27 พ.ย. เวลา 13:05 • การศึกษา

Universal Emotions | อารมณ์พื้นฐานแห่งจักรวาล

คุณๆ ใช่ คุณนั้นแหละ !! เคยสงสัยไหมว่า ทำไมเวลาเห็นคนยิ้มเราถึงยิ้มตาม หรือทำไมเวลาเห็นคนโกรธ เรารู้สึกเหมือนโดนด่าทั้งที่เขาไม่ได้พูดอะไร? 🤔 นี่แหละคือพลังของ ‘อารมณ์พื้นฐาน’ หรือ Universal Emotions ที่นักจิตวิทยาเจ้าไอเดีย Paul Ekman ค้นพบนั้นเอง! 🧠✨
อาจารย์แกบอกว่า ไม่ว่าคุณจะอยู่บนยอดดอยที่ห่างไกล หรืออยู่ในเมืองที่พลุกพล่านกลางโตเกียว ทุกคนบนโลกนี้มี ‘โค้ดลับ’ ที่เหมือนกัน นั่นคือการแสดงออกทางสีหน้า 7 แบบ เช่น ความสุข ความเศร้า ความโกรธ ฯลฯ 💃🕺 อารมณ์เหล่านี้แสดงผ่านหน้าเราโดยไม่ต้องใช้คำพูด แถมยังจับโกหกคนได้ด้วยนะ! (อย่าคิดจะโกหกแฟน ถ้าเขารู้ทฤษฎีนี้ 😏 .. เดี๋ยวนะ ลืมไปผู้เขียนไม่มีแฟน TT)
โดยหนังสือในภาพปก ก็คือการที่คุณ Pual ekman เขาได้เข้าไปศึกษาการแสดงออกทางสีหน้ากับชนเผ่าที่ไม่มีการติดต่อกับโลกภายนอกนั้น เพื่อเป็นการตัดตัวแปรที่ว่า การแสดงออกทางสีหน้า ได้รับอิทธิพลมาจาก วัฒนธรรม ซึ่งผลออกมา ก็แสดงออกเหมือนกันนั้นเอง (ชื่อหนังสือ : The Face of Man: Expressions of Universal Emotions in a New Guinea Village)
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยดีกว่าไหม?
1. ความสุข (Happiness) 😊
โดยที่จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อดังนี้
  • Zygomaticus major: ยกมุมปากขึ้นทำให้ยิ้ม
  • Orbicularis oculi: บีบกล้ามเนื้อรอบตา เกิด "ตายิ้ม" (Duchenne smile)
สารเคมีในสมอง
  • Dopamine: สารแห่งรางวัลและความสุข
  • Serotonin: ช่วยให้รู้สึกสงบและผ่อนคลาย
  • Endorphins: ลดความเจ็บปวดและเพิ่มความสุข
2. ความเศร้า (Sadness) 😢
โดยที่จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อดังนี้
  • orrugator supercilii: หดตัว ทำให้คิ้วขมวด เปลือกตาหดลง
  • Depressor anguli oris: ดึงมุมปากลง ทำให้ดูเศร้า
สารเคมีในสมอง:
  • ลดระดับ Serotonin: ทำให้รู้สึกหดหู่
  • เพิ่ม Cortisol: สารเครียดที่เกิดจากอารมณ์เศร้า
3. ความโกรธ (Anger) 😡
โดยที่จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อดังนี้
  • Corrugator supercilii: คิ้วขมวดแน่น
  • Levator labii superioris: ยกริมฝีปากบน ทำให้หน้าดูดุดัน
  • Orbicularis oris: เม้มปาก
สารเคมีในสมอง
  • Adrenaline: ทำให้ใจเต้นเร็วและเพิ่มพลัง
  • Norepinephrine: ช่วยเพิ่มสมาธิและการตื่นตัว
  • Cortisol: เพิ่มขึ้นในระยะสั้น
4. ความกลัว (Fear) 😱
โดยที่จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อดังนี้
  • Frontalis: ยกคิ้วขึ้น ทำให้ตาดูกว้าง
  • Levator palpebrae superioris: เปิดตากว้าง
  • Platysma: ดึงลำคอลง
สารเคมีในสมอง
  • Adrenaline: กระตุ้นการหนีหรือสู้ (Fight or Flight)
  • Cortisol: เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • Glutamate: ช่วยให้สมองตอบสนองเร็วขึ้น
5. ความรังเกียจ (Disgust) 🤢
โดยที่จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อดังนี้
  • Levator labii superioris: ยกริมฝีปากบน
  • Nasalis: ทำให้จมูกบีบเข้าหากัน
  • Orbicularis oris: ขยับปากทำท่าทางเหมือน "แหวะ"
สารเคมีในสมอง
  • Insula Activation: สมองส่วนนี้เชื่อมโยงกับการตอบสนองต่อสิ่งที่ไม่น่าพอใจ
  • ลด Dopamine: ทำให้รู้สึกแย่
6. ความประหลาดใจ (Surprise) 😲
โดยที่จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อดังนี้
  • Frontalis: ยกคิ้วขึ้น
  • Orbicularis oculi: เปิดตากว้าง
  • Levator labii superioris: เปิดปากเบา ๆ
สารเคมีในสมอง
  • Dopamine: พุ่งสูงชั่วขณะ ทำให้ตื่นตัว
  • Adrenaline: ช่วยให้สมองปรับตัวต่อสถานการณ์ใหม่
7. การดูถูก (Contempt) 😏
โดยที่จะมีการทำงานของกล้ามเนื้อดังนี้
  • Zygomaticus major (ข้างเดียว): ยกมุมปากเพียงข้างเดียว ทำให้หน้าดู "หยิ่ง"
  • Levator labii superioris: ยกริมฝีปากบนข้างเดียว
สารเคมีในสมอง
  • Serotonin: อาจลดลง (ถ้ารู้สึกเหนือกว่าคนอื่น)
  • เพิ่ม Cortisol: บางครั้งเกิดจากความรู้สึกไม่ชอบ
เห็นไหมม Universal Emotions เอาไปใช้ได้เพียบ! 🤩 อยากจับโกหก? แค่สังเกตหน้านิดเดียวก็โป๊ะ! หรือจะใช้ในธุรกิจ อ่านใจลูกค้าจากสีหน้า ได้เปรียบแบบเนียน ๆ 😏 จะออกแบบ AI หรือหุ่นยนต์ ก็เพิ่มความสมจริงด้วยรอยยิ้มแบบ "Duchenne Smile" ส่วนสายครีเอทีฟ สร้างตัวละครในหนังหรือเกมให้คนอินน้ำตาไหลก็ยังได้ 🎬✨ อารมณ์บนหน้านี่แหละ พลังลับที่โคตรเจ๋ง! 😉 (หรือจะเจ๊งขึ้นอยู่กับ Skill ของคุณแล้ว)
ในตอนต่อไป ผมจะพาคุณดำดิ่งลงไปในโลกของ Micro Expressions และ FACS เครื่องมือในสภาพแวดล้อมของมืออาชีพ สำหรับอ่านคนแบบทะลุปรุโปร่ง! 😏 ไม่ว่ามนุษย์จะพยายามซ่อนอะไร สีหน้าก็ฟ้องได้หมดแหละ จะใช้จับโกหกหรือเข้าใจ คนข้าง ๆ ก็ไม่มีพลาด 💡
ref :
Ekman, P., & Friesen, W. V. (1971). Constants across cultures in the face and emotion. Journal of Personality and Social Psychology, 17(2), 124–129.
งานวิจัยนี้ศึกษาการรับรู้อารมณ์ผ่านการแสดงออกทางสีหน้าในวัฒนธรรมต่าง ๆ
Ekman, P. (1992). An argument for basic emotions. Cognition & Emotion, 6(3-4), 169–200.
บทความนี้นำเสนอเหตุผลที่สนับสนุนการมีอยู่ของอารมณ์พื้นฐานที่เป็นสากล
Ekman, P. (1999). Basic Emotions. ใน T. Dalgleish & M. Power (บ.ก.), Handbook of Cognition and Emotion (หน้า 45–60). John Wiley & Sons Ltd.
บทนี้อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับอารมณ์พื้นฐานและการแสดงออกทางสีหน้า
โฆษณา