11 ธ.ค. เวลา 05:29 • ธุรกิจ

ธุรกิจประเภทใดบ้างที่ควรนำระบบ e-KYC ไปใช้งาน

อ่านบทความฉบับเต็มคลิก : https://bit.ly/3ShQIRn
ระบบ e-KYC สำหรับธุรกิจได้เข้ามาเป็นเครื่องมือ และตัวช่วยสำคัญของธุรกิจยุคใหม่ที่จะยกระดับให้ขั้นตอนการยืนยันตัวตนออนไลน์ทำได้อย่างสะดวก ปลอดภัย และเป็นอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น โดยที่บริการระบบ e-KYC นั้นสามารถนำไปใช้งานได้ในธุรกิจหลากหลายประเภท ไม่จำกัดอยู่แค่เพียงธุรกิจธนาคาร และการเงินเท่านั้น ในบทความนี้เราได้รวบรวมธุรกิจที่สามารถนำระบบ e-KYC ไปใช้งานเพื่อยกระดับขั้นตอนการทำ Customer onboarding ได้
ระบบ e-KYC สำหรับธุรกิจ นำไปใช้งานกับธุรกิจประเภทใดได้บ้าง
ระบบ e-KYC สำหรับธุรกิจสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้กับธุรกิจหลากหลายประเภท โดยที่ระดับของการยืนยันตัวตนนั้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ ข้อกำหนด และความเสี่ยงของการทำธุรกรรมของแต่ละธุรกิจเอง โดยธุรกิจ 6 ประเภทนี้เป็นธุรกิจที่สามารถนำระบบ e-KYC ไปใช้เพื่อยกระดับการทำ Customer onboarding ได้เป็นอย่างดี
1. ธุรกิจธนาคาร และการเงิน
ธุรกิจธนาคาร และการเงินเป็นธุรกิจที่มีการนำระบบ e-KYC ไปใช้งานในวงกว้าง เนื่องจากเป็นการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงินซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ระดับความเสี่ยงตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำจนถึงความเสี่ยงสูง เริ่มตั้งแต่การเปิดบัญชีธนาคาร และการสมัคร Mobile banking ที่จำเป็นต้องมีการไปยืนยันตัวตนที่สาขาของธนาคาร
เนื่องจากเป็นธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูง แต่ถ้าหากเป็นธุรกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำ-กลางนั้นลูกค้าสามารถทำการยืนยันตัวตนออนไลน์ผ่านทางสมาร์ตโฟนได้เองโดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่สาขาของธนาคาร
จากที่เมื่อเดือนมีนาคม 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการสำหรับการโอนเงิน 50,000 บาทต่อครั้ง หรือโอนเงินเกิน 200,000 บาทต่อวัน รวมถึงหากมีปรับวงเงินตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไปใน Mobile Banking จำเป็นจะต้องยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้าทุกครั้ง เพื่อป้องกันกันภัยจากการโดนโจรกรรมทางไซเบอร์ที่เริ่มสร้างความเสียหายให้กับประชาชนมากขึ้นทุกวัน ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าขั้นตอนการยืนยันตัวตนออนไลน์นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญที่ธุรกิจจำเป็นต้องมี เพื่อให้ทุกการทำธุรกรรมเป็นไปอย่างปลอดภัย ไร้กังวล
โดยเฉพาะกับธุรกิจธนาคาร และการเงินที่ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกค้าเลือกใช้บริการ การมีขั้นตอนบริการยืนยันตัวตนที่สะดวก และปลอดภัยขั้นสูงจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้เป็นอย่างดี รวมถึงสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจด้วยบริการที่ปลอกภัย สะดวก และทันสมัย
2. ธุรกิจสินเชื่อออนไลน์
เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง ทั้งในแง่ของผู้ให้บริการสินเชื่อ และจำนวนผู้ใช้งาน โดยเป็นบริการสินเชื่อที่ผู้ใช้งานสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ผ่านทางออนไลน์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ของผู้ให้บริการสินเชื่อ ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัคร และการยืนยันตัวจนเพื่อขอใช้บริการสินเชื่อ การอนุมัติสินเชื่อจนถึงการชำระเงินค่าบริการสินเชื่อ โดยที่ลูกค้า หรือผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สำนักงาน หรือสาขาของผู้ให้บริการสินเชื่อ
จึงทำให้ขั้นตอนการทำ Customer onboarding เพื่อให้ลูกค้าสมัครเข้าใช้บริการสินเชื่อนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจสินเชื่อออนไลน์ โดยเฉพาะขั้นตอนการยืนยันตัวตนออนไลน์ เนื่องจากลูกค้าจำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตนออนไลน์เพื่อเข้าใช้บริการ จึงทำให้ผู้ให้บริการสินเชื่อจำเป็นต้องมีระบบ e-KYC ที่ให้ลูกค้าสามารถใช้ในการยืนยันตัวตนได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ลูกค้าถึงจะสามารถไปยังขั้นตอนถัดไปซึ่งก็คือการขอสินเชื่อ และอนุมัติสินเชื่อได้นั่นเอง
3. ธุรกิจซื้อ-ขายทองออนไลน์
ในปัจจุบันรูปแบบการซื้อ-ขายทองได้พัฒนาไปแบบที่ให้ลูกค้าสามารถซื้อ-ขายทองออนไลน์ได้ผ่านทางเว็บไซต์ และแอปพลิเคชันของผู้ให้บริการซื้อ-ขายทองออนไลน์ ซึ่งตามกฎหมายที่ทาง ปปง. หรือสำนักงานป้องกันและปรามปราบการฟอกเงินได้กำหนดไว้ว่าให้ร้านทองต้องจัดทำขั้นตอนการยืนยันตัวตนของลูกค้าในกรณีที่ลูกค้ามีการทำธุรกรรมตั้งแต่ 1 แสนบาทขึ้นไปหรืออาจมีความเชื่อมโยงต่อเนื่อง
โดยการใช้หลักฐานบัตรประชาชนในการยืนยันตัวตน และร้านทองต้องมีการเก็บข้อมูลไว้ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่มีการซื้อ-ขายทองคำ (ปปง.มีโอกาสตรวจสอบ โดยจะพิจารณาตามความเสี่ยง)
จึงทำให้ระบบ e-KYC ออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญสำหรับขั้นตอนการซื้อ-ขายทองออนไลน์มากยิ่งขึ้นเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของทางปปง. และอำนวยความสะดวกในการยืนยันตัวตนให้กับลูกค้าที่ต้องการซื้อ-ขายทองออนไลน์ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 แสนบาทขึ้นไป รวมถึงยังช่วยยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมการซื้อขายทองคำออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
4. ธุรกิจประกัน
ธุรกิจประกันเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่จำเป็นต้องมีการนำระบบ e-KYC ออนไลน์มาใช้ในการยืนยันตัวตนลูกค้าที่ต้องการทำธุรกรรมตามที่ได้กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นทั้งลูกค้าใหม่ และลูกค้าเก่า เพื่อให้เป็นไปตามพ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งบริษัทประกันต้องดําเนินการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าว่ามีตัวตนอยู่จริงและประสงค์จะทําธุรกรรมกับบริษัทฯ ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
อีกทั้งยังช่วยยกระดับความสะดวกสบายนการทำธุรกรรมโดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเดินทางมาที่สาขา หรือพบเจ้าหน้าที่
5. ธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชัน
สำหรับธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันเองนั้นสามารถ Plug in ฟีเจอร์การยืนยันตัวตนออนไลน์ (e-KYC) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ใช้งานได้เช่นกันที่จะช่วยยกระดับความปลอดภัยในการทำธุรกรรมต่างๆ ในแอปพลิเคชันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเองมั่นใจได้ว่าผู้ที่สมัครเข้ามาใช้งานนั้นมีตัวตนอยู่จริงตรงตามข้อมูลที่ได้กรอกเข้ามาในระบบ และทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจในการใช้งานได้มากขึ้น
ตัวอย่างผู้พัฒนาแอปพลิเคชันชื่อดังอย่าง Tinder แพลตฟอร์มหาคู่ออนไลน์ชื่อดังได้มีการเพิ่มฟีเจอร์ ID verification หรือการยืนยันตัวตนเข้ามาใช้งานกับผู้ใช้งาน Tinder ทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกปลอดภัย และมั่นใจได้ว่าคู่เดทที่ผู้ใช้งาน swift และ match ที่ได้จากการใช้งาน Tinder นั้นเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง และสามารถควบคุมได้เองว่าต้องการจะสร้างปฏิสัมพันธ์กับใครบ้าง
6. ธุรกิจอื่นๆ
ในขณะที่ธุรกิจประเภทอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือจากประเภทธุรกิจที่ได้กล่าวไปด้านบนนั้นสามารถนำระบบ e-KYC มาใช้งานได้เช่นกัน หากมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการยืนยันตัวตนผู้ใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และเป็นอัตโนมัติ เพื่อทำให้การเข้าใช้งานระบบต่างๆ ของธุรกิจมีความรัดกุม และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เทียบกับระบบแบบเดิมที่ใช้เพียงแค่ Username และ Password เท่านั้น
ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนเรียนแบบออนไลน์ของสถาบันการศึกษาเพื่อให้มั่นใจว่านักเรียน หรือนักศึกษาที่ลงทะเบียนเข้ามาเรียนนั้นเป็นบุคคลเดียวกันกับข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ รวมไปถึงการลงทะเบียนเพื่อเข้าใช้งานระบบสมาชิกของธุรกิจเพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆ หากมีการนำระบบยืนยันตัวตนออนไลน์ (e-KYC) มาใช้งานนั้นจะทำให้มั่นใจได้ว่าลูกค้าที่มาใช้สิทธิพิเศษนั้นเป็นบุคคลคนเดียวกันกับข้อมูลที่มีอยู่ในระบบ ช่วยลดปัญหาเรื่องการฉ้อโกง และการปลอมแปลงตัวตนได้เป็นอย่างดี
โฆษณา