2 ธ.ค. เวลา 04:56 • ปรัชญา
1. เราควรต้องนิยามศัพท์แสงให้ตรงกันก่อน ต้องไม่ลืมว่าสมัยครั้งพุทธกาล ผู้ที่บรรลุธรรม ไม่ได้นั่งสมาธิ หรือเดินจงกรมกันทั้งวันทั้งคืน หรือตัดขาดจากโลกภายนอกแล้วจึงบรรลุธรรม แต่บุคคลเหล่านั้น "ได้ฟังพระธรรมจากพระโอษฐ์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วจึงบรรลุธรรม" ดังนั้น การฟัง หรือการได้ยินอะไรมา จึงสำคัญมากที่สุดในชีวิตมนุษย์ สังเกตดูก็ได้ว่าเมื่อคุณเกิดมา ธรรมชาติต้