26 พ.ย. เวลา 03:32 • ธุรกิจ

++ การเลือกระบบ MRP (Material Requirements Planning) ที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับธุรกิจโรงงาน ++

การเลือกใช้ระบบ MRP (Material Requirements Planning) ที่ถูกต้องและเหมาะสมกับธุรกิจนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
เนื่องจาก MRP เป็นเครื่องมือที่ช่วยวางแผนการจัดซื้อวัสดุและการวางแผนการผลิตในโรงงานให้มีประสิทธิภาพ หากระบบที่ใช้อยู่ไม่สามารถคำนวณได้อย่างแม่นยำ
หรือไม่ตรงตามหลักการทฤษฎีที่ถูกต้อง ผลเสียที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อทั้งกระบวนการผลิตและการดำเนินธุรกิจโดยรวมได้
หลักการสำคัญของการคำนวณ MRP
MRP เป็นระบบที่ใช้ในการวางแผนการจัดซื้อและการผลิตโดยพิจารณาจากตัวแปรสำคัญ 6 ตัว ได้แก่:
1. Gross Requirement - ความต้องการวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนทั้งหมดในแต่ละช่วงเวลา
2. Scheduled Receipts - ปริมาณวัสดุที่มีกำหนดรับเข้าคลังในอนาคต
3. On-Hand Quantity - ปริมาณสินค้าหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในคลังปัจจุบัน
4. Net Requirement - ความต้องการสุทธิที่เหลือหลังจากพิจารณาปริมาณในคลังและวัสดุที่กำลังจะเข้ามา
5. Planned Order Receipt - ปริมาณการผลิตหรือการสั่งซื้อที่ต้องได้รับในช่วงเวลาที่กำหนด
6. Planned Order Release - แผนการปล่อยคำสั่งซื้อหรือผลิตตามระยะเวลานำ (Lead Time)
Bills of Materials
การคำนวณเหล่านี้เริ่มต้นจากแผนการผลิตหลัก (MPS - Master Production Schedule) ที่ระเบิดโครงสร้าง BOM (Bill of Materials Explosion)
เพื่อคำนวณความต้องการวัสดุและชิ้นส่วนในแต่ละชั้นของ BOM และส่งผลกระทบลงมาเป็นชั้นๆ ตามช่วงเวลา
ทั้งนี้ การคำนวณ MRP ควรแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบตาราง MRP (MRP Table) เพื่อความชัดเจนในการวางแผนและตรวจสอบข้อมูล
กระบวนการคำนวณ MRP
การคำนวณ MRP ที่ไม่ถูกต้องคืออะไร
จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่ามีซอฟต์แวร์ ERP หลายราย อ้างว่าคำนวณ MRP โดยใช้สูตรการคำนวณ ( ที่คิดขึ้นเอง ) เช่นคำนวณจากยอดสูตรการผลิต ( BOM ) ,
ยอด Sale Order , ยอด Forecast , ยอดสินค้าคงเหลือ ,ยอดค้างส่ง , ยอดค้างผลิต , ยอดวัตถุดิบที่จอง , ยอด Minimum ของ Stock หรืออื่นๆ แล้วนำมาบวกลบ หรือคูณหรือหาร กันนั้น การคำนวณเช่นนี้เป็นการคำนวณที่ไม่ถูกต้อง และการคำนวณใดๆที่ไม่ได้เกิดการคำนวณ MRP ตามทฤษฎีที่กล่าวข้างต้นนั้นถือว่า ไม่ถูกต้องทั้งหมด จุดนี้สำคัญ
วิธีการเลือกที่ง่ายที่สุดคือ พิจารณาที่ผลลัพธ์การคำนวณ MRP ของซอฟต์แวร์นั้นๆ
คือ ตาราง MRP ( MRP Table ) ซึ่งซอฟต์ที่เป็นระบบ MRP จะต้องมีทุกๆซอฟต์แวร์ เช่น ตาราง MRP ของ ORACLE
ตาราง MRP ของ ORACLE
ประสบการณ์จากการใช้งานระบบ MRP ที่คำนวณไม่ถูกต้อง
จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่ทำงานในแวดวง ERP/MRP Software สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ผู้เขียนได้พบลูกค้าหลายรายที่ประสบปัญหากับระบบ ERP ที่อ้างว่ามีระบบ MRP แต่ปรากฎว่าเมื่อได้ทำการอิมพรีเมนต์ (Implementation ) การใช้งานจริง หรือ GO-LIVE ไปแล้ว มาพบว่าการคำนวณ MRP ไม่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น
ลูกค้ารายหนึ่งเล่าว่า ระบบ MRP ที่ใช้อยู่ไม่สามารถให้แผนการผลิตและแผนการจัดซื้อที่ถูกต้องได้ ผลลัพธ์คือแผนกต่างๆ ต้องทำงานแบบแมนนวล ( Manual )
โดย Export ข้อมูลออกมาเป็น Excel เพื่อคำนวณเอง เช่น
1. แผนกวางแผนการผลิต ต้องนำไฟล์ sales order , sales forecast มาคำนวณด้วย excel ของฝ่ายวางแผนเอง
2. แผนกสินค้าคงคลัง ต้องทำด้วยไฟล์ excel manual เอง
3. แผนกจัดซื้อ ต้องนำไฟล์ sales order , sales forecast มาคำนวณด้วย excel ของแผนกจัดซื้อเอง
4. แผนกผลิต ก็ต้องทำ excel ของฝ่ายผลิต และหน่วยงานแผนกอื่นๆก็ทำนองเดียวกัน สรุปว่าระบบที่ใช้งานได้จริงในซอฟต์แวร์นี้กลับเป็นเพียงโปรแกรมบัญชี
ผลที่ตามมาคือ การสูญเสียเวลาและต้นทุน รวมถึงความไม่พอใจในคุณภาพของซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน
นี่เป็นบทเรียนสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า การเลือกระบบ MRP ที่ไม่เหมาะสมหรือขาดความแม่นยำจะส่งผลเสียต่อกระบวนการดำเนินงานโดยตรง
ผลเสียของการเลือกระบบ MRP ที่คำนวณไม่ถูกต้อง
การเลือกระบบ MRP ที่ไม่เหมาะสมหรือไม่คำนวณอย่างแม่นยำ อาจส่งผลเสียต่อธุรกิจในหลายด้าน เช่น
การวางแผนการผลิตและสั่งซื้อวัสดุไม่ถูกต้อง เหมือนเป็นการปิดตาทำงานกัน เกิดปัญหาขาดแคลนวัสดุหรือสต๊อกวัสดุ ทั้งงานระหว่างทำ (wip) หรืองานประกอบ ( assembly ) และวัตถุดิบสต๊อคผิดตัว หรือเกินความจำเป็นที่จะต้องทำการผลิตในระยะเวลาอันใกล้ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ทั้งการเสียโอกาสการใช้พื้นที่คลังสินค้า การสั่งซื้อวัตถุดิบที่ไม่เหมาะสมกับงานที่จะผลิต
ทำให้การผลิตล่าช้า การสูญเสียเวลาโอกาสในการทำงานที่ดี แผนกต่างๆ ต้องกลับไปแก้ไขปัญหาแบบ Manual แบบเดิมๆ เหมือนการไม่มีระบบ ERP ทำให้ลดประสิทธิภาพในการทำงาน และสุดท้ายการสูญเสียโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ หรืออื่นๆ
โดยสรุป
การเลือกระบบ MRP ที่ถูกต้องและเหมาะสมไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการจัดซื้อ แต่ยังช่วยลดต้นทุนและความสูญเสียที่ไม่จำเป็น
 
ดังนั้น หากคุณกำลังพิจารณาเลือกใช้ระบบ MRP หรือ ERP สำหรับธุรกิจ อย่าลืมตรวจสอบความแม่นยำและประสิทธิภาพของระบบอย่างละเอียด
เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับระบบ MRP ที่ทำงานอย่างถูกต้อง
บทส่งท้าย
ระบบ MRP ที่คำนวณถูกต้องช่วยแก้ปัญหาเรื่องงานที่ผลิตเสีย ( NG JOB ) ในโรงงานได้อย่างไร
ระบบ MRP ช่วยจัดการกับงานที่เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ MRP จะรับทราบยอดที่ผลิตได้จริง คำนวณปรับแผนการผลิตและจัดซื้อให้ตอบสนองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในทันที เช่น หากเกิดการผลิตของเสีย ที่แผนก A , B , D , E , F
คำนวณความต้องการใหม่ของ MRP จะคำนวณ Gross Requirement จากการระเบิด BOM และคำนวณ Scheduled Receipts , On-Hand Quantity , Net Requirement ,Planned Order Receipt และ Planned Order Release เพื่อชดเชยปริมาณที่สูญเสียไป ทำให้เกิดการผลิตเพื่อชดเชยงานที่เสีย ( NG ) อัตโนมัติและสั่งผลิตได้ทันท่วงที เพื่อให้ท้นกับกำหนดส่งของสินค้า ( due date ) นั้นๆได้ครบจำนวน
“หากคุณสนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับระบบ ERP/MRP และโซลูชันที่เหมาะกับธุรกิจของคุณ สามารถเยี่ยมชมได้ที่ https://www.erpfactorysoft.com/
โฆษณา