28 พ.ย. 2024 เวลา 03:02 • ท่องเที่ยว

วัดเจ็ดยอด เชียงใหม่ .. ชมลายปูนปั้นอันงดงามของเจดีย์เจ็ดยอด

วัดเจ็ดยอด หรือ วัดโพธารามมหาวิหาร .. เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2020 โดยพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งราย
.. ในสมัย “ สมเด็จพระเจ้าศิริธรรมจักรวัตติโลกราช ” เชียงใหม่มีฐานะเป็นเสมือนศูนย์กลางของดินแดนล้านนา ในด้านเกี่ยวกับพุทธศาสนานั้น ลัทธิลังกาวงศ์กำลังเจริญรุ่งเรืองในเชียงใหม่มีพระเถระชาวเชียงใหม่ที่ทรงภูมิความรู้ในพระไตรปิฏกและมีชื่อเสียง เช่น พระมหาญาฯคัมภีร์ มหาเมธังกร พระศีลสังวะ ได้นำเอาพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้าสมาประดิษฐานเผยแพร่ในเชียงใหม่และเมืองต่าง ๆ ในดินแดนล้านนา
ในอาณาจักรล้านนา วัดเจ็ดยอดมีความสำคัญยิ่ง ทางพระพุทธศาสนา ทั้งด้านรูปแบบสถาปัตยกรรม คุณค่าความงามทางด้านศิลปกรรม และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ จากประวัติความเป็นมาอันรุ่งเรืองตั้งแต่สมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ราชวงค์มังรายทรงสถาปนาวัดนี้ขึ้น
กล่าวคือ ... ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ลำดับที่ 11 ของอาณาจักรล้านนาไทย พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ทรงสนับสนุนคณะสงฆ์นิกายสิงหล (ลังกาวงศ์) ทรงส่งเสริมการเล่าเรียนทางด้านปริยัติธรรม ทำให้ภิกษุล้านนามีความเชี่ยวชาญภาษาบาลี
ราวปี พ.ศ. 1999 พระเจ้าติโลกราช โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคต เป็นนายช่างทำการก่อสร้างอารามขึ้น .. เมื่อการสถาปนาอารามสำเร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราช โปรดให้นิมนต์พระมหาเถระชื่อ พระอุตมปัญญา มาสถิตเป็นอธิบดีองค์แรก แห่งหมู่สงฆ์ในอารามแห่งนี้
ครั้งนั้น พระเจ้าติโลกราช ได้ทรงสดับธรรมบรรยาย จากสำนัก พระภิกษุสีหล เรื่องอานิสงส์ ปลูกต้นโพธิ์ มีพระราชประสงค์ ใคร่จะปลูกต้นโพธิ์ จึงโปรดให้แบ่ง หน่อมหาต้นโพธิ์ต้นเดิม ที่พระภิกษุสีหลนำมาจากศรีลังกา เอามาปลูกขึ้นไว้ในอาราม ป่าแดงหลวง ที่เชิง ดอยสุเทพ เอามาปลูกไว้ในอารามที่สร้างขึ้นนี้
เพราะเหตุที่หน่อมหาโพธิ์ ปลูกในอารามนี้ จึงได้รับการ ขนานนามว่า "วัดมหาโพธาราม" หรือ "วัดโพธารามมหาวิหาร" เจ้าอาวาสองค์แรกคือ พระโพธิรังษีมหาเถระ ผู้รจนาคัมภีร์จามเทวี
ในปี พ.ศ. 2020 โปรดให้ประชุมพระเถระชั้นผู้ใหญ่ทั่วทุกหัวเมืองในอาณาจักรล้านนา และทรงคัดเลือกได้พระธรรมทิณ เจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้จัดเจนในพระบาลีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พระองค์ทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ .. เพื่อชำระพระไตรปิฎก ณ “วัดโพธารามมหาวิหาร” (วัดเจ็ดยอดในปัจจุบัน) ใช้เวลา 1 ปีจึงเสร็จ
.. นับเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 8 ของโลก เป็นครั้งแรกของไทย และถือเป็นหลักปฏิบัติของสงฆ์ในล้านนา
เมื่อทำสังคายนาพระไตรปิฏกเสร็จ ได้โปรดให้สร้างหอพระไตรปิฎกขึ้นสำหรับเป็นที่รวบรวมพระไตรปิฎกที่ได้ทำการตรวจชำระถูกต้องแล้ว
บรรดากษัตริย์องค์อื่น ๆ ของเชียงใหม่ก็ได้ทำนุบำรุงวัดนี้ต่อกันเรื่อยมา มีเรื่องราวปรากฏเป็นตำนานวัดเจ็ดยอดเป็นภาษาพื้นเมือง ซึ่งพระมหาหมื่น วุฑฒิญาโน แห่งวัดหอธรรม เก็บรวบรวมไมีความตอนหนึ่งว่า
พระเถระเหล่านี้เมื่อกลับมาจากลังกาแล้วได้มาจำวัดอยู่ที่วัดพระยืนนอกเมืองหริภุญชัย ทำการบวชให้กับกุลบุตรเป็นจำนวนมาก เมื่อพระเจ้าติโลกราชได้ทรงสดับถึงกิตตุคุณสีลาจารวัตรของพระเถระเหล่านั้นก็ทรงสรทธาเสื่อมใสเป็นอันมาก ถึงกับทรงพระราชพระราชมณเฑียรในเมืองเชียงใหม่ ต่อมา โปรดให้นิมนต์พระเถระเหล่านั้นจากวัดพระยืนมาจำวัดอยู่ที่นี่และยังสร้างวัดอีกมากมาย อาทิ วัดป่าตาล วัดป่าแดงหลวง พระเจ้าติโลกราชได้ทรงอุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์ ทรงปฏิสังขรณ์และสร้างสถูป เจดีย์ เสนาสนะต่าง ๆ อีกมาก
ต่อมาพระองค์ได้เสด็จออกทรงผนวชท่ามกลางคณะสงฆ์เป็นจำนวนมาก มรมหาญาณมงคลเป็นอุปัชฌาย์ พระอดุลสถิตยาทิกรมมหาสามีเฌร เป็นพระกรรมวาจารย์ พระเจ้าติโลกราชได้สดับพระธรรมเทศนาเรื่องอานิสงค์แห่งการปลูกต้นมหาโพธิ์จากสำนักสงฆ์ลังกาวงศ์ ก็ทรงเสื่อมใสและมีรับสั่งให้พิจารณาหาสถานที่ที่เหมาะสมและได้สร้างพระอารามขึ้น
ต่อมาในปี พ . ศ . ๑๙๙๘ ทรงได้พืชพันธุ์มหาโพธิ์จากคณะสงฆ์ที่ไปลังกาจึงโปรดให้นำมาปลูกไว้ที่อารามแห่งนั้น เป็นสาเหตุให้อารามได้รับขนานนามว่า วัดมหาโพธาราม และโปรดให้ตกแต่งสถานที่แห่งนั้นให้เหมือนสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้
.. ทรงสร้างสัตตมหาสถานให้ครบ ๗ แห่ง คือ โพธิ์บัลลังก์ อนิมมิสเจดีย์ รตนคงกรมเจดีย์ รตนฆรเจดีย์ อชปาลนิโครธเจดีย์ มุจจลินทเจดีย์ และราชายตนเจดีย์
นอกจากนี้แล้วยังสร้างพระวิหาร กำแพง ซุ้มประตู เมื่อเสร็จแล้วก็ทรงโปรดให้มีการเฉลิมฉลองพระอารามเป็นการ ใหญ่ ครั้นถึง พ . ศ . ๒๐๒๐ พระเจ้าติโลกราชโปรดให้อาราธนาพระเถระผู้ทรงภูมิความรู้ในพระไตรปิฏกขึ้นที่วัดนี้ ภายใต้การอุปถัมภ์ของพระองค์ โดยมีพระธรรมทินมหาเถรเป็นประธานทำการสังคายนาอยู่ ๑ ปี จึงเสร็จ
เมื่อพะเจ้าติโลกราชเสด็จสวรรคต พระยอดเชียงรายได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อมา ทรงโปรดให้ทำการถวายเพลิงพระศพพรเจ้าติโลกราชที่วัดเจ็ดยอดนี้ และได้สร้างสถูปบรรจุพระอัฐิและอังคารธาตุของพระองค์ไว้ในวัดนี้
รัชสมัยต่อจากพระยอดเชียงรายคือ พระเมืองแก้ว พระองค์ได้รับพระนามว่า “ พระเจ้าสิริธรรมจักรติลกปนัดดาธิราช ” เมือครองราชย์เมืองเชียงใหม่ พระองค์ได้ทรงทำนุบำรุงวัดเจ็ดยอดสืบต่อมา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สร้างสถูป เจดีย์ ปฏิสังขรณ์วักวาอารามมากมาย
ที่วัดเจ็ดยอด พระอง๕ทรงถวายที่ดินแก่วัดสร้างอุโบสถและผูกพัทธสีมาใหม่ บูรณะหอเฑียรธรรม เมื่อเสร็จทรงโปรดให้มีการฉลองเป็นการใหญ่ และเมื่อพระเมืองแก้วเสด็จสวรรคตในปี พ . ศ . ๒๐๖๘ พระเมืองเกษเกล้าได้เสวยราชย์ต่อมา และทรงโปรดให้ตั้งอธิบดีสงฆ์วัดเจ็ดยอดเป็นพระสังฆราช ...
ต่อมาได้กลายสภาพเป็นวัดร้าง ไม่มีภิกษุพำนักอาศัย แต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่มีที่ควรสันนิษฐานว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๙ หัวเมืองต่างๆ ในแคว้นล้านนา เผชิญกับยุทธภัยทั่วไปหมด
ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงประกาศให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่ เนื่องจากมีกำลังไม่เพียงพอ ที่จะรักษาเมือง และพม่าก็ยกมารุกรานเนืองๆ พระภิกษุ สามเณรและพลเมือง จึงพากันอพยพไปอยู่ตามหัวเมือง อื่นหมดสิ้น
ครั้นถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าบรมราชากาวิละ ได้เป็นเจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่ ตามพระบรมราชโองการของ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลกมหาราช เมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙ เมืองเชียงใหม่ได้กลับตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้น อีกครั้งหนึ่ง กระนั้นก็ดี บรรดาวัดวาอาราม ทั้งที่อยู่ภายในกำแพงเมือง และนอกเมือง ก็ยังมีสภาพเป็นวัดร้างจำนวนมาก
วัดเจ็ดยอด หรือ วัดมหาโพธารามเอง ก็เป็นวัดร้างมาโดยลำดับ เพิ่งมีพระภิกษุสามเณรมาจำพรรษา เมื่อไม่นานมานี้เอง
ปูชนียวัตถุที่สำคัญ ปรากฏในวัดเจ็ดยอด หรือวัดมหาโพธารามปัจจุบันมีดังนี้
เจดีย์เจ็ดยอด : สร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 19-20 จัดเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และนับว่าเป็นเจดีย์รูปทรงแปลกในประเทศไทย คือมียอดตั้งอยู่บนเรือนธาตุสี่เหลี่ยมถึง 7 ยอด เหมือนมหาโพธิเจดีย์พุทธคยาที่ประเทศอินเดีย
ลักษณะสถาปัยกรรมของสถูปเจ็ดยอด มีความคล้ายคลึงกับเจดีย์พุทธคยาที่อินเดียหรือเจดีย์มหาโพธิ์ที่พุกาม ซึ่งลักษณะสถาปัตยกรรมโดยทั่วไปแบ่งออกเป็นส่วนสำคัญได้ ๓ ส่วน
ส่วนฐานเป็นฐานบัว และด้านหน้ากระดานรองรับส่วนที่ทำเป็นคูหา ซึ่งส่วนนี้ทำเป็นลักษณะแบบอุโมงค์เพดานโค้งลึกเข้าไป ภายในสุดผนังด้านหลังของคูหา มีแท่นประดิษฐานพระพุทธรูป
ผนังด้านข้าง ๒ ด้านก่อนด้วยอิฐศิลาแลงหนาหลายชั้น เพื่อใช้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักข้างบน ระหว่างความหนาของผนังนี้ได้ทำเป็นทางเดินแคบ ๆ มีขันบันไดขึ้นสู่ชั้นบน
ฐานเจดีย์ประดับปูนปั้นรูปเทวดา รวมถึงบริเวณด้านนอกพระเจดีย์ก็ประดับงานประติมากรรมปูนปั้นรูปเทวดาทั้งนั่งขัดสมาธิเพชร ประนมหัตถ์อยู่กลางพระอุระ
.. กับภาพเทพยดาพนมมือยืน ทรงเครื่องภูษาภรณ์อันเป็นสมัยนิยมในหมู่ชนชั้นสูงสมัยโบราณ สวมเครื่องศิราภรณ์ทรงเทริด มีทั้งแบบทรงสูงและทรงเตี้ย
… สังเกตบนยอดศิราภรณ์ประดิษฐ์ด้วยลายวิจิตรแตกต่างๆ กันไปในแต่ละองค์ เช่น ลายกระจับ ลายดอกบัว ลายหน้ากาล ลายดอกไม้ ฯลฯ เป็นที่น่าชมยิ่ง
บนพื้นผนังเป็นลายดอกไม้ร่วงคล้ายลายถ้วยชามสมัยราชวงศ์เหม็งของจีน นอกจากนี้ยังมีลายประดับหัวเสาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา แม้พม่ายังรับเอาไปและเรียกว่า “ลายเชียงใหม่”
ส่วนบนหรือหลังคาเหนือคูหาขึ้นไปประกอบด้วยยอด ๗ ยอดด้วยกัน .. คือ กลุ่มยอดทรงกรวยเหลี่ยมแบบยอดศีขรจำนวน ๕ ยอด มียอดสูงใหญ่อยู่กลางยอดเล็กเป็นบริวารประกอบอยู่ ๔ มุม ที่มุขด้านหน้าซึ่งยื่นออกมาทำเป็นเจดีย์ทรงกลมตั้งอยู่ด้านละองค์
สถูปเจดีย์พระเจ้าติโลกราช : เมื่อพระเจ้าติโลกราชสวรรคตในปี พ.ศ.2030 พระยอดเชียงราย ราชนัดดาได้สืบราชสมบัติแทน และโปรดให้สร้างจิตกาธาน (เชิงตะกอน) ขึ้นในวัดนี้
… เพื่อเป็นสถานที่ฌาปณสถานถวายพระเพลิงพระศพของพระอัยกาธิราช แล้วโปรดให้สร้างพระสถูปขนาดใหญ่บรรจุพระอัฐิและพระอังคารธาตุของพระเจ้าติโลกราชไว้ภายในบริเวณวัดวัดเจ็ดยอด
มหาสถูปนี้มีลักษณะเจดีย์ทรงปราสาท ก่ออิฐถือปูน ทรงมณฑปสี่เหลี่ยมย่อมุม มีขนาดค่อนข้างใหญ่เป็นแบบอย่างสถาปัตยกรรมรูปทรงเจดีย์ ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยราชวงศ์มังราย
ลักษณะโดยทั่วไปขององค์สถูปประกอบด้วยฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม ประกอบด้วยลวดบัวและคั่นด้วยลูกแก้วแบบฐานทรงบัลลังก์รองรับส่วนเรือนธาตุ ซึ่งทำเป็นซุ้มจระนำประกอบอยู่ทั้ง ๔ ด้าน
.. ลึกเข้าไปเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีซุ้มคูหาเป็นจตุรมุข หลังคาทรงบัวกลุ่ม
ส่วนเหนือเรือนธาตุขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำหรือบัวถลารองรับส่วนบนซึ่งทำเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา ประกอบด้วยฐานเขียงและลวดบัวซ้อนกันขึ้นไปรองับปล้องไฉน
ส่วนเครื่องยอดต่อขึ้นไปก่อเป็นพระสถูปทรงระฆังกลม ซุ้มคูหาด้านทิศตะวันออกฝังเข้าไปในตัวมณฑป ประดิษฐานพระพุทธปฏิมากรปูนปั้นปางมารวิชัยหนึ่งองค์
มณฑปพระแก่นจันทร์แดง : มณฑปพระแก่นจันทร์แดงนี้ ฐานล่างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส ประกอบด้วยลวดบัวซ้อนกันขึ้นไปรองรับส่วนเรือนธาตุ ซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม
แต่ละด้านของเรือนธาตุทำเป็นซุ้มโค้งเจาะทะลุถึงกันทั้ง ๔ ด้าน เหนือส่วนธาตุชำรุดมาก แต่ก็พอสังเกตได้ว่ามีการทำเป็นยอดทรงมณฑปซ่อนขึ้นไปคล้ายกับมณฑปราสาทหรือกู่ ซึ่งนิยมสร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพะพุทธรูปหรือพระบรมสารีริกธาตุ เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างไว้ภายในวิหาร
สำหรับมณฑปพระแก่นจันทร์แดงนี้ก็เช่นเดียวกัน ตำแหน่งที่ตั้งของมณฑปอยู่ภายในวิหาร โดยสังเกตได้จากส่วนฐานของอาคารซึ่งยังเห็นได้ชัดเจน
มณฑปแห่งนี้ไม่ปรากฏประวัติความเป็นมา แต่มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกล่าวเอาไว้ในราชการของพระเมืองแก้ว ได้มีการอัญเชิญพระพุทธปฏิมากรแก่นจันทร์แดงออกจากวัดบุปผาราม ( สวนดอก ) ไปประดิษฐานไว้ในธรรมเสนาบดีวิหารวัดเจ็ดยอดเมื่อปี พ . ศ . ๒๐๖๘ ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่พระเมืองแก้วสวรรคต
สัตตมหาสถาน : คือสถานที่สำคัญในพุทธประวัติเจ็ดแห่ง ได้แก่ โพธิบัลลังก์ อนิมิตเจดีย์ รัตนจงกรมเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ อชปาลนิโครธเจดีย์ สระมุจลินท์ ราชายตนเจดีย์ และมณฑปปราสาท ตามแบบอย่างโลหะปราสาทในลังกา
.. ปัจจุบันเหลืออยู่ที่วัดเจ็ดยอดเพียง 3 แห่ง คือ อนิมิตเจดีย์ รัตนฆรเจดีย์ มุจจลินทเจดีย์
รัตนจงกลมเจดีย์
รัตนฆรเจดีย์
เจดีย์เจ็ดยอดนี้นับเป็นมหาสถานที่แห่งหนึ่งในบรรดาสัตตมหาสถาน ๗ แห่ง ที่พระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างหลังจากปลูกมหาโพธิ์แล้ว สำหรับเป็นโพธิบัลลังก์ประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย
อนิมมิสเจดีย์ : อนิมมิสเจดีย์เป็นสถูปรูปทรงมณฑปตั้งอยู่บนฐานทักษิณ มีระเบียงล้อมรอบ เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุทรงแปดเหลี่ยม ประกอบด้วยซุ้มจระนำขนาดใหญ่ ๔ ซุ้ม ทำเป็นคูหาลึกเข้าไปสลับกับซุ้มตื้น ๆ ส่วยเหนือเรือนธาตุขึ้นไปชั้นหนึ่งทำเป็นซุ้มโค้งเล็ก ๆ จำนวน ๘ ซุ้ม ซ้อนอยู่เหนือซุ้มที่อยู่รอบ ๆ เรือนธาตุ สำหรับอนิมมิสเจดีย์นี้เป็นส่วนหนึ่งในสัตตมหาสถานที่ได้สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช เมื่อ พ . ศ . + ๙๙๘
พระอุโบสถ : เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นมาภายหลัง
.. ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบไทยล้านนา
ด้านหน้าสวยงาม
บรรยากาศด้านในพระอุโบสถ
ด้านหลังพระอุโบสถ
บริเวณที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ภายในวัด
โฆษณา