Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PPTV Wealth
•
ติดตาม
27 พ.ย. 2024 เวลา 05:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เด็กจบใหม่ว่างงานเพิ่ม 4.1 แสนคน ส่วนคนที่ว่างงานเกิน 1 ปี 8.1 หมื่นคน
เด็กจบใหม่ว่างงานเพิ่ม 4.1 แสนคน ส่วนคนที่ว่างงานเกิน 1 ปี 8.1 หมื่นคน ให้เหตุผลว่า หางานไม่ได้ และเกือบ 3 ใน 4 อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี
ในรายงาน ภาวะสังคมไทยไตรมาสสาม ปี 2567 พบว่า มีผู้ว่างงานปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยไตรมาสสาม ปี 2567 มีจำนวน 4.1 แสนคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปี 2566 คิดเป็นอัตราว่างงานร้อยละ 1.02 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.99 ในปีก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งผู้ที่เคยและไม่เคยทำงานมาก่อน ที่ร้อยละ 2.8 และ 3.5 หรือมีจำนวน 1.8 และ 2.3 แสนคน ตามลำดับ โดยผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน ส่วนใหญ่ออกมาจากสาขาการขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการผลิต
อัตราการว่างงาน
ขณะที่กลุ่มที่ไม่เคย ทำงานมาก่อน ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับอุดมศึกษา มัธยมปลาย และมัธยมต้น ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผู้ว่างงานระยะยาวตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 16.2 หรือมีจำนวน 8.1 หมื่นคน โดยกว่าร้อยละ 65.0 ระบุสาเหตุว่าหางานไม่ได้ ขณะที่ร้อยละ 71.3 ไม่เคยทำงานมาก่อน ซึ่งในจำนวนนี้ เกือบ 3 ใน 4 อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี
สำหรับอัตราการว่างงานในระบบอยู่ที่ร้อยละ 1.82 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.93 โดยมีผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานทั้งสิ้น 7.4 หมื่นคน ซึ่งกว่าร้อยละ 95 เป็นแรงงานในภาคการผลิต
ค่าจ้างเฉลี่ยและค่าจ้างที่แท้จริงภาพรวมและภาคเอกชน ไตรมาสสาม ปี 2567
ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นทั้งภาพรวมและภาคเอกชน
ในส่วนของ ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นทั้งภาพรวมและภาคเอกชน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ เมื่อต้นปี 2567 โดยค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมของกลุ่มแรงงานในระบบ (ตามการจัดเก็บแบบเดิม) อยู่ที่ 15,718 บาท
ต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสาม ปี 2566 ร้อยละ 1.8 ขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมที่รวมกลุ่มแรงงานอิสระอยู่ที่ 16,007 บาทต่อคนต่อเดือน ส่วนค่าจ้างเฉลี่ยของภาคเอกชน อยู่ที่ 14,522 บาทต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 2.7
ส่วนชั่วโมงการทำงานโดยรวมเพิ่มขึ้น แต่บางส่วนยังต้องการทำงานเพิ่ม โดยชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยในภาพรวมและภาคเอกชนในไตรมาสสาม ปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.0 และ 2.7 หรืออยู่ที่ 43.3 และ 47.4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ตามลำดับ โดยผู้ทำงานล่วงเวลาเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.8 ขณะที่ผู้เสมือนว่างงานและการว่างงานแฝงลดลงกว่าร้อยละ 32.9 และ 27.2 อย่างไรก็ตาม ผู้ทำงานต่ำระดับกลับเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 15.0 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ในสาขานอกภาคเกษตรกรรมส่วนใหญ่อยู่ในสาขาการขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการก่อสร้าง
ภาพรวมการจ้างงานทรงตัว
อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพรวมการจ้างงานในไตรมาสสาม ปี 2567 ทรงตัวโดยการจ้างงานภาคเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่นอกภาคเกษตรขยายตัวได้ โดยเฉพาะสาขาการขนส่งและเก็บสินค้า ส่วนสาขาการผลิตหดตัวซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งภาครัฐอาจต้องมีมาตรการสนับสนุนการปรับตัวของอุตสาหกรรม การพัฒนาทักษะแรงงานเพื่อรองรับอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นอกจากนี้ ยังต้องติดตามผลกระทบต่อสินค้าเกษตรจากปัญหาอุทกภัย
ไตรมาสสาม ปี 2567 การจ้างงานค่อนข้างทรงตัว โดยผู้มีงานทำมีจำนวน 40.0 ล้านคน ลดลงจากไตรมาสสาม ปี 2566 เล็กน้อยที่ร้อยละ 0.1
อ่านเนื้อหาต้นฉบับได้ที่ :
https://www.pptvhd36.com/wealth/economic/237377
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่เว็บไซต์
https://www.pptvhd36.com
และช่องทาง Social Media
Facebook PPTV Wealth :
https://www.facebook.com/PPTVWealth/
YouTube Wealth :
www.youtube.com/@PPTVWealth
ว่างงาน
แรงงาน
เศรษฐกิจ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย