Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
One To Many - A Brief Science
•
ติดตาม
เมื่อวาน เวลา 09:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักดาราศาสตร์ถ่ายภาพดาวฤกษ์นอกกาแล็กซีทางช้างเผือก
ดาวฤกษ์ WOH G64 ซึ่งอยู่ห่างจากโลกเราออกไปถึง 160,000 ปีแสง สามารถถ่ายภาพได้ด้วยความคมชัดอันน่าประทับใจจากกล้องโทรทรรศน์อินเตอร์เฟอโรมิเตอร์ขนาดใหญ่มากของหอสังเกตการณ์ซีกโลกใต้ของยุโรป (European Southern Observatory's Very Large Telescope Interferometer) หรือสั้นๆ ESO การสังเกตการณ์ครั้งใหม่เผยให้เห็นดาวฤกษ์พ่นก๊าซและฝุ่นออกมาในระยะสุดท้ายก่อนจะกลายเป็นซูเปอร์โนวา
“นี่เป็นครั้งแรกที่เราประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพซูมของดาวฤกษ์ที่กำลังจะตายในกาแล็กซีที่อยู่นอกเหนือทางช้างเผือกของเรา” เคอิจิ โอห์นากะ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัย Andrés Bello ในประเทศชิลีกล่าว
“เราค้นพบรังไหมรูปร่างคล้ายไข่ (egg-shaped cocoon) ที่ล้อมรอบดาวฤกษ์อย่างใกล้ชิด” โอนากะ ผู้เขียนหลักของการศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Astronomy & Astrophysics เมื่อวัน 21/11/2024 กล่าว “เรารู้สึกตื่นเต้นเพราะสิ่งนี้อาจเกี่ยวข้องกับการพุ่งของสสารออกจากดาวฤกษ์ที่กำลังจะตายอย่างรวดเร็วก่อนการระเบิดของซูเปอร์โนวา”
ดาวฤกษ์ที่เพิ่งถ่ายภาพได้ใหม่ WOH G64 อยู่ในกลุ่มเมฆแมกเจลแลนใหญ่ (Large Magellanic Cloud) ซึ่งเป็นกาแล็กซีขนาดเล็กแห่งหนึ่งที่โคจรรอบทางช้างเผือก นักดาราศาสตร์รู้จักดาวฤกษ์ดวงนี้มานานหลายทศวรรษ และขนานนามมันอย่างเหมาะสมว่า "ดาวยักษ์" ด้วยขนาดประมาณ 2,000 เท่าของดวงอาทิตย์ WOH G64 จึงจัดอยู่ในกลุ่มดาวยักษ์ใหญ่แดง
แปลและเรียบเรียงโดย
One To Many - A Brief Science
.
แหล่งอ้างอิง
[1] Astronomers take the first close-up picture of a star outside our galaxy
https://www.eso.org/public/news/eso2417/
[2] Imaging the innermost circumstellar environment of the red supergiant WOH G64 in the Large Magellanic Cloud
https://www.aanda.org/articles/aa/full_html/2024/11/aa51820-24/aa51820-24.html
อวกาศ
วิทยาศาสตร์
ความรู้
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย