30 พ.ย. เวลา 01:41 • การศึกษา

สติ สกัด อารมณ์

พระพรหมพัชรญาณมุนี (พระอาจารย์ชยสาโร)
“... การรักษาศีลเช่นเดียวกัน
▪︎ในชีวิตประจำวัน ถ้าเราอยู่ในที่ชีวิตสลับซับซ้อน มันหลายเรื่องที่ดีหรือเปล่า ,ไม่ดีหรือเปล่า แล้วจิตที่ตัดสินว่า อะไรดี อะไรไม่ดี เราก็ยังไว้ใจไม่ค่อยได้
ส่วนมากมันเกิดอยากอะไรสักอย่าง แล้วสติ ปัญญาก็วิ่งมาหาเหตุ - หาผล สนับสนุนสิ่งที่อยากทำ สิ่งที่ไม่อยากทำ จนตัวเราเองก็ไม่นานก็เชื่อว่าเราทำเพราะเหตุผล
แต่ ถ้าเราดูให้ดีเราจะสังเกตว่า อารมณ์มาก่อนเหตุผล
การมีเหตุมีผล…ใช่ แต่เป็นเหตุผลแบบไหน?
เหตุผลมาก่อนอารมณ์ หรือ เหตุผลมาหลังอารมณ์
นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่น้อยคนจะตอบได้ด้วยความมั่นใจ
การรักษา#ศีล ก็ทำให้เรามีหลักตายตัว ที่ไม่ขึ้นอยู่กับเรา ไม่ขึ้นอยู่กับความอยาก หรือไม่อยาก ไม่ขึ้นอยู่กับอารมณ์ แต่ มันเป็นหลักที่เราเชิดชูเอาไว้ ระลึกเอาไว้
เช่น เรื่องของการไม่ฆ่าสัตว์ เราก็ไม่ได้เอาเรื่องเหตุผลว่าบางทีก็จำเป็น มันอยู่ในใจตลอดเวลาว่า ไม่ฆ่าสัตว์ ฉะนั้นในโอกาสที่จิตลอยตามกระแส ความเคยชิน สมมติว่า ยุงกัด ตามธรรมชาติ ตามสัญชาตญาณ เราจะตบ
แต่ถ้าเราสมาทานศีล แล้วก็ระลึกอยู่ในศีลบ่อยๆ ทุกวัน ทุกวัน เราก็จะสังเกตว่า กำลังจะตบยุง แล้วมัน ฉุกคิดได้ เรียกว่า ตื่นจากหลับ สติ เกิดเพราะ ศีลข้อที่ 1 เป็นเงื่อนไข
เราตื่นขึ้นมา รู้ตัวขึ้นมา แล้วก็สังเกตว่าสติเกิด จิตจะหยุด กระแสมันจะชะงักไป แล้วช่วงนั้น ในระยะสั้นๆ ความคิดเรื่องบาปบุญ-คุณโทษ ควร-ไม่ควร เหมาะสม-ไม่เหมาะสม ผุดขึ้นมาเลย
นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมเราจึงเอาคำว่า 'สติกับปัญญา' เชื่อมกัน
▪︎ เพราะ สติ เป็นเงื่อนไขของการใช้ ปัญญา
ถ้าปัญญา เป็นแค่ความรู้เฉยๆ ต้องเรียนรู้ว่าอะไรถูก อะไรผิดแน่นอน แต่ไม่ใช่แค่นั้นพอใช่ไหม เราต้องสามารถเข้าถึง สามารถตระหนัก สามารถดึงความรู้นั้นทันเหตุการณ์ แล้วเราก็เจอจุดอ่อนของเราตรงนี้ ซึ่งเราก็รู้ๆ อยู่แต่ในขณะที่อารมณ์ครอบงำ
เราไม่รู้อะไรสักอย่าง ก่อนหน้านี้ก็รู้ทุกอย่าง แต่พอเกิดอารมณ์ เกิดกิเลส นี่ไม่รู้อะไรสักอย่าง พออารมณ์หายไป ก็กลับมาเป็นคนรู้หมดทุกอย่างเหมือนเดิม อาตมาจึงว่า คนเรานี่ฉลาดมาก เว้นแต่ช่วงที่เราโง่ ฉลาดบางเรื่อง
เราต้องเจริญสติในชีวิตประจำวัน
โอกาสที่เราจะมีการเลือก ระหว่างขาวกับดำนี่มันน้อยมาก หลายเรื่องเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ต่อไปข้อมูลมันจะไม่ครบ
ถ้าเทียบกับการสอบในโรงเรียน การสอบ Multiple Choice คือมันไม่ค่อยจะเป็นการเตรียมตัวสำหรับชีวิตจริง เพราะมีข้อหนึ่งที่เรารู้ว่า ในคำถามข้อนี้มีข้อมูลทั้งหมดที่เราจำเป็นต้องใช้เพื่อตัดสินว่า อะไรถูก-อะไรผิด
ข้อที่สอง มีคำตอบข้อเดียวที่ถูก
ในชีวิตจริง เวลาเราพิจารณาอะไรว่า อย่างนี้ดีไหม อย่างนี้ดีไหม ข้อมูลครบหรือเปล่า ยากมาก น้อยมากที่เรามั่นใจว่า ข้อมูลครบ
แล้วมีคำตอบข้อเดียวที่ถูกไหม
A B C D อันไหนถูก
มันบางที
A ก็...เป็นได้เหมือนกัน
B ...ก็เป็นได้เหมือนกัน
C ก็เป็นได้เหมือนกัน
คือ ไม่มีถูก-มีผิด เหมือนในการสอบในโรงเรียน
เพราะฉะนั้นคนที่สอบในโรงเรียน ไม่ได้หมายความว่าจะสอบปัญหา ผ่านปัญหาชีวิต เพราะมันเป็นปัญหาคนละอย่าง
เราฝึกสติ ต้องรู้ตัว ต้องรู้อารมณ์ตัวเอง แล้ว ศีล อย่างน้อยถึงจะทำผิดพลาด จะไม่ถึงการเสียหาย เพราะตราบใดที่ยังอยู่ในกรอบ ในมุม ก็เป็นการเสียความทรงตัว แต่กลับมาตั้งต้นได้ไม่ยาก
แต่พอ ศีล ข้อใดข้อหนึ่งขาดไป…นี่อันตราย …”
พระพรหมพัชรญาณมุนี
(พระอาจารย์ชยสาโร)
ณ บ้านบุญ ๑๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๖
FB: Dhamma Break by Ajahn Pasanno & Jayasaro
โฆษณา