Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTVHD36
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
22 พ.ย. เวลา 05:45 • สุขภาพ
แพทย์เผยโรคไอกรน ระบาดเพิ่มหลายเท่าหลังโควิด ติดง่ายกว่าไข้หวัดใหญ่
ภายในงานประชุมวิชาการร่วม BDMS ACADEMIC ANNUAL MEETING 2024 นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไอกรน ที่พบมากขึ้นหลายเท่าหลังการระบาดใหญ่โควิด เผยสาเหตุและระยะของโรค ไขข้อสงสัยต้องปิดโรงเรียนหรือไม่?
นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ บรรยายในหัวข้อ โรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยในเด็ก บนเวทีงานประชุมวิชาการร่วม บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ประจำปีพุทธศักราช 2567 (BDMS ACADEMIC ANNUAL MEETING 2024) ตามแนวคิด “A ROAD TO LIFELONG WELL-BEING EPISODE 2: UNLOCK THE HEALTHY LONGEVITY” ณ. บีดีเอ็มเอส คอนเนค เซ็นเตอร์ เขตลุมพินี กรุงเทพมหานคร
นพ.พรเทพ สวนดอก กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลกรุงเทพ
นพ.พรเทพ ระบุว่าการระบาดของโรคไอกรน (Pertussis) เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ เกิดจากแบคทีเรีย Bordetella pertussis ซึ่งไม่ใช่โรคระบาดใหม่ โดยอัตราการระบาดหลังโควิดเป็นไปอย่างก้าวกระโดดเพิ่มมากขึ้นหลายเท่า ตามรายงานกรมควบคุมโรค
พบว่าในปี 2566 มีการระบาดเพิ่มเกือบ 20 เท่าจากปี 2565 พบผู้ติดเชื้อไอกรน 369 ราย เสียชีวิต 4 ราย แต่ในปี 2567 กระโดดสูงไปถึง 1,177 รายเสียชีวิต 1 ราย โดยวงระบาดล่าสุด เป็นการติดในสถานศึกษาทราบว่าเป็นในกลุ่มนักกีฬาบาสเกตบอล ที่มีการคลุกคลีเล่นกีฬาร่วมกันในโรงยิมจึงทำให้เกิดการระบาดขึ้น
สถิติโรคไอกรนในไทย
● สาเหตุโรคไอกรน
ภูมิคุ้มกันลดลงตามอายุ ไม่ได้รับการกระตุ้นวัคซีน
มีกิจกรรมการคลุกคลีกันทำให้เกิดการระบาดเพิ่ม
ยิ่งตรวจ ยิ่งเจอเยอะ
ไอกรนเป็นเชื้อแบคทีเรียทั้งไอกรนแท้และไอกรนเทียมที่อาการน้อยกว่า โดยมียาต้านและฆ่าเชื้อ จึงไม่ได้เกิดอันตรายมากนักในเด็กโตและผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะมีอาการไอนานกว่าปกติเท่านั้น แต่แพร่เชื้อง่ายกว่าโควิดและไข้หวัดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ไม่มีอาการหรือพาหะด้วย แต่ไอกรนจะอันตรายมากในเด็กเล็กกว่า 6 เดือน ส่งผลถึงชีวิตได้
ระยะโรคไอกรน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ระยะที่แรก 1-2 สัปดาห์ ระยะอาการหวัด มีน้ำมูก ไข้ต่ำ
ระยะที่ 2 4 สัปดาห์ ระยะไอรุนแรง หายใจแรง อาเจียน อาการเขียว
ระยะที่ 3 6-10 สัปดาห์ ระยะฟื้นตัว อาการไอ/อาเจียน ทุเลาลง
ระยะฟักตัวของไอกรน คือ 5-21 วัน อันตราการแพร่ระบาดสูง 3 สัปดาห์แรก ขณะที่การศึกษาพบว่า 19.6%ของเด็กไทย ป่วยเป็นไอกรน ส่วนผู้ใหญ่ที่ไอนานกว่า 2 สัปดาห์โดยไม่มีปัจจัยอื่นร่วม 18.4% ป่วยเป็นไอกรน
วิธีรักษาโรคไอกรน
● การดูแลรักษาโรคไอกรน
ใช้ยาปฏิชีวนะ กลุ่มแมคโครไลด์หรือไครไตรชาโซล
หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นการไอ
พิจารณาการใช้วัคซีน หรือ กระตุ้นวัคซีน ผู้ป่วยและบุคคลใกล้ชิด
● การป้องกัน
ฉีดวัคซีน 5 ครั้งเมื่ออายุ 2,4,6,18 เดือน และ 4-6 ปี จากนั้นควรให้ฉีดกระตุ้นเมื่ออายุ 10-12 ปีและกระตุ้นต่อเนื่องทุก 10 ปี
● การแยกโรค
ผู้ป่วยหากได้รับการรักษาและกินยาปฏิชีวนะตามแพทย์สั่ง ควรพักและเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิด 5 วัน แต่หากไม่ได้รับการรักษาควรหยุดพักรักษาตัวนาน 21 วัน และไม่จำเป็นต้องปิดโรงเรียน แต่ต้องดูบริบทของการระบาดว่ามากน้อยแค่ไหนด้วย
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/health/care/6141
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTVHD36 :
https://www.facebook.com/PPTVHD36
YouTube :
www.youtube.com/@PPTVHD36
ร่างกาย
นอน
สุขภาพ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย