Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เมืองไทยไดอารี่ by Supawan
•
ติดตาม
30 พ.ย. 2024 เวลา 07:55 • ท่องเที่ยว
วัดป่าดาราภิรมย์ .. เชียงใหม่
“วัดป่าดาราภิรมย์” ตั้งอยู่ที่ ตำบลริมใต้ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี นับได้ว่าเป็นพระอารามหลวงแห่งที่ 7 ในจังหวัดเชียงใหม่
วัดแห่งนี้มีความสวยงามอายุกว่า 100 ปี ติดอันดับวัดสวย ในจังหวัดเชียงใหม่ ชื่อของวัดนี้ถูกตั้งขึ้นตามพระนามของ “เจ้าดารารัศมี” พระราชชายาในรัชกาลที่ 5
พื้นที่เดิมของ “วัดป่าดาราภิรมย์” เคยเป็นป่าช้าทิ้งร้าง ที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กับเขตพระตำหนักดาราภิรมย์ ของเจ้าดารารัศมี ..
Photo : ainternet
ประวัติของวัด เริ่มจากในปี พ.ศ. 2471 หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้รับอาราธนาจากพระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปจาจารย์จันทร์ สิริจนฺโท ให้มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่ .. โดยเริ่มแรกที่วัดเจดีย์หลวง พอออกพรรษาท่านก็ออกจาริกธุดงค์ ไปแสวงหาความสงบสงัด
ในปี พ.ศ. 2473 ได้จาริกมาทางอำเภอแม่ริม ได้พักอยู่ที่ป่าช้าร้างบ้านต้นกอก ซึ่งในขณะนั้นเต็มไปด้วยป่าไม้สักและไม้เบญพรรณ ซึ่งในขณะนั้นยังไม่พลุกพล่านด้วยผู้คน บรรยากาศภายในวัดเงียบสงบมาก
.. หลังจากนั้นก็มีพระสงฆ์เข้ามาบำเพ็ญกรรมฐานกันมากขึ้น ชาวบ้านจึงเกิดความศรัทธาร่วมแรงร่วมใจกันสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ถวายเพื่อให้คณะสงฆ์ได้ใช้ในกิจการสงฆ์
สำนักสงฆ์ ได้รับการประกาศตั้งเป็นวัดวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2481 เรียกกันว่า “วัดป่าวิเวกจิตตาราม” หรือ “วัดป่าเรไร”
ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 “เจ้าลดาคำ ณ เชียงใหม่” ทายาทของ “เจ้าดารารัศมี” ได้ถวายที่ดินที่อยู่ในเขตพระราชฐานพระตำหนักเจ้าดารารัศมีให้แก่วัด และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดป่าดาราภิรมย์” มาจนถึงปัจจุบัน
.. ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2522 ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
วัดแห่งนี้มีความโด่ดเด่นที่ สถาปัตยกรรมล้านนา .. มีพระวิหารหอคำหลวง ประดิษฐานพระพุทธรูปมากมาย ส่วนพระประธานประดิษฐานในมณฑป พระนามว่า “พระพุทธมหาธรรมิกราชาธิราชเจ้า พระเจ้าธรรมจักรพรรดิ” นอกจากนี้ก็ยังมี “ท้าวเวสสุวรรณ” ภายในพระวิหาร มณฑปพระเจ้าทันใจ เป็นต้น บรรยากาศรอบล้อมด้วยความร่มรื่น สวยงาม และด้วยความสงบทำให้ที่นี่มักมีผู้มาปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ
ประติมากรรมขนาดใหญ๋โตของสิงห์ ณ ประตูทางเข้าของวัด เป็นสิ่งแรกที่ต้อนรับผู้มาเยือนเมื่อเราเดินเข้ามาภายในบริเวณวัด ..
