Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Colder Solution สารทำความเย็น โรงงานอุตสาหกรรม
•
ติดตาม
29 พ.ย. เวลา 17:41 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
วิธีคำนวนปริมาณ น้ำยาแอร์
การคำนวณปริมาณน้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็น (Refrigerant) ให้เหมาะสม ถือเป็นกระบวนการสำคัญในการออกแบบ ติดตั้ง และบำรุงรักษาระบบทำความเย็น ไม่ว่าจะเป็น ระบบปรับอากาศ หรือระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรม
ไม่ว่าอุตสาหกรรม หรือธุรกิจของคุณจะใช้ยูนิตการทำความเย็นขนาดไหนก็ตาม ไม่เว้นแม้แต่ตามบ้าน หรือที่พักอาศัย การเติมสารทำความเย็นในปริมาณที่เหมาะสมช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์
ข้อมูลที่จำเป็นในการคำนวนสารทำความเย็น
1. ชนิดของสารทำความเย็น :
• สารทำความเย็นมีหลายชนิด ตั้งแต่ประเภท HFCs เช่น R134a, R410A หรือ HFOs เช่น R454B, R1234yf เป็นต้น แต่ละชนิดมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ต่างกัน จึงจำเป็นต้องเลือกชนิดของสารทำความเย็นให้สอดคล้องกับระบบ และอุณหภูมิที่ต้องการใช้งาน
2. ขนาดและประเภทของระบบ :
• ความสามารถในการทำความเย็น (Cooling Capacity) ซึ่งมักวัดเป็น BTU/h หรือ ตันความเย็น
• ประเภทของอุปกรณ์ เช่น เครื่องปรับอากาศ, Chiller, Condensing Unit หรือระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรม
3. ขนาดของท่อสารทำความเย็น
• ความยาวของท่อ
• เส้นผ่านศูนย์กลางของท่อ
4. ปริมาตรของอุปกรณ์
รวมถึง Condenser, Evaporator และส่วนประกอบอื่นๆ ของระบบ
5. แรงดันและอุณหภูมิในระบบ
ข้อมูลนี้ช่วยให้สามารถคำนวณความหนาแน่นของสารทำความเย็นในสถานะต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ
ขั้นตอนการคำนวณปริมาณสารทำความเย็น
1. การใช้สมการปริมาตร
ปริมาณสารทำความเย็นที่เหมาะสมสามารถคำนวณได้จากสมการ : ปริมาตรภายในระบบ × ความหนาแน่นของสารทำความเย็น
• ปริมาตรภายในระบบ : คำนวณจากปริมาตรของ Condenser, Evaporator และความยาวท่อ
• ความหนาแน่นของสารทำความเย็น : อ้างอิงจากตาราง P-T (ความดัน-อุณหภูมิ) ของสารทำความเย็น
2. การคำนวณตามคู่มือผู้ผลิต
ผู้ผลิตระบบทำความเย็นมักระบุปริมาณสารทำความเย็นมาตรฐานไว้ในคู่มือ (Service Manual) ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอุปกรณ์แต่ละรุ่น
แต่หากมีการปรับความยาวของท่อสารทำความเย็น สามารถเพิ่มสารทำความเย็นตามสูตรที่ผู้ผลิตกำหนด เช่น เพิ่มสารทำความเย็น 20 กรัมต่อความยาวท่อ 1 เมตร เป็นต้น
3. วิธีคำนวณแบบประมาณการ
สำหรับการคำนวณแบบง่าย สามารถใช้สูตรโดยประมาณ เช่น เครื่องปรับอากาศทั่วไป ส่วนมากมักใช้ปริมาณสารทำความเย็น (กิโลกรัม) ≈ 0.1 × ความสามารถการทำความเย็น (ตันความเย็น) หรือในระบบทำความเย็นเชิงพาณิชย์ โดยมากใช้ปริมาณสารทำความเย็นที่ใช้มักเฉลี่ยประมาณ 0.2–0.3 กิโลกรัมต่อตันความเย็น
เมื่อคำนวณปริมาณสารทำความเย็นแล้ว ควรให้ความสำคัญกับการชาร์จน้ำยาแอร์ลงในระบบ และตรวจสอบตรวจสอบแรงดันและอุณหภูมิของระบบให้เป็นไปตามมาตรฐาน รวมถึงตรวจสอบการรั่วไหลของสารทำความเย็นทั้งก่อนและหลังการเติม
การเติมน้ำยาแอร์แบบผิดๆ หรือใช้ปริมาณที่มากน้อยเกินไป รวมถึงการใช้สารทำความเย็นที่ไม่ได้มาตรฐานมักส่งผลเสียให้กับระบบ ซึ่งกระทบไปถึงการใช้พลังงาน และธุรกิจของคุณ
อ่านบทความ "จะเกิดอะไรขึ้น ? ถ้าคุณใช้น้ำยาแอร์แบบผิดๆ" :
https://www.coldersolution.co.th/.../10/wrong-refrigerant/
นอกจาการคำนวนปริมาณสารทำความเย็นให้เหมาะสมกับระบบแล้ว การตรวจสอบระดับสารทำความเย็นอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ระบบทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และประหยัดพลังงาน
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :
https://www.coldersolution.co.th/.../Check-Refrigerant.../
การเติมน้ำยาแอร์ทุกครั้ง ควรกระทำและอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความถูกต้อง และรักษามาตรฐาน ซึ่งไม่เพียงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบ แต่ยังช่วยลดต้นทุนพลังงานและยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์อีกด้วย
เข้าสู่ปีที่ 10 เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนา เปลี่ยนแปลง เพื่อสิ่งที่ดีที่สุดให้กับทุกท่าน l 𝗖𝗵𝗮𝗻𝗴𝗲 𝗳𝗼𝗿 𝘁𝗵𝗲 𝗯𝗲𝘁𝘁𝗲𝗿
เย็นอย่างมีคุณภาพกับ 𝗖𝗼𝗹𝗱𝗲𝗿 𝗦𝗼𝗹𝘂𝘁𝗶𝗼𝗻 🆒
🚚 #พร้อมส่งน้ำยาแอร์ ทั่วประเทศ
📍 บริการทั้งขายปลีกและขายส่ง
📍 ทุกขนาด สำหรับอุตสาหกรรม ปรับอากาศ และทำความเย็นทุกประเภท
ติดต่อเรา :
Line id : @Colder หรือคลิก :
https://lin.ee/VEnKS4M
Website :
www.coldersolution.co.th
✉ Email :
kantawan.coldersolution@gmail.com
#น้ำยาแอร์ #น้ำยาทำความเย็น #สารทำความเย็น #Refrigerant #เติมน้ำยาแอร์ #ชาร์จน้ำยาแอร์ #ColderSolution
เทคโนโลยี
วิศวกรรม
อุตสาหกรรม
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย