3 ธ.ค. เวลา 01:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า “เครดิตบูโร”

ยิ่งมีสื่อโซเชียล น่าจะคุ้นหูกับเรื่องนี้ดี เพราะสถานการณ์หนี้เสียทุกวันนี้สูงแบบน่าใจหาย โดยเจ้าสถานะเครดิตบูโรนี้จะเปรียบเสมือนประวัติการชำระหนี้ของลูกหนี้แต่ละคน ทันทีที่มีการบันทึกประวัติไปแล้ว เราไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ประวัติได้ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเครดิตของเราให้ดี เพราะว่าประวัติที่ดี มีผลต่อโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายและยังได้ดอกเบี้ยสินเชื่อในอัตราที่ดีกว่าอีกด้วย 🤩
ประวัติทางการเงินในเครดิตบูโรจะขึ้นค้างทุกสถานะ โชว์ทุกบัญชี สะสมต่อเนื่องกัน 36 เดือน หรือ 3 ปี แม้ว่าข้อมูลจะไม่สามารถเช็คได้ทันทีแบบ real time แต่ก็ถือว่าอัพเดตค่อนข้างไวอยู่ ประมาณทุกๆ วันที่ 20 ของแต่ละเดือน
เรื่องเครดิตบูโรนี้ ไม่มีกฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้ทุกคนต้องเข้าระบบฯ แต่เป็นความสมัครใจของเจ้าหนี้ในการส่งข้อมูลเครดิตของลูกหนี้เพื่อให้สถาบันฯ จัดเก็บ ฉะนั้น จึงมีผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล หรือ สหกรณ์ บางรายที่อาจไม่ได้อยู่ในระบบเครดิตบูโรก็ได้ และทำให้ไม่สามารถเช็คประวัติสินเชื่อลูกหนี้จากผู้ให้บริการสินเชื่อรายนั้นๆ ได้
ทีนี้กับคำถามที่ว่า แล้วค้างค่าบัตรเครดิตนานเท่าไหร่ 🤨 ถึงจะเรียกว่าเป็น “หนี้เสีย” หรือ NPL
ศัพท์เทคนิคในเรื่องนี้จะมีคำที่ควรรู้ คือคำว่า DPD หรือ Day Pass Due ครับ ซึ่งหมายถึง จำนวนวันที่เลยจากวันกำหนดชำระคืนหนี้สินเชื่อ กรณีที่ค้างจ่ายในช่วง 1-90 วันหลังครบกำหนดชำระ แน่นอนว่า สถานะยังคงเป็นปกติครับ ไม่มีปัญหาอะไร ซึ่งเวลาข้อมูลเครดิตบูโรแสดงก็จะขึ้นว่า ”สถานะรหัส 10“ แต่สิ่งที่ตามมา แม้จะยังมีประวัติเป็นลูกหนี้ชั้นดี ไม่ใช่หนี้เสียนั่นคือ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระครับ
แต่ทันทีที่เราค้างชำระหนี้บัตรเครดิตถึงวันที่ 91 ปุ๊ป หรือนับง่ายๆ คือ 3 รอบบิล นั่นคือเข้าสู่วงจรของการเป็นหนี้เสียแล้วครับ ซึ่งเจ้าหนี้จะเริ่มพิจารณาดำเนินการขั้นต่อไปตามแต่ความประพฤติของลูกหนี้ หากกรณีลูกหนี้เบี้ยวแล้วไม่รับสาย ติดต่อไม่ได้ด้วย ทำให้เจ้าหนี้คิดได้ว่า ลูกหนี้ไม่มีความตั้งใจในการชำระคืน จะมีผลกับระยะเวลามาตรการติดตามทวงถามที่รวดเร็วขึ้นของเจ้าหนี้
ที่สำคัญ ทันทีที่เป็นหนี้เสียแล้ว เจ้าหนี้มีหน้าที่ส่งข้อมูลหนี้เสียของลูกหนี้ “สถานะรหัส 30” เข้าระบบเครดิตบูโร ซึ่งข้อมูลประวัติหนี้เสียนี้จะค้างในระบบนาน 3 ปี (หรือ 36 เดือน) และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ยังมีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลต่อเนื่องเข้าระบบเครดิตบูโรอีก 5 ปี ฉะนั้น รวมๆ แล้วประวัติเครดิตเสียของเราจะคงอยู่ในระบบเท่ากับ 8 ปีโดยประมาณ ซึ่งนานมากเลยทีเดียว 😱
สนใจอ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติมและพอดแคสท์การเงินดีๆ มาร่วมเป็นเพื่อนบ้านกับ THEE PLANS 🦌 กันครับ https://thee.pw/LinkTree
#หมอหนี้ #ธนาคารแห่งประเทศไทย
#วางแผนชีวิต #วางแผนการเงิน
#THEEPLANS
#FinancialSolutions
#STANDbyYOU
โฆษณา