โคมยี่เป็งแบบล้านนาหลากสีที่ประดับเป็นสายเส้น .. สร้างมุมมองที่งดงามเคล้ากับบรรยากาศความเป็นล้านนาตรงด้านหน้าวัด รวมถึงเร้าให้เกิดความรู้สึกอยากจะศึกษาความเป็นมาของวัดสวยแห่งนี้มากขึ้น
“พระอุโบสถ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี”
.. นับเป็นอาคารหลักที่สำคัญหลังหนึ่งของวัด ได้รับการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 10 มกราคม ปีพ.ศ. 2510 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระนามเดิม จวน ศิริสม ฉายา อุฎฺฐายี เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร) ซึ่งเสด็จมาพร้อมกับ สมเด็จพระสังฆราช เจ้าฟ้ากรมหลวงวขิรญาณสังวร ซึ่งขณะนั้นเป็นเจ้าอาวาส วัดบวรนิเวศน์วิหาร
สถาปัตยกรรมของพระอุโบสถ .. ก่อสร้างตามรูปแบบศิลปะล้านนาหลังคาซ้อนสามชั้น ช่อฟ้าและหางหงส์เป็นรูปสลักสัตว์สัตว์ในป่าหิมพานต์ตามความเชื่อเรื่องจักรวาลสีทอง
หน้าบันประดับด้วยลายดอกไม้และก้านไม้ม้วน ลวดลายเครือเถาล้านนาสีทอง ล้อมรอบดาว 3 ดวง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของ พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
Photo : Internet
ตลอดชายคาประดับด้วยกระดิ่งใบโพธิ์ซึ่งจะไหวและสงเสียงให้ชุ่มชื่นใจเมื่อลมพัดผ่าน กึ่งกลางของสันหลังคาทำเป็นรูปปราสาทเรียงกัน 9 ชั้น
ด้านหน้าทางขึ้นสู่พระอุโบสถประดับด้วยประติมากรรมรูกมกรคายพญานาค
.. ลวดลายปูนปั้นนั้นวิจิตรอลังการมาก ความงดงามของลวดลายแสดงถึงฝีมือเชิ่งชั้นชั้นครูทีเดียว
รูปปั้นยักษ์ขนาดเล็ก มองดูเหมือนยักษ์รุ่นเยาว์ .. โดยเฉพาพอย่างย่างอิริยาบทของยักษ์แต่ละตัวศิลปินได้สร้างสรรค์ออกมาได้น่าเอ็นมาก เหมือนจับเอาหลานๆมาแต่งตัวเป็นยักษ์ แล้วให้นั่งเป็นหุ่นตอนปั้น .. เห็นแล้วอดยิ้มไม่ได้
ซุ้มหน้าต่าง มุมพระอุโบสถ และพื้นที่ผนังโดยรอบ .. ประดับด้วยปูนปั้นลวดลายล้านนาวิจิตรสวยงาม เป็นรูปนกยูงประดับกระจกสี เทวดา และลวดลายเครือเถา ลวดลายอื่นๆ มีพญานาค 3 คู่ .. สิงห์ 1 คู่ .. เทวดา 3 คู่ และมอม 1 คู่
ประตูทางเข้าพระอุโบสถและส่วนประกอบ .. สวยงาม ปราณ๊ต วิจิตร อลังการที่สุด
Photo : youtube
Photo : youtube
ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ โดยมีพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิเพชรในศิลปะล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่งเป็นองค์ประธาน คือ “พระสยัมภูโลกนาถ” .. เสาของอาคารเป็นเสากลมตกแต่งด้วยลายอย่างไทยสีทอง
Photo : Internet
พระอุโบสถแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ มาผูกพัธสีมา และทรงตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 พร้อมลงพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธยบนแผ่นหินอ่อน พร้อมปลูกต้นไม้ไว้เป็นที่ระลึก
Photo : youtube
Photo : youtube
