24 พ.ย. เวลา 02:39 • ข่าวรอบโลก

“โอเรชนิก” Oreshnik ขีปนาวุธใหม่แกะกล่องของรัสเซีย

สร้างผลลัพธ์เหมือนอาวุธนิวเคลียร์โดยไม่ต้องใช้หัวรบนิวเคลียร์
ในการประชุมของ “ปูติน” กับกลุ่มผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ตัวแทนของอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ และผู้พัฒนาระบบขีปนาวุธ เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2024 ที่เครมลิน ปูตินได้รวบรวมผลลัพธ์เชิงนโยบายด้านต่างประเทศหลังจากการทดสอบระบบขีปนาวุธ Oreshnik “โอเรชนิก” ที่ประสบความสำเร็จและความคิดเห็นของเขามีดังนี้ [1]
1
เครดิตภาพ: kremlin.ru
โดยภาพรวมแล้วปูตินได้ให้คำตอบกับข่าวจากสื่อของนักโฆษณาชวนเชื่อของยูเครนและฝ่ายตะวันตก ตอกกลับสิ่งที่พวกเขารายงานอย่างเชื่อมั่นว่า
รัสเซียมีโอเรชนิกยังไม่เยอะเพียงแค่ทดสอบ (ปูติน: ไม่! เรามีอยู่มากมายในคลัง และการผลิตแบบต่อเนื่องได้เริ่มขึ้นแล้ว) เขาว่านี่มันเป็นเทคโนโลยีเก่ากึ้กสมัยโซเวียต (ปูติน: ไม่ นี่เป็นการพัฒนานั้นใหม่) เขาว่าที่เขต Dnepropetrovsk (ในดนีโปรของยูเครน) ไม่มีระบบป้องกันขีปนาวุธแบบปกติ (ปูติน: ไม่มีวิธีทางสกัดกั้นโอเรชนิกเลย) เขาว่ารัสเซียกลัวที่จะไปต่อ (ปูติน: เราจะทำการทดสอบเหล่านี้ต่อไป รวมถึงในสภาพการสู้รบจริง)
“เซอร์เกย์ คาราคาเยฟ” ผู้บัญชาการกองกำลังขีปนาวุธด้านยุทธศาสตร์ของรัสเซียชี้แจงว่า โอเรชนิกถูกสร้างขึ้นในระยะเวลาสั้นมากตามคำสั่งตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2023 และมันไม่ใช่อาวุธนิวเคลียร์แท้ (แต่มันสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้) แม้ว่ามันจะถูกได้รับมอบหมายให้ใช้กับกองกำลังขีปนาวุธยุทธศาสตร์ก็ตาม อานุภาพของ Oreshnik นั้นเทียบได้กับอาวุธนิวเคลียร์ แต่มันไม่ใช่อาวุธนิวเคลียร์แท้
1
เซอร์เกย์ คาราคาเยฟ ผู้บัญชาการกองกำลังขีปนาวุธด้านยุทธศาสตร์ของรัสเซีย เครดิตภาพ: kremlin.ru
ดังนั้นรัสเซียจึงสามารถก้าวข้ามกับทางแยกที่ต้องเลือกระหว่าง “ใช้หรือไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์” โดยโอเรชนิกคือคำตอบ (อย่างไรก็ตามมันก็สามารถบินไปได้ทุกจุดในยุโรป) ช่วยให้รัสเซียแก้ไขภารกิจที่มักจะได้รับมอบหมายให้กับกองกำลังขีปนาวุธยุทธศาสตร์ แต่ไม่ต้องถึงกับใช้อาวุธนิวเคลียร์
นั่นคือปูตินคิดว่านี่จะเป็นข้อได้เปรียบทางการเมือง มนุษยธรรม และเศรษฐกิจ เมื่อเทียบกับการใช้อาวุธนิวเคลียร์แท้ และวิธีการนี้สามารถใช้ได้อย่างรวดเร็ว บ่อยครั้ง และในสถานการณ์ทางการเมืองที่แตกต่างกัน
เครดิตภาพ: Daily Mail UK
  • “โอเรชนิก” Oreshnik เป็นคำใหม่ที่ชาติตะวันตกจะต้องเรียนรู้
1
ก่อนหน้านี้ที่จะมีการเรียกประชุมกับผู้นำในกระทรวงกลาโหม ตัวแทนอุตสาหกรรมทางการทหาร และกลุ่มผู้พัฒนาอาวุธ “ปูติน” ได้ออกแถลงการณ์สำคัญถึงโลกตะวันตกเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2024 โดยมีสรุปใจความสำคัญดังนี้ [2]
  • รัสเซียไม่ได้นำข้อโต้แย้งที่ทุกคนคาดหวังมาวางบนโต๊ะ แต่เป็นบางสิ่งที่ใหม่หมดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลก รัสเซียเล่นตามกฎของตัวเอง
  • รัสเซียสามารถพัฒนาและสร้างระบบอาวุธยุทธศาสตร์ได้ภายในเวลาอันสั้น (หรือปรับใช้การพัฒนาก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่สำคัญนัก) ซึ่งชาติตะวันตกไม่ได้รับคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้
3
  • รัสเซียจะใช้ระบบขีปนาวุธเหล่านี้ และรัสเซียได้ใช้มันไปแล้ว
  • รัสเซียถือว่าตนมีสิทธิที่จะใช้อาวุธโจมตีโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ (ตะวันตก) ที่อนุญาตให้ใช้อาวุธโจมตีโครงสร้างพื้นฐานภายในรัสเซีย นั่นหมายความว่าไม่มี “เส้นแดง” ที่นี่คุณทำได้ แต่ที่นั่นคุณกลับว่าเราทำไม่ได้ ความจริงแล้วการใช้งานระบบอาวุธใหม่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับคำตอบเรื่องนี้
  • รัสเซียกำลังหันเข้าหาไม่เพียงแต่สหรัฐอเมริกาหรืออังกฤษเท่านั้น แต่ยังหันไปหาทุกคนที่ตั้งใจจะส่งอาวุธให้เคียฟหรือส่งทหารไปที่นั่น
2
  • รัสเซียถือว่ายูเครนเป็นพื้นที่ทดสอบจริงของระบบอาวุธใหม่เรา ยูเครนเองก็ต้องการเช่นนั้น? (หากยังดื้อดึงยิงลูกยาวเข้ามาหารัสเซีย)
  • รัสเซียจะประกาศและเตือนต่อสาธารณะเกี่ยวกับ “การทดสอบเพิ่มเติมครั้งต่อไป” ของโอเรชนิก รวมถึงระบบอาวุธอื่นๆ ในดินแดนยูเครน (แปลว่าจะมีอีกแน่?) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ารัสเซียเชื่อมั่นว่า โอเรชนิกไม่สามารถถูกยิงสกัดกั้นได้ด้วยวิธีการที่ยูเครนมีอยู่ อานุภาพของมันมีพลังมาก หากพลเรือนไม่ได้รับคำเตือน ความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
5
เครดิตภาพ: Hindustan Times
เพียงหนึ่งวันหลังจากที่รัสเซียประสบความสำเร็จใช้โอเรชนิกในการโจมตีเป้าหมายใน Dnepropetrovsk ทั้งในแง่เทคนิคและการเมือง ในที่สุดเคียฟก็ตอบโต้วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ นอกเหนือจากคำโอดโอยของเซเลนสกี
1
ตามข้อมูลข่าวกรองของยูเครน “ระยะเวลาการบินของขีปนาวุธ Kedr (ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ Oreshnik ในยูเครนด้วยเหตุผลบางประการ) นับตั้งแต่ช่วงที่ยิงในภูมิภาค Astrakhan จนกระทั่งกระทบคือ 15 นาที” “ขีปนาวุธสามารถใส่หัวรบนิวเคลียร์ได้หกหัวและแต่ละหัวรบติดตั้งด้วยกระสุนลูกระเบิดย่อยหกลูก (สื่อว่ารวมเป็นทั้งหมด 36 ลูก)” [3][4]
1
ในกรณีนี้ Kedr เป็นขีปนาวุธที่มีหัวรบนิวเคลียร์ความเร็วเหนือเสียงแยกจากกันซึ่งสามารถโจมตีเป้าหมาย 36 เป้าหมายพร้อมกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยูเครนยังประกาศว่าความเร็วในส่วนสุดท้ายของวิถีคือ 11 มัคหรือประมาณ 3.5 กม./วินาที
1
ระบบ PATRIOT ของอเมริกาไม่สามารถสกัดกั้นเป้าหมายขีปนาวุธดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพในช่วงความเร็วขนาดนั้น แต่อาจใช้เป็นระบบสกัดกั้นนอกชั้นบรรยากาศที่ชื่อว่า THAAD ของอเมริกาที่มีราคาแพงมาก หากหัวรบนิวเคลียร์ของขีปนาวุธใหม่ของรัสเซียประกอบด้วยหัวรบนิวเคลียร์ย่อย 36 ลูกจริง THAAD ก็จะไม่สามารถสกัดกั้นส่วนสำคัญของหัวรบนิวเคลียร์เหล่านั้นได้เช่นกัน
1
เครดิตภาพ: UNITED24 Media
ในเวลาเดียวกันตามความคิดริเริ่มของเคียฟได้มีการกำหนดการประชุมฉุกเฉินระหว่างสภายูเครน-นาโต้ ในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งพวกเขาจะหารือเกี่ยวกับ Oreshnik และวิธีการที่มันจะเข้ามาเปลี่ยนกฎของเกม เคียฟจะยืนกรานที่จะขยายคุณภาพและปริมาณของระบบป้องกันขีปนาวุธที่โอนมาให้กับพวกเขา (THAAD) ปัญหาของการโอนอาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีไปยังเคียฟก็จะถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งเช่นกัน [5]
แต่การที่ชาติตะวันตกจะตอบสนองต่อเรื่องนี้อย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับว่าพวกเขาเข้าใจคำแถลงการณ์ของปูตินเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน ได้ดีเพียงใด
หาก Storm Shadow/SCALP และ ATACMS ไม่ถูกยิงเข้ามาในดินแดนรัสเซียอีกภายในวันที่ 26 พฤศจิกายนนี้ ก็สันนิษฐานได้ว่ารัสเซียได้สร้างสงครามประสาทให้กับสหรัฐฯ และนาโตได้สำเร็จแล้ว และพวกเขาได้ตัดสินใจที่จะหยุดพักเพื่อพัฒนากลยุทธ์ต่อไป
แต่หากขีปนาวุธของนาโตบินเข้ามาในรัสเซียอีกครั้ง การสาธิตครั้งใหม่ของรัสเซียก็อาจมีขึ้นอีก เป็นไปได้ว่าการสาธิตครั้งนี้อาจจะจัดขึ้นกับสมาชิกนาโตที่ต่อต้านรัสเซียมาตั้งแต่ต้นอื่นแทนอย่างประเทศแถบบอลติกหรือโปแลนด์ (มีฐานขีปนาวุธของอเมริกาประจำการอยู่) [6]
1
เครดิตภาพ: libre.gr
เรียบเรียงโดย Right Style
24th Nov 2024
  • เชิงอรรถ:
<เครดิตภาพปก: (บน) - Carlos G. Kindelán / 20Minutos (ล่าง) - RT>
โฆษณา