28 พ.ย. 2024 เวลา 03:51 • นิยาย เรื่องสั้น

การเตรียมตัวเผชิญปัญหาโรคภัยไข้เจ็บในวัยชรา

โดยพลตรี พรฤทธิ์ นิปวณิชย์ ในปีพ.ศ 2553 ผมมีอายุ 70 ปีและเริ่มมีอาการปัสสาวะไม่ค่อยสะดวก ก็เลยไปตรวจที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี และผมได้ทำบัตรคนป่วยข้าราชการบำนาญกระทรวงกลาโหม เลยไม่ต้องจ่ายเงิน ออกค่ารักษาพยาบาลก่อนแล้วไปเบิกทีหลัง ซึ่งก่อนหน้านั้นผมแทบจะไม่เจ็บไข้ได้ป่วยเลยและแทบจะไม่เข้าโรงพยาบาลและไม่เคยคิดถึงโรคภัยไข้เจ็บ จนกระทั่งผมมีอายุ 70 ปีก็เริ่มพบกับความเจ็บไข้ได้ป่วยซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตคนเรา ผมก็เลยคิดว่าจะเขียน
เรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์แก่ เพื่อนข้าราชการ ประชาชนทั่วไป พนักงานรัฐวิสาหกิจนักการเมือง เพื่อนมนุษย์ร่วมโลก ฯลฯ ให้เตรียมตัวต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บในวัยชราคิดว่าข้อเขียนของผม จะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์ทุกคน ไม่มากก็น้อย ดังจะเรียนให้ทราบดังต่อไปนี้ 1 ชีวิตของคนเราตามคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนานั้น มีเกิดแก่เจ็บตายและถ้ายังไม่สิ้น
กิเลสตัณหา ก็ต้องไปเกิดใหม่อีกไม่มีที่สิ้นสุด จะไปเกิดเป็น มนุษย์ เทวดา สัตว์ สวรรค์ นรก ก็ล้วนแต่กรรมที่กระทำว่าดีไม่ดี ดีไปสู่ที่ดี ไม่ดีไปสู่ที่ไม่ดี นี่คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งถ้าเราศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว เราก็จะเห็นความจริงไม่มากก็น้อย โดยท่านสอนให้รู้ว่า ร่างกายของมนุษย์เรานั้นเต็มไป
ด้วยโรคภัยไข้เจ็บ เต็มไปด้วยสิ่งปฏิกูลของไม่สวยไม่งาม ของเหม็นแล้วก็ต้องแก่ชรา ท้ายสุดก็ต้องตายด้วยกันหมดทุกคน กรรมที่ทำเท่านั้นจะนำไปสู่การเกิดในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไป พระพุทธองค์ถึงสอนให้ละกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตใจ เพื่อไปสู่พระนิพพานอันไม่ต้องมาเกิดแก่เจ็บตายรับทุกข์อีกต่อไป นี่คือสัจธรรมของศาสนาพุทธที่สอนให้เรารู้ความจริง
ของชีวิต สอนให้เราปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์สู่ บรมสุขคือพระนิพพานนี่เป็นข้อคิดประการแรกที่ผมขอฝากไว้แก่เพื่อนมนุษย์ร่วมโลก 2 โรงพยาบาลหมอแพทย์พยาบาลเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เป็นผู้ที่จะรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้หายไปเป็นการทำให้เราหายความทุกข์ทรมาน ดังนั้นโรงพยาบาลจึงเป็นหน่วยงานและสถานที่ที่เราทุกคนควรจะได้ช่วยกันส่ง
1
เสริมบำรุงให้มากที่สุด เพื่อเป็นที่ทำบุญทำกุศล ปลดเปลื้องความทุกข์ให้มวลมนุษย์เป็นสถานที่ที่เราได้บุญกุศล ไปปลงสังเวชละกิเลสตัณหา ตามหลักศาสนาพุทธ เงินงบประมาณค่ารักษาพยาบาลอุปกรณ์การแพทย์อาคารสถานที่ห้องคนไข้เตียงคนไข้บุคลากรแพทย์พยาบาล ( ทั้งหมดนี้ เป็นความในใจของคนป่วยแต่เราเองในฐานะคู่ชีวิตรู้แล้วว่าเป็นเหมือนคำพูดคำ
กล่าวที่ตอกย้ำว่าพี่ใกล้ถึงเวลาจากแล้วนะ เราเองไม่พูด แต่พยายามทำใจจนในที่สุดปี 2566 พี่ก็จากเราไปอย่างไม่มีวันกลับในเดือนตุลาคม 2566 โดยทั้งรู้ว่าจะต้องเจอวันใดวันหนึ่ง ก็ยังทำใจยากเหมือนสายยางใยเหนียว ที่รัดรึงไว้ให้หวลหาระลึกถึงตลอดเวลา นี่ก็จะ 2 ปีเรายังคิดถึง
โฆษณา