกิดว่าวันหนึ่งเราจะต้องหยุดทำงาน เงินที่เราเก็บสะสมมาต้องสามารถดูแลตัวเองได้ การลงทุนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เวลาลงทุนเราจะไม่ได้คาดหวังสูง
เรื่องสำคัญคือ always invest ลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อได้เงินต้องนำมาลงทุนส่วนหนึ่งแล้วถือไว้บ้างบางส่วนเผื่อมีจังหวะดีๆ หากไม่ได้เก่งด้านการลงทุนควรจะรู้จักกระจายความเสี่ยงการลงทุน และจัดสรรลงไปในสินทรัพย์ต่างๆ อย่างการลงทุนหุ้น กองทุนรวม โดยกลุ่มนี้จะเยอะในช่วงอายุที่ยังเป็นวัยรุ่น พอเราโตและศึกษาการลงทุนเพิ่มขึ้นจะเริ่มปรับพอร์ตหุ้นลงประมาณหนึ่ง เพราะหุ้นก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว เริ่มมีอสังหาริมทรัพย์ มีตราสารหนี้ มุมมองการลงทุนแต่ละคนจะเปลี่ยนไปตามช่วงวัยและประสบการณ์
หลายคนอาจจะเคยคิดว่าตอนเราอายุน้อยพอแก่ตัวลงก็จะลงทุนหุ้นเยอะเหมือนเดิม เพราะว่าเชื่อมั่นในตัวเอง ในความเป็นจริงพออายุมากขึ้นเราจะอยากได้ความมั่นคงในชีวิตมีความกังวลคิดถึงลูกหลาน สินทรัพย์ที่มีอาจจะไม่ได้ชนะเงินเฟ้อในทุกจังหวะแต่ว่าพอชดเชยได้ รวมทั้งการลงทุนในตราสารหนี้ ทองคํา บิทคอยน์ จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมและรับรู้ถึงสถานการณ์ของโลกให้เท่าทันก็จะอยู่รอดในภาวะเงินเฟ้อ จักรพงษ์ กล่าว
ทำไมเราต้องตื่นตัวในสภาวะเงินเฟ้อ?
เงินเฟ้อในแง่ของคนทั่วไปเราจะเจอเงินเฟ้อที่ไม่เท่ากัน ถ้าคุณกินกาแฟสตาร์บัคส์ทุกวันก็จะเจอเงินเฟ้อรูปแบบหนึ่ง ถ้าคุณเปลี่ยนโทรศัพท์มือถือทุกรุ่นที่ออกมาก็จะเจอเงินเฟ้ออีกแบบหนึ่ง แต่ถ้าต้องประหยัดอดออมอาจจะไม่เจอเงินเฟ้อเลยก็เป็นได้ ล้วนขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตที่ต่างกัน
ชยนนท์ รักกาญจนันท์ CEO Finnomena Funds ให้ข้อมูลว่า จากนโยบายของทรัมป์ (ประธานาธิบดีสหรัฐฯอเมริกา) พบ negative impact ต่อนโยบายและจุดที่ได้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจอเมริกาในเรื่อง corporate tax ภาษีเงินได้นิติบุคคล ยุคทรัมป์ลดภาษีนิติบุคคลจาก 30% ลงมาเหลือ 21%
ซึ่งมีการวางแผนให้ลงไปได้ต่ำกว่า 20% แปลว่าบริษัทในอเมริกามียอดขายเท่าเดิมแต่กำไรโตขึ้นแน่นอน ทำให้ดัชนีหุ้นอเมริกา all time high เพราะกำไรเพิ่มขึ้นและ trade war จะไม่เหมือนเดิม จากการตั้งกำแพงภาษีการค้ากับจีน 60% ตั้งกำแพงภาษีสินค้ากับประเทศอื่น ๆ ที่ขายให้กับสหรัฐฯ 10%
สะท้อนให้เห็นว่า ตอนนี้อเมริกาเจอภาวะเงินเฟ้อ เวลาเศรษฐกิจโลกเกิดภาวะเงินเฟ้อ จะมีหุ้นหรือว่าบาง sector ที่ดีขึ้นอย่าง healthcare sector แม้ว่าเศรษฐกิจจะดีไม่ดี ก็ยังมีผู้คนที่เจ็บป่วยและเสียชีวิต ส่วน consumer staple ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร เราก็ยังต้องดำเนินชีวิตต่อไป และจับจ่ายใช้สอยซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคในการดำรงชีวิต
ตอนนี้เราต้องเตรียมเงินในกระเป๋าให้พร้อม ภาวะเงินเฟ้อกำลังจะมาในปีหน้า หากจะสู้กับภาวะเงินเฟ้อการเก็บเงินไว้นิ่ง ๆ หรือฝากออมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องกระจายการลงทุนในที่ๆเรามีความรู้ หลายสินทรัพย์สามารถชนะเงินเฟ้อได้ ในการลงทุนควรจะลงทุนอย่างมีเหตุผลและมีหลักการ
การลงทุนในภาวะเงินเฟ้
พีระสิทธิ์ จิวะพงศ์ CEO Merkle Capital กล่าวว่า การวางแผนลงทุนไม่ควรห่วงเรื่องผลตอบแทนมากเท่ากับความสามารถในการรับมือความเสี่ยง นอกจากการลงทุนแล้วต้องมองเรื่องหาเงินมาลงทุนให้โตขึ้นเพราะว่า expected growth ไม่ได้เยอะมากเมื่อเทียบกับ rate saving หากมีเงินเพียงพอจะดูแลตัวเอง อาจจะใส่สินทรัพย์เสี่ยงบางอย่างเข้าไปให้มี bonus เพิ่ม
มองการลงทุนโดยไม่มองว่าเราจะเลือกอะไร แต่ต้องการผสมผสานดูความเสี่ยง ดูเป้าหมายทางด้านการเงิน ที่สำคัญต้องทำความเข้าใจให้ดี ตอนนี้กลุ่มคนเกษียณที่ลงทุนแบบเดิมเริ่มกระโดดเข้ามาวงการ bitcoin และสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้น เมื่อเราเห็นอะไรที่มูลค่าเพิ่มขึ้นต้องเข้ามาศึกษาเยอะๆ ไม่ให้พลาดโอกาสไป แต่ละ asset class จะมี timing จังหวะที่ดีเป็นเรื่องปกติ
หุ้นไทยถ้าคิดอยู่ใน MSCI มีไม่ถึง 1% market cap หุ้นไทยทั้งตลาดอยู่ที่ 16 ล้านล้าน มูลค่าไม่เทียบเท่ากับหุ้น apple เพียงตัวเดียว ไม่ได้ผิดที่เราจะลงทุนกับหุ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศเพราะเราเป็น global citizen ต้องเลือกตลาดที่มีการเติบโต ซึ่งประเทศไทยมีอัตราการเติบโตที่ต่ำกว่าในหลาย ๆ ประเทศ
ชยนนท์ กล่าวว่า “การลงทุนที่ดีความรู้เป็นสิ่งสำคัญ สินทรัพย์ไหนที่ไม่รู้จักไม่ควรลงทุน แต่ถ้ารู้แล้วชอบก็สามารถลองลงทุนได้ ซึ่งความเสี่ยงที่แต่ละคนจะรับได้ก็แตกต่างกันออกไป ที่ผ่านมา asset class ในโลกที่ทำเงินปันผลได้สูงสุดคือ บิทคอยน์ มีมูลค่าตลาดหลัก trillion usd เมื่อ 5 -6 ปีที่แล้ว คนอาจจะมองสินทรัพย์ดิจิทัล คริปโต หรือบิทคอยน์เป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้ ดูผิดกฎหมาย
ปัจจุบันเราได้เห็นภาพเชิงบวกมากขึ้น เพราะมีการประทับตราว่าคือสินทรัพย์ สิ่งที่เรามองว่าบิทคอยน์อาจจะไกลตัว อนาคตอาจจะใกล้ตัวเรามากกว่าเดิมในระยะยาว การที่จะซื้อหาสินทรัพย์สะสมค่าได้ระยะยาวมี return ที่ดี สามารถชนะเงินเฟ้อได้ bitcoin เป็นอีกหนึ่งทางเลือกซึ่งขึ้นอยู่กับบริบทในแต่ละช่วงเวลา การลงทุนมีความเสี่ยงควรศึกษาและวางแผนในระยะยาว”
#TheStoryThailand #MoneyCoach #MerkleCapital #FinnomenaFunds
โฆษณา