30 พ.ย. เวลา 15:41 • ภาพยนตร์ & ซีรีส์

เมื่อความ Woke พาหนังเจ๊ง: บทเรียนของคนทำหนังที่ต้องเลือกระหว่างอุดมการณ์กับความบันเทิง

ในยุคสมัยที่สังคมตื่นตัวกับประเด็นความเท่าเทียมและความหลากหลาย (Diversity & Inclusion) ปรากฏการณ์ “Woke” ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในแวดวงต่างๆรวมถึงอุตสาหกรรมภาพยนตร์
ค่ายหนัง รวมถึงผู้กำกับ พยายามใส่ “Woke” ลงในหนังโดยละเลยภาพจำของผู้ชม จนทำให้เสน่ห์ของสิ่งที่ควรจะเป็นขาดหายไป
แล้ว Woke คืออะไร ?
Woke คือ การตระหนักรู้ถึงปัญหาความอยุติธรรมในสังคม ทั้งเรื่องเพศ เชื้อชาติ ชนชั้น และแสดงออกซึ่งการสนับสนุนความเท่าเทียม ในวงการหนังความ Woke ถูกนำเสนอผ่านตัวละคร เนื้อเรื่อง โดยนำเสนอประเด็นทางสังคมผ่านการดัดแปลงเนื้อเรื่องต้นฉบับ ซึ่งหลายครั้งส่งผลเสียต่ออรรถรสในภาพยนตร์อย่างมาก เพราะหนัง Woke มักฉีกขนบจากความคาดหวังของผู้ชม
1
ตัวอย่างเช่นหนังเรื่อง The Little Mermaid (2023) ของ Disney การเลือก Halle Bailey นักแสดงผิวสี มารับบทเอเรียล เจ้าหญิงเงือกน้อย ที่แตกต่างจากภาพลักษณ์เดิมๆทำให้ผู้ชมรู้สึกถูก " ยัดเยียด " ความ Woke
แน่นอนว่าเรื่องสีผิวไม่ใช่ประเด็นของเรื่องนี้ แต่เป็นภาพจำของผู้ชมที่คุนเคยกับเอเรียลในเวอชั่นต้นฉบับและคาดหวังที่จะเห็นสิ่งนี้บนภาพยนตร์
เมื่อค่ายหนังเลือกที่จะทำตรงกันข้ามก็ทำให้หนังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร รายได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้และน้อยกว่าหนังเจ้าหญิงดิสนีย์เรื่องอื่นๆ ที่เข้าฉายในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน เช่น Aladdin (2019) และ Beauty and the Beast (2017)
ประเด็นสำคัญที่ทำให้หนัง Woke เจ๊ง สาเหตุหลักๆเกิดจากความพยายาม Woke จนละเลยองค์ประกอบด้านความบันเทิง เช่น ความสนุกสนาน ความน่าติดตาม พล็อตเรื่องที่แข็งแรงและการพัฒนาตัวละครที่สมเหตุสมผล ส่งผลให้คนดูรู้สึกเหมือนถูกยัดเยียด ถูกสั่งสอน หรือถูกเทศนา มากกว่าได้รับความบันเทิง
ตัวละครไม่สมจริง การสร้างตัวละครที่ “หลากหลาย” เพียงเพื่อให้ดู “Woke” โดยไม่คำนึงถึงความสมจริง อาจทำให้ตัวละครนั้นดูจืดชืด ไร้มิติ ขาดแรงจูงใจ และไม่น่าจดจำ บิดเบือนเรื่องราวต้นฉบับมากเกินไปจนแฟนคลับไม่พอใจ ต่อต้าน และส่งผลให้แฟนคลับที่น่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายของหนัง ตัดสินใจไม่ไปดูหนังเรื่องโปรดในโรงภาพยนตร์เพราะรับไม่ได้กับความ Woke ที่มากเกินไป
ตัวอย่างหนัง Woke ที่ไม่ประสบความสำเร็จ
Charlie’s Angels (2019) หนังแอ็คชั่นรีเมค ที่พยายามนำเสนอภาพลักษณ์ “Girl Power” แบบสุดโต่ง แต่กลับล้มเหลวทั้งรายได้ และเสียงวิจารณ์
Terminator: Dark Fate (2019) ภาคต่อของหนัง Terminator ที่พยายามใส่ประเด็นเฟมินิสต์ แต่กลับถูกวิจารณ์ว่าบิดเบือนเรื่องราวต้นฉบับและตัวละครไม่น่าสนใจ
The Eternals (2021) หนังซูเปอร์ฮีโร่จาก Marvel ที่พยายามนำเสนอความหลากหลาย แต่กลับถูกวิจารณ์ว่า ยัดเยียด และไม่กลมกลืนกับจักรวาลหนัง Marvel
ความ “Woke” ในภาพยนตร์ไม่ใช่สิ่งที่ผิดหากทำอย่างพอดีและคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ หากการนำเสนอความหลากหลายและประเด็นทางสังคมสามารถทำได้อย่างแนบเนียนและทรงพลัง โดยไม่จำเป็นต้องเสียสละความบันเทิง
ผู้สร้างหนังต้องเข้าใจว่า หนังที่ดีคือหนังที่สามารถสื่อสารกับคนดูได้ทุกกลุ่มและสร้างความบันเทิงให้กับคนดู หนังที่ดีจะมีข้อคิด และประเด็นแหลมคมโดยไม่ละเลยความบันเทิงหรือแก่นของภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ
การใส่ความ Woke ลงในหนัง เปรียบเสมือนการเดินบนเส้นบางๆหากทำได้อย่างสมดุลก็จะช่วยยกระดับคุณภาพของหนัง แต่หากมากเกินไปหรือทำไม่ถูกวิธี ก็อาจนำพาหนังไปสู่หายนะ
ในฐานะผู้สร้างหนังนับว่าน่าเสียดายมาก เพราะนอกจากประเด็นที่ต้องการสื่อสารไม่ได้รับการตอบรับแลว" หนัง " ยังอาจจะเจ๊งไม่เป็นท่าด้วยเช่นกัน
โฆษณา