26 พ.ย. เวลา 00:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เงินเดือนเท่านี้ เสียภาษีเท่าไหร่

และถ้าลงทุนกองทุนประหยัดภาษีหรือ PVD 10% ของเงินเดือน จะประหยัดภาษีได้เท่าไหร่🤔🔍
การคิดข้อมูลในตาราง มี่รายได้เป็นเงินเดือนอย่างเดียว และมีแค่ค่าลดหย่อนส่วนตัวที่เป็นค่าลดหย่อนพื้นฐานที่ทุกคนได้ และค่าลดหย่อนประกันสังคม ที่มนุษย์เงินเดือนต้องสมทบเข้าไปในแต่ละเดือนตามที่จ่ายจริงสูงสุด ไม่เกิน 9,000 บ.
นาย A เงินเดือน 30,000 บ. เมื่อคิดรายได้ทั้งปีคือ 360,000 บ. ซึ่งเป็นรายได้ 40(1) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บ. จึงหักค่าใช้จ่ายสูงสุด 100,000 บ.
มีค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บ. และค่าลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บ. เท่านั้น ไม่มีค่าลดหย่อนอื่น
นาย A จะมีเงินได้สุทธิ คือ รายได้ หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน คือ 360,000 – 100,000 – 60,000 – 9,000 =191,000 บ.
เมื่อนำมาเข้าตารางอัตราภาษี ซึ่งก็คือ
เงินได้สุทธิ 150,000 บ. แรก ไม่เสียภาษี
เกิน 150,000 – 300,000 เสียภาษีในอัตรา 5%
เกิน 300,000 – 500,000 เสียภาษีในอัตรา 10%
เกิน 500,000 – 750,000 เสียภาษีในอัตรา 15%
เกิน 750,000 – 1,000,000 เสียภาษีในอัตรา 20%
เกิน 1,00,000 – 2,000,000 เสียภาษีในอัตรา 25%
เกิน 2,00,000 – 5,000,000 เสียภาษีในอัตรา 30%
เกิน 5,00,000 เสียภาษีในอัตรา 35%.
นาย A มีเงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ 150,000 บ. แรก ไม่เสียภาษี
เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 เสียภาษีในอัตรา 5% ในขั้นนี้ = 41,000 x 5% = 2,050 บ.
ถ้านาย A มีค่าลดหย่อนอื่นเข้ามาเพิ่ม เช่น ลงทุนกองทุนประหยัดภาษี (SSF RMF TESG) หรือ PVD 10% ของเงินเดือน คือ 36,000 บ. มาหักลดหย่อน
จะทำให้นาย A เสียภาษี 250 บ. คือ ประหยัดภาษีไป 1,800 บ.
จากตาราง จะเห็นว่า
- คนที่เงินเดือนมากถ้าไม่มีค่าลดหย่อนมาเพิ่มจะเสียภาษี ประมาณเงินเดือน 1 เดือนเลยทีเดียว
- ถ้าเรามีค่าลดหย่อนมาเพิ่มจะช่วยให้เราประหยัดภาษีได้
- คนที่เงินเดือนมากกว่า เสียภาษีในฐานอัตราภาษีที่สูงกว่า การมีค่าลดหย่อนมาเพิ่ม จะประหยัดได้มากกกว่า
- ถ้าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะของรายได้เพื่อให้หักค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น ก็ต้องหาค่าลดหย่อนอื่นมาเพิ่มเติม ซึ่งค่าลดหย่อนที่จะนำมาใช้ ก็ขึ้นกับภาระ และแผนการเงินของแต่ละคน
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #กองทุนรวม #กองทุนเพื่อการออม #กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ #RMF #SSF #ภาษี #ลดหย่อนภาษี #วางแผนภาษี #มนุษย์เงินเดือน #ยื่นภาษี #คิดภาษี #คำนวณภาษี #TESG #PVD
โฆษณา