Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Bangkok Bank SME
•
ติดตาม
29 พ.ย. เวลา 11:00 • ธุรกิจ
เจาะลึก ‘ตลาดแรงงานอินโดนีเซีย’ สร้างโอกาสธุรกิจ
‘ตลาดแรงงานอินโดนีเซีย’ เป็นปัจจัยสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมภายในประเทศ ซึ่งอินโดนีเซียมีการเติบโตด้านการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง โดยแรงขับเคลื่อนหลักมาจากภาคส่วนต่างๆ เช่น การผลิต การเกษตร และการบริการ นอกจากนี้ การขยายตัวของสังคมเมืองยังมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจ้างงาน ด้วยโอกาสที่มีมากกว่าเมื่อเทียบกับพื้นที่ชนบท
อย่างไรก็ดี ปัญหาการทำงานต่ำระดับ คือ การที่แรงงานทำงานที่ต่ำกว่าความรู้ความสามารถ และปัญหาการจ้างงานนอกระบบ นับว่ายังคงเป็นความท้าทายที่ยังคงมีอยู่
ข้อมูลประชากรและการกระจายตัวของแรงงาน
อินโดนีเซียมีแรงงานมากกว่า 142 ล้านคน ทำให้กลายเป็นประเทศที่มีแรงงานมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งประชากรส่วนมากมีอายุน้อย โดยมีอายุมัธยฐานอยู่ที่ประมาณ 30 ปี ซึ่งข้อมูลจาก Statistics Indonesia พบว่าอินโดนีเซียกำลังเข้าสู่ยุค ‘Demographic Bonus’ หรือสภาวะที่มีประชากรวัยทำงาน (15-64 ปี) มากกว่าประชากรที่ไม่ได้อยู่ในวัยทำงาน โดยจุดสูงสุดของยุคนี้คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2588
ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรดังกล่าวจะกลายเป็นโอกาสสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ หากอินโดนีเซียสามารถใช้ประโยชน์จากความมีศักยภาพด้านแรงงานที่มีอายุน้อยและพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ต้องรับมือความท้าทายด้านการสร้างงาน การศึกษา การสาธารณสุข และความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจด้วย
แรงงานส่วนใหญ่ของอินโดนีเซียกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เขตเมืองอย่าง จาการ์ตา สุราบายา และบันดุง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการจ้างงานที่สำคัญของประเทศ ทั้งนี้เพราะมีโอกาสด้านการทำงานที่หลากหลายในหลายภาคอุตสาหกรรม เช่น ภาคบริการ ภาคการเงิน และภาคเทคโนโลยี เป็นต้น
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำและค่าแรง
อินโดนีเซียมีการแบ่งระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่แตกต่างกันภายใต้มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ โดยจะอนุญาตให้รัฐบาลของแต่ละภูมิภาคสามารถปรับอัตราค่าจ้างดังกล่าวได้ตามสภาพเศรษฐกิจท้องถิ่น เพื่อให้สะท้อนค่าครองชีพและผลิตภาพทางเศรษฐกิจได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในปัจจุบัน
ธุรกิจต่างๆ ถูกห้ามไม่ให้จ่ายค่าจ้างขั้นต่ำล่าช้ากว่าที่กำหนด ยกเว้นธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมเท่านั้น และถึงแม้ธุรกิจขนาดเล็กเหล่านี้จะได้รับการยกเว้นการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำตามภูมิภาคนั้นๆ แต่ยังคงต้องชดเชยให้กับแรงงานอย่างน้อย 50% ของการบริโภคเฉลี่ยของประชาชน หรืออย่างน้อย 25% เหนือเส้นความยากจนของภูมิภาค (เส้นความยากจน คือจำนวนเงินขั้นต่ำที่มนุษย์จะสามารถดำรงชีวิตไว้ได้อย่างชัดเจนด้วยจำนวนเงินนั้น)
การกระจายตัวด้านเพศของแรงงาน
แรงงานอินโดนีเซียส่วนใหญ่เป็นวัยหนุ่มสาว โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งมีอายุอยู่ที่ประมาณ 20-39 ปี อย่างไรก็ดี แรงงานที่อายุมากก็ยังคงมีบทบาทสำคัญ เพราะเป็นผู้มีประสบการณ์อันมีค่าและมีความมั่นคงมากกว่า โดยคิดเป็นสัดส่วนถึงประมาณ 15% ของแรงงานทั้งหมด
อย่างไรก็ดี ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วมในภาคแรงงานมากขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่เมืองและในภาคบริการ โดยในปี 2566 ผู้หญิงมีสัดส่วนประมาณ 38% ของแรงงานทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงกว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ขณะที่ผู้ชายยังคงเป็นแรงงานส่วนมากในอุตสาหกรรมดั้งเดิมอย่าง วิศวกรรม และเทคโนโลยี ซึ่งผู้หญิงยังมีสัดส่วนน้อยกว่า 20% เลยทีเดียว
ที่มา: ASEAN Briefing (2024, October 31). Virda Risyad Pribadi. Indonesia’s labor market: key trends and challenges.
https://www.aseanbriefing.com/news/understanding-the-indonesian-labor-market/
https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2024/20240503081215_46073.pdf
ผู้เรียบเรียง: ณภัสสร มีไผ่แก้ว
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย