29 พ.ย. เวลา 12:35 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

Air pollution may increase risk of a child developing autism

มลพิษทางอากาศอาจเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กจะเป็นโรคออทิสติก
มลพิษที่หญิงตั้งครรภ์สัมผัส อาจส่งผลต่อการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์
นักวิจัยได้ค้นพบว่า มลพิษทางอากาศอาจเพิ่มความเสี่ยงของเด็กในการเกิดเป็นโรคออทิสติก ซึ่งโรคโรคออทิสติกนี้ มีชื่อย่อว่า โรคเอเอสดี ASD ผลจากการวิจัยใหม่ ได้เผยให้เห็นว่า การที่หญิงตั้งครรภ์สัมผัสกับมลพิษทางอากาศทั่วไป อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสมองของทารกในครรภ์ ในช่วงพัฒนาการที่สำคัญ
สำหรับโรคออทิสติกนี้ ถูกจำแนกจากลักษณะพิเศษ 3 ประการคือ
1. ความผิดปกติทางสังคมและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น อาการทางสังคมตั้งแต่ไม่มีความตระหนักถึงบุคคลอื่นเลย ไปจนถึงก้าวก่ายกับผู้อื่นอย่างไม่เหมาะสมกับบริบททางสังคม ความสามารถที่จะมีความเชื่อมโยงกับสังคม และมีความสัมพันธ์กับบุคคลให้เหมาะสมกับอายุนั้นจำกัด
สำหรับเด็กเล็กนั้นอาจจะแสดงให้เห็นว่า ไม่มีความสนใจหรือตระหนักถึงเด็กอื่น ๆ ส่วนเด็กที่โตกว่านั้น ไม่มีเพื่อนรุ่นราวเดียวกัน มักแยกจากสังคม และอาจจะถูกแกล้งหรือล้อเลียน ถึงแม้ว่าพวกเขาจะบอกว่าต้องการเพื่อน แต่พวกเขาไม่เข้าใจเรื่องการมีความสนใจร่วมกัน และการพึ่งพาอาศัยกัน ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของมิตรภาพ พวกเขาขาดทักษะด้านการปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะทางสังคมว่า ควรทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่
2. ความผิดปกติทางการติดต่อสื่อสารที่เป็นภาษา และ ความผิดปกติทางการติดต่อสื่อสารที่ไม่เป็นภาษา เช่น การชี้ การพยักหน้า ความผิดปกติด้านการสื่อสารจะพบได้ค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่พูดช้า ไปจนถึงเงียบไม่พูด ไปจนกระทั่งมีโทนเสียงที่มีลักษณะเฉพาะ และไม่สามารถปรับคำศัพท์และลักษณะสนทนาให้เหมาะกับบริบทแวดล้อมได้ เด็กออทิสติกบางคนถึงแม้สามารถพูดได้ แต่ก็มีความผิดปกติเรื่องความเข้าใจภาษา โดยอาจจะมีความผิดปกติเรื่องความเข้าใจภาษาที่ซับซ้อนขึ้น
3. มีความสนใจที่จำกัด เด็กบางคนได้แสดงถึงความหมกมุ่นอย่างมากในสิ่งที่ตนเองสนใจที่จำกัด อย่างเช่น เครื่องซักผ้า รถไฟ หรือตารางการเดินรถไฟ โดยถ้าสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแม้เพียงนิดเดียว อาจจะทำให้มีอารมณ์หงุดหงิด บางคนอาจจะมีความผิดปกติทางประสาทสัมผัส และมีการตอบสนองสิ่งกระตุ้นทางการได้ยิน การมอง การสัมผัส การเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการตอบสนองที่น้อยหรือมากเกินไป ต่อสิ่งกระตุ้นเหล่านี้ โดยสิ่งกระตุ้นเหล่านี้อาจจะเป็นแหล่งของความพึงพอใจหรือการกระตุ้นตนเอง
อะมัล Haitham Amal ศาสตราจารย์ หัวหน้าโครงการการวิจัยนี้ อธิบายว่า “ความผิดปกติทางระบบประสาทประเภทต่างๆ ซึ่งรวมถึงโรคออทิสติก มีความเกี่ยวข้องกับมลพิษ”
“ช่วงเวลาของการได้รับสัมผัสกับมลพิษ มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในระหว่างการพัฒนาของทารกก่อนคลอด”
ผลจากการวิจัย ที่ตีพิมพ์ในวารสาร อายุรศาสตร์สมอง Brain Medicine ได้ชี้ให้เห็นว่า มลพิษขนาดเล็กพิเศษที่เรียกว่า 'ฝุ่นละอองอนุภาคละเอียด' ซึ่งมีขนาดฝุ่น 2.5 ไมครอนหรือเล็กกว่า หรือชื่อย่อว่า พีเอ็ม PM 2.5
และสารไนโตรเจนออกไซด์ ชื่อย่อว่า NO ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระ ที่อยู่ในรูปของก๊าซซึ่งมีความไวสูงต่อการทำปฏิกิริยา โดยสามารถจะเคลื่อนที่ได้ดีในเซลล์ร่างกายของเรา ได้มีผลกระทบต่อสมองของเด็กมากที่สุด ถึงแม้ว่าพีเอ็ม 2.5 และสารไนโตรเจนออกไซด์นั้น บางส่วนจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติในชั้นบรรยากาศ แต่ส่วนมาก จะมาจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล
นักวิจัยให้เหตุผลว่า การค้นพบนี้ จะเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับบุคคลที่มีความเสี่ยงทางพันธุกรรมสูงที่จะเป็นโรคออทิสติกอยู่แล้ว กล่าวคือ ผู้ที่มียีนที่เสี่ยงต่อโรคออทิสติกนี้อยู่ มักมีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นโรคทางระบบประสาทและโรคทางการพัฒนาการ โดยผู้ป่วยออทิสติกร้อยละ 80 เชื่อกันว่า เกิดมาจากกรรมพันธุ์
อะมัล กล่าวว่า “ปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมนี้ เปิดช่องทางใหม่ในการทำความเข้าใจ ถึงสาเหตุการเกิดที่ซับซ้อน ของโรคออทิสติก”
นักวิทยาศาสตร์แนะนำว่า มลพิษสามารถผ่านเข้าทางรก และไปส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสมองของทารกในครรภ์ได้ นักวิทยาศาสตร์ที่ทำวิจัยนี้ ได้อธิบายถึงเส้นทางที่มลพิษเหล่านี้ สามารถไปส่งผลต่อร่างกายได้ โดยพบว่ามลพิษเหล่านี้ ได้ผ่านเข้าไปในระบบต่างๆ เช่น การส่งข้อความทางเคมีระหว่างเส้นประสาท ปฏิกิริยาทางเคมี และระบบฮอร์โมน
ประชากรโลกที่เป็นโรคออทิสติกนี้ จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 1 ถึง ร้อยละ 1.5 นอกเหนือจากการวิจัยนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้สรุปว่า อะไรเป็นสาเหตุของออทิสติก ผู้เชี่ยวชาญตั้งทฤษฎีว่า ยีนต่างๆ อาจมีปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นโรคนี้ แต่หลักฐานบางอย่างบ่งชี้ว่า ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมอาจมีบทบาท
นักวิจัยหวังว่าการค้นพบนี้ จะช่วยกระตุ้นให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ดำเนินมาตรการป้องกันสำหรับสตรีมีครรภ์ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษสูง
ผู้เขียน : Gracie Abadee
แปลไทยโดย : Wichai Purisa (senior scientist)
โฆษณา