6 ชั่วโมงที่แล้ว • ข่าว

รู้หรือไม่? เสือโคร่งสีทองเป็นหนึ่งในลักษณะพันธุกรรมที่หายาก

ปัจจุบันคาดว่าเหลือเพียง 30 ตัว ในโลก
เสือโคร่งสีทอง (Golden Tiger) หรือเสือขาว เป็นหนึ่งในลักษณะพันธุกรรมที่หายาก โดยลักษณะสีทองหรือสีขาวของขนภายนอกเกิดจากการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมยีนที่ควบคุมการผลิตเมลานินและการกระจายตัวของเม็ดสีในชั้นผิวหนังและขน ซึ่งทำให้ลายสีดำของเสือโคร่งจางลง และสีพื้นของลำตัวมีเฉดสีทองหรือสีครีมที่โดดเด่น แตกต่างจากลวดลายของเสือโคร่งทั่วไปที่มีสีเหลืองและสีดำเข้ม
เสือโคร่งสีทองมีลักษณะการแสดงออกของยีนที่เรียกว่ายีนด้อย (Recessive gene) ส่งผลให้ขนของเสือมีสีเหลืองทอง และลายพาดกลอนที่จางลงเมื่อเทียบกับเสือโคร่งทั่วไป
นักวิทยาศาสตร์คาดว่าการเกิดขึ้นของเสือโคร่งสีทอง เสือโคร่งจะต้องได้รับยีนด้อยที่กลายพันธุ์จากทั้งฝั่งพ่อเสือและแม่เสือ (Homozygous recessive) หากมีเพียงยีนเดียวจากพ่อหรือแม่ เสือตัวนั้นจะเป็นเพียงตัวพาหะ (Carrier) แต่ไม่แสดงลักษณะสีทอง
เสือโครงสีทองนั้นไม่ได้ถูกจัดอยู่เป็นสายพันธุ์ย่อยของเสื้อโคร่ง โดยลักษณะของเสือโคร่งสีทองมักเกิดจากการเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยงที่มีการคัดเลือกพันธุ์เฉพาะของเสือโคร่งเบงกอล ส่วนโอกาสที่เสือโคร่งสีทองจะเกิดในธรรมชาตินั้นยากมากกว่า
เสื้อโคร่งสีทองในธรรมชาติถูกค้นพบและถูกยิงตายในปี 1932 เมืองไมซอร์ประเทศ ประเทศอินเดีย ต่อมาในปี 1987 พบเสือโคร่งสีทองที่เกิดในกรงสวนสัตว์ตัวแรกของโลก อย่างไรก็ตาม รายงานในหนังสือพิมพ์ Times of India (นิวเดลี) ฉบับวันที่ 10 ตุลาคม 1979 ระบุว่าลูกเสือสีน้ำตาลเกิดจากเสือโคร่งสีขาว โดยสวนสัตว์ในอินเดียใช้คำว่า "สีน้ำตาล" ซึ่งต่อมาถูกขนย้ายไปยังสหรัฐอเมริกา และคาดว่าจะเป็นต้นตระกูลของเสือโคร่งสีทองทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา
สำหรับเสือโคร่งสีทองในประเทศไทยสามารถพบเสือโคร่งสีทองได้ที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ซึ่งมีเสือโคร่งสีทองชื่อ "น้องเอวา" อายุ 3 ปี เพศเมีย น้องเอวามีลักษณะเด่นคือขนสีทองและหน้าตาน่ารัก ทำให้เป็นที่สนใจของนักท่องเที่ยว และกำลังกลายเป็นกระแสบนโลกออนไลน์ตามรอยน้องหมูเด้ง ฮิปโปแคระที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
#เสือโคร่ง ​#เสือโคร่งสีทอง #เสือขาว #น้องเอวา #GoldenTiger #Tech #TNNTechreports
โฆษณา