Photo : youtube
ด้านหลังพระอุโบสถมีภาพสร้างสรรค์จากแก้วประกับกระจก ชื่อ “หม้อปูรณฆฏะ”(Pūrṇa-ghạta) “หม้อน้ำที่ปริ่มด้วยความเจริญงอกงามไม่สิ้นสุด” สัญลักษณ์มงคลที่หมายถึง “ความอุดมสมบูรณ์”
พระวิหารหอคำหลวง
พระวิหารหอคำหลวง .. เปรียบเสมือนพื้นที่ต้อนรับของวัด รวมถึงเป็นสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ เช่นการรับกฐินนหลวงพระราชทาน ผ้าป่า และเป็นสถานที่ดำเนินกิจต่างๆของพระสงฆ์
พระวิหารหอคำหลวง สร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมยุคทองของล้านนา จำลองมาจากรูปแบบของ “หอคำหลวง” หรือ ท้องพระโรงของกษัตริย์ล้านนาในสมัยโบราณ .. เมื่อปี พ.ศ. 2544 เนื่องในโอกาสที่วัดได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพรารามหลวงในปี 2542 และถวายเป็นพระราชกุศลเชิดชูบารมีในเสด็จพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5
ภายในวิหารหลวงนั้นงดงามมาก ลวดลายแกะสลัก และจิตรกรรมฝาผนัง ตามจุดต่างๆนั้นวิจิตรบรรจง .. เป็นที่รวมศิลปะการแกะสลัก ปูนปั้น และลายคำแบบล้านนา
ท้าวเวสสุวรรณ สร้างด้วยวัสดุเงินดุนลาย .. ตั้งอยู่ในตู้ไม้สัก ณ เสาคู่ด้านในของพระวิหาร ได้รับความศรัทธามาก
Photo : Internet
Photo : Internet
Photo : youtube
ของวิหารหลวง ประดิษฐาน “พระพุทธมหาธรรมมิกราชเจ้า พระเจ้าธรรมจักรพรรดิ์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องที่งดงามมาก ประดิษฐานในซุ่มบุษบกแบบมณฑปปราสาท
พร้อมพระบรมสารีริกธาตุ และแวดล้อมด้วยรูปพระพุทธเจ้า 28 พระองค์
.. พระพุทธรูปโบราณสวยๆอยู่มากมายหลายองค์เลยทีเดียว ตั้งอยู่เป็นกลุ่มด้านในของพระวิหาร .. บางองค์คงจะเป็นพระพุทธรูปแบบเดียวกับของพม่า
หลายองค์ลักษณะเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องของภาคกลาง ..
บางองค์คล้ายกับพระสังขจายน์
เราชอบพระพุทธรูป และที่ประดิษฐานพระพุทธที่สลักเสลาได้วิจิตร อวดฝีมือเชิงช่างท้องถิ่น และความศรัทธาอย่างสูงของผู้สร้าง
เจ้าดารารัศมี .. ผู้มีคุณูปการอย่างสูงต่อวัดป่าดาราภิรมย์
มณฑปพระจุฬามณีศรีบรมธาตุ (หอแก้ว)
มณฑปพระจุฬามณีศรีบรมธาตุ (หอแก้ว) .. เป็นที่ประดิษฐานพระทันตธาตุเจ้า พระเขี้ยวฝาง ซึ่งได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2549 โดยพระเดชพระคุณพระพุทธพจนวราภรณ์ เพื่อประดิษฐานพระทันตธาตุเจ้า
ลักษณะสถาปัตยกรรม เป็นมณฑปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 21 เมตร สูง 2 ชั้น มีหลังคาซ้อนกัน 4 ชั้น ยอดมณฑปเป็นรูปทรงปราสาทเจดีย์ปิดทองคำหุ้ม จังโก ลักษณะเป็นศิลปะล้านนาไทยผสมสกุลไต .. ความสูงจากฐานถึงยอดฉัตร 39 เมตร
อาคารวิหารมีหลายชั้นต่อยอดขึ้นไป ผิดแปลกจากสถาปัตยกรรมทางศาสนาพุทธตอนกลางอย่างกรุงเทพอย่างสิ้นเชิง .. และด้วยรูปทรงนี้ทำให้นึกถึงวัดที่ญี่ปุ่นที่เราเคยไปเพ่งพิศ ..
บริเวณที่ก่อสร้างมณฑปอยู่ตรงกลางวัด ซึ่งเป็นชัยมงคล .. เดิมเป็นศาลาปฏิบัติธรรมตั้งแต่ก่อสร้างวัด งานออกแบบสถาปัตยกรรมยึดเอาคติความเชื่อในจักรวาลทางพระพุทธศาสนา โดยสมมุติเอามณฑปเป็นเขาพระสุเมรุอันเป็นแกนของจักรวาล และแต่ละชั้นของมณฑปคือสวรรค์วิมานต่างๆ
โดยชั้นที่สองเปรียบเสมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ .. ตรงกลางมีมณฑปจุฬามณี แทนพระเกศแก้วจุฬามณีศรีบรมธาตุในสรวงสวรรค์ อันเป็นที่ประดิษฐานพระเกศแก้วโมลีของพระพุทธเจ้า ที่องค์อัมรินทร์อัญเชิญไปประดิษฐานพร้อมพระทันตธาตุพระเขี้ยวแก้วที่โทณพรามห์ขโมยไปเสียบมวยผมในวันแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
.. ในวันพระวันโกน องค์เทพยดาทั้งหลาย ตั้งแต่ท้าวสักกะ ตลอดจนพระบรมโพธิสัตว์ทั้งหลาย มีองค์พระศณีอริยเมตไตร เป็นต้น จะลงมาสักการะไหว้พระสวดมนต์ เวียนเทียนป็นประจำ
รอบพระวิหารมีประติมากรรม และเครื่องสูงในราชสำนักต่างๆที่น่าสนใจมาก .. รูปเทพารักษ์คุ้มครองในหลายลักษณะอิริยาบถ ซึ่งล้วนชวนให้คิดว่า มีความเกี่ยวข้องกับราชสำนักทั้งนั้น ไม่ว่าจะเครื่องทรงองค์เทพ ฉัตรที่อยู่บนตัวแบกที่มีหัวเป็นพญานาค ตัวเป็นสิงห์ หางของหงส์ เป็นต้น
พญานาคที่ดูอ่อนช้อย สวยงาม .. มองเห็นอยู่มาก ทั้งในการเฝ้าหน้าอุโบสถ ที่หน้าบัน (สามเหลี่ยมข้างหน้าของหลังคา) หางของพญานาคจะยาวมาบรรจบกันที่จุดศูนย์กลาง ตามความเชื่อบางอย่างทางศาสนาพุทธที่บอกถึงการมีส่วนร่วมของพญานาคต่อศาสนาพุทธ
เราชื่นชอบมากมาย กับประติมากรรมสัตว์ในจินตนาการที่ปั้นด้วยปูน ประดับด้วยลวดลายที่อ่อนช่อนมาก และประดับด้วยกระจกสี
.. ทั้งสัตว์ที่มีหัวเป็นช้างตัวเป็นสิงห์ .. ตัวมกร และสัตว์อีกหลายตัวที่รูปร่างทำให้เดาว่าน่าจะได้รับอิทธิพลของศิลปะจีนเข้ามาผสมผสาน
เทหัวใจให้กับประติมากรรมยักษ์ขนาดเล็ก เหมือนยักษ์เด็กที่ปรากฏเป็นรูปประดับอยู่หลายจุดรอบๆพระวิหาร
.. ท่าทีลักษณะของแต่ละตัวไม่ซ้ำกัน เหมือนคนแต่ละคนที่จะมีเอกลักษณ์ของตัวเองที่แตกต่างกันไป ราวกับมีชีวิตจริงๆ ยิ่งทำให้รู้สึกวัดมีชีวิตจริงๆ
ภายในมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ที่มีคุณค่า โดยมี “พระเจ้าล้านทอง” เป็นพระประธานซึ่งประดิษฐานอยู่ในซุ้ม .. ด้านข้างซ้ายขวาขอลพระประธาน คือ พระเจ้าเงินหลวง และพระพุทธสิหิงส์
รูปเหมือนพระอริยสงฆ์ คือ หลวงปู่มั่น และหลวงปู่จันทร์ ประดิษฐานอยู่ บรรยากาศสงบเงียบ เหมาะแก่การเจริญสติเป็นอย่างมาก
“สัตตภัณฑ์ – สัตภัณฑ์” เป็นคำในภาษาล้านนาหมายถึง "เชิงเทียนที่ใช้ในการบูชาพระประธานในวิหาร" โดยทั่วไป สัตตภัณฑ์มี 2 รูปแบบ แบบหนึ่งมีลักษณะเป็นบันไดลดหลั่น 7 – 9 ชั้น อีกแบบหนึ่งเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว แต่ทั้ง 2 แบบมีส่วนที่เหมือนกันคือ มีเสาสำหรับการปักเทียน 7 ต้นที่มีระดับสูงต่ำลดหลั่นกัน (คติความเชื่อในเรื่องนี้จะนำมาเสนอในโอกสต่อไป)
