27 พ.ย. 2024 เวลา 06:30 • การศึกษา
1. อายุครบ 55 ปีแล้ว ยังทำงานอยู่ที่บริษัทเดิม โดยบริษัทจะให้ทำงานต่อไป ดี/ไม่ดี?
1
คำถามนี้ ก่อความงุนงง ระคนสงสัยให้เรามากๆ ในวัย 55 ปี คุณยังมีงานให้ทำได้ต่อไปเรื่อยๆ มันไม่ดีตรงไหนเหรอคะ คือไม่ค่อยเข้าใจเจตนาคำถามค่ะ หากจะมีข้อมูลที่จะช่วยให้เรา ให้ความเห็นคุณได้สอดคล้องมากกว่านี้ ก็จะดีมากค่ะ
1
2. มีหลักวิธีการที่เป็นได้โดยไม่ส่งผลต่อบำเหน็จ/บำนาญไหม?
พอมาถึงคำถามนี้ เราเริ่มกระจ่างในเจตนาคำถาม แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเราจะเข้าใจเจตนาคุณถูกหรือไม่ เราเดาว่าบริษัทนี้ กำหนดอายุเกษียญในบางตำแหน่งงานไว้ที่ 55 ปี ซึ่งก็คือตำแหน่งที่คุณถามไว้ตาม ข้อ 1 ใช่หรือไม่คะ และก็คงหมายถึงว่า บริษัทมีเจตนาที่จะขยายเกณฑ์เกษียณอายุออกไป ใช่หรือเปล่า? คำถามคือ เมื่อบริษัทขยายอายุเกษียณออกไป มันจะมีผลต่อบำเหน็จบำนาญอย่างไรหรือคะ?
หรือ.....คุณกำลังกังวลเรื่อง กรณี 55 ปี สามารถรับเงินบำเหน็จชราภาพจากประกันสังคมหรือเปล่า? ซึ่งกฎหมายกำหนดว่า คุณต้องไม่เป็นลูกจ้างมาตรา 33 หรือหมายถึงต้องไม่ยังคงทำงานกับนายจ้างในมาตรา 33 นะคะ.....ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมุติตอนนี้คุณยังไม่ถึง 55 และคุณก็ไม่ได้เป็นลูกจ้างใคร คุณก็แค่รอถึงอายุ 55 แล้วก็ถึงจะไปขอรับบำเหน็จหรือบำนาญ แล้วแต่ว่าระยะเวลาการส่งเงินสมทบคุณมันยาวนานเท่าใด ง่ายๆ แบบนี้ค่ะ
แต่หากคุณยังคงสถานะการเป็นลูกจ้าง มันได้มากกว่าอีกนะคะ ????
3. เข้า/ไม่เข้าประกันสังคมได้หรือไม่?
ประกันสังคมเป็นกฎหมายที่บังคับให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามค่ะ นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างกับประกันสังคม และต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย ดังนั้น คำตอบคือ ลูกจ้างจะต้องเข้าค่ะ ไม่เข้าไม่ได้ จะถือว่านายจ้างทำผิดกฎหมายค่ะ
ที่จริงแล้ว ฝ่ายที่ควรจะตั้งคำถามว่าไม่เข้าได้ไหม คือนายจ้างมากกว่านะคะ เพราะมันคือกฎหมายที่มีผลให้นายจ้าง ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการพนักงานค่ะ ใครจะอยากมีภาระ จริงไหมคะ?
โฆษณา