ส่วนรูป “นาค-พญานาค” ที่ประกอบในงานศิลปะของเชิงเทียนสัตตภัณฑ์นั้น เป็นคติความเชื่อพื้นถิ่นพื้นฐานของกลุ่มคนตระกูลไท – ลาว ทั้งในล้านนาและล้านช้างที่ผูกพันกับเรื่องราวของนาค ดังปรากฏในวรรณกรรมล้านนา ที่กล่าวถึงเรื่องของนาคในตำนานที่มีบทบาทสำคัญในพุทธศาสนาในตอนต่าง ๆ
.. ทั้ง นาคที่ได้เข้าร่วมการโปรยดอกไม้ทิพย์เมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ, พญานาคมุจลินท์ที่ขดขนานกาย 7 รอบแผ่พังพานเหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้าในพุทธประวัติตอนเสวยวิมุตติสุข แม้กระทั้งเรื่องของ นาคที่แปลงกายเป็นชายหนุ่มมาขอบวช เนื่องจากมีข้อห้ามมิให้สัตว์ออกบวช และ นาคราชที่เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า เพื่อขอให้พระพุทธเจ้าห้ามภิกษุบริโภคเนื้องู
จิตกรรมฝาผนังที่วิจิตรงดงาม .. ศิลปะล้านนานั้นสวยอ่อนช้อย เห็นแล้วใจพองๆฟูๆ
Photo : youtube
Photo : Internet
Photo : youtube
ชั้นบนที่สอง ...ตรงกลางมีมณฑปจุฬามณี เป็นสถานที่ประดิษฐานพระธาตุเขี้ยวฝาง ซึ่งบรรจุอยู่ในผอบที่มีจารึกอักษณว่า "ศากยะ"อันเป็นพระนามขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า..
จากตำนานเล่าชานว่าพระทันตธาตุเจ้าองค์ประเสริฐที่ประดิษฐาน ณ วัดป้าคาราภิรมย์ พระอารามหลวงแห่งนี้ เป็นพระทันตธาตุ ๑ ใน ๓๖ องค์ที่ไม่ได้ถูกเพลิงทิพย์ไหม้ไปพร้อมกับพระพุทธสรีระ มีสัญฐานเป็นฟันกราม(เขี้ยวฝาง)ที่สมบูรณ์ มีวัฒณะสีดอกจำปาหุ้มมด้วยทองคำมีอักษรจารึกว่า "ศากยะ" อันเป็นพระนามขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
.. และมีความเป็นมาตามจารึกที่พบบนผอบพระทันตธาตุในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังจากพระองค์ทรงประกาศอิสรภาพ ได้ทรงร่วมกับพระอนุชา พระเอกาทศรถ รวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่ให้อยู่ในขันธสีมาเดียวกัน
.. เมื่อทรงปราบเมืองหงสาวดีแล้วได้เดินทัพมาถึงรัฐไทยใหญ่ในสมัยนั้น ยังความยินดีแก่ข้าแผ่นดินทั้งหลาย พระองค์มีพระราชประสงค์จะสร้างพระเจดีย์ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ จึงได้รับคำแนะนำจากพระสังฆาจารย์ สมเด็จพระวันรัตน (มหาเถรคันฉ่อง) ให้น้ำคณะสงฆ์และกรมการไปอัญเชิญพระทันตธาตุนี้จากเมืองลังกามาประดิษฐานไว้ ณ พระเจดีย์แห่งนี้ กับทั้งถวายเครื่องสรรพบริวารพร้อมจารึกพระนามของพระองค์และพระอนุชาเป็นพุทธบูชา
ต่อเมื่อกาลล่วงเลยมาถึงปัจจุบัน พระธาตุดังกล่าวได้รกร้างจนมีคณะศรัทธาชาวไทยเดินทางไปบูรณะ ได้พบผอบบรรจุพระทันตธาตุและเครื่องบริวาร จึงทราบความเป็นมาตามจารึกอักษรล้านนาบนผอบดังกล่าว จึงได้ขออนุญาตเจ้าอาวาสนำพระทันตธาตุและเครื่องบริวารที่ชุดพบกลับมาประดิษฐานที่เมืองไทย ถวายไว้เป็นสมบัติของชาติเพื่อเป็นที่เคารพลักการะของเหล่าเทวดาและพุทธศาสนิกชนชาวไทย
บนยอดสุดบรรจุพระบรมธาตุที่ได้รับประทานมอบจากสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เปรียบเหมือนจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือพระนิพพาน โดยมีพระวิหารหลวงหอคำ พระอุโบสถดารารัศมี หอกิตติคุณมณฑป พระเจ้าทันใจ เปรียบเหมือนชมพูทพูทวีป .. ตลอดจนถึงป่าไม้ในวัดเปรียบเหมือนป้าหิมพานต์ รูปปั้นพญานาค สิงห์ เปรียบเหมือนสัตว์ในหิมพานต์
ซุ้มมประตูโชงเปรียบเหมือนประตูแห่งจักรวาล คลองชลประทานหน้าวัดและสระแห่งพระอุปคุตเปรียบเหมือนคงคา สนามหญ้าที่อยู่รายรอบแทนสนามทราย เปรียบเหมือนมหาสมุทรศรีทันดร ทั้งหมดเป็นการจำลองคติความเชื่อทางระบบจักรวาลในคดีโบราณของชาวพุทธ โดยอาศัยยอดมณฑปองค์พระบรมธาด เป็นแกนของจักรวาล แล้วเสร็จพิธีฉลองสมโกช เมื่อวันที่ ๑๙ - ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๓
.. ทุกวันวิสาขบูชา จะมีการนะพระธาตใสต่างนกยูงเงินที่สวยงาม ออกมาให้ผู้คนมาสักการะ กราบไหว้บูชา
พระบรมธาตุเจดีย์
พระบรมธาตุเจดีย์เฉลิมพระเกียรติ ในวโรกาสปีพ.ศ. ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ ๖๐ พรรษา ทางคณะสงฆ์และศรัทธาสาธุชน
โดยมีพระเทพกวี (จันทร์ กุสโล ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเลื่อนสมสมฆดิ์เป็นพระพุทธพจนวราภรณ์) เจ้าอาวาส ได้พร้อมใจกันก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ขึ้น เพื่อถวายพระราชกุศล และเฉลิมพระเกียรติคุณเทิดทูนพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
โดยมีสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฒนนนมหาเถระ) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานเมตตาอธิษฐานจิตวางศิลาฤกษ์ .. และในวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้เสด็จทรงยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานบนยอดพระเจดีย์
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายนพ.ศ.๒๕๓๓ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานในองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นับแต่นั้นมาพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้ได้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันเป็นศูนย์รวมจิตใจให้ยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ตลอดมา
ในปี พ.ศ.2555-2556 พระโสภณธรรมสาร เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้ชักชวนพุทธบริษัทร่วมใจกันบูรณปฏิสังชรณ์ปิดทององค์ระฆังจนถึงปลียอดพระบรมธาตุ และเปลี่ยนยอดฉัตรใหม่แทนของเดิมที่ชำรุดลง โดยเสริมยอมยอดฉัตร บัวหยดน้ำค้างทองคำประติษฐานผอบพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด ตลอดถึงปรับภูมิทัศน์โดยรอบทั้งหมดให้สง่างาม
ด้านข้างของพระอุโบสถเป็นพระเจดีย์องค์ใหญ่ทรงระฆังคว่ำ ที่องค์ระฆังตีหุ้มด้วยทองจังโก้สีทองดุนนูนเป็นรูปดอกประจำยามและดอกไม้สี่กลีบ ไม่มีเข็มขัด ที่ขอบองค์ระฆังประดับด้วยกระดิ่งใบโพธิ์ ล่างลงมาเป็นซุ่มจระนำที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสีทองไว้ทุกซุ้ม
ภายในพระธาตุเจดีย์พระพุทธบาทสี่รอย ประดิษฐานรอย “พระพุทธบาทสี่รอยจำลอง” ศิลปะสุโขทัยประยุกต์
มีพระประธานพระนามว่า “พระพุทธการุญกิตติคุณขจร”
พระพุทธรูป
มีพระรูปพระมหากษัตริย์ไทย อาธิเช่น พระเจ้าตากสินมหาราช พระนเรศวรมหาราช รวมถึงทั้งหลวงปู่ชีวก
วิหารพระแก้ว
ตั้งอยู่ด้านหน้พระบรมธุาตเจดีย์ อาคารสร้างด้วยสถาปัตยกรรมศิลปะล้านนา ด้านในประดิษฐาน พระแก้วทรงเครื่องจักรพรรดิ์
พลับพลาไอศูรย์สวรรค์
พลับพลาแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งคุณงามความดี และคุณูปการอย่าสูงที่ เจ้าดารารัศมี มีต่อวัดแห่งนี้
เจ้าดารารัศมี ประสูติเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2416 ณ คุ้มหลวง กลางนครเชียงใหม่ เป็นพระธิดาของ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และแม่เจ้าทิพย์สุดา .. ท่านได้ศึกาอักษรไทยเหนือ และกลา เยี่ยงเดียวกับกุลบุตร กุลธิดาในสมัยนั้น
ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าดารารัศมี เข้าถวายตัวรับราชการฝ่ายใน ในฐานะเจ้าจอม .. ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2429 ท่านจึงย้ายจากเมืองเชียงใหม่มาประทับที่ พระราชวังดุสิต
ต่อมา เมื่อพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระบิดาถึงแก่พิราลัย .. เจ้าดารารัศมีจึงทรงกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระบรมราชานุญาติเสด็จขึ้นไปเยี่ยมนครเชียงใหม่ เนื่องจากได้เสด็จมาประทับที่กรุงเทพฯเป็นเวลาถึง 22 ปี ซึ่งก็ได้รับพระบรมราชานุญาติ
อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯให้จัดพระราชพิธีสถาปนาอิศริยยศ เจ้าดารารัศมี จากเจ้าจอมมารดา เป็น พระราชชายาเจ้าดารารัศมี
เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2453 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต .. พระราชชายาเจ้าดารารัศมี ยังคงประทับ ณ พระตำหนักสวนฝรั่งกังไส พระราชวังดุสิต ..
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2557 จึงขอพระบรมราชนุญาติจาก พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เสด็จกลับนครเชียงใหม่ และดำรงพระชนชีพอย่างสงบสุข ณ ตำหนักดาราภิรมย์ จนสิ้นพระชนม์ด้วยโรคปับผาสะพิการ (โรคปอด) เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2476 ณ คุ้มรินแก้ว รวมสิริพรรษาได้ 60 ปี
มณฑปพระเจ้าทันใจ และศาสนสานอื่นๆ ภายในวัด
มณฑปพระเจ้าทันใจ ประดิษฐาน “พระเจ้าทันใจ” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนที่สำคัญ มณฑปเป็นศิลปล้านนาแบบเชียงตุง สร้างจำลองแบบมาจากที่บรรจุอัฐิของเจ้าฟ้าเชียงตุงประเทศพม่า
มณฑปแห่งนี้เจ้าวรจักร ณ เชียงตุง (ทายาทเจ้าผู้ครองนครเชียงตุง) เป็นผู้สร้าง ซึ่งมณฑปนี้ยังเป็นอนุสรณ์สถานบรรจุอัฐิเจ้าฟ้าเชียงตุงและ เจ้าแม่ทิพวรรณ ณ เชียงตุงอีกด้วย
https://www.xn--l3cni1bycd0k.com/th/story/category/detail/id/8/iid/96
https://issuu.com/gp_nuntapun/docs/watphadarabhirom-lowres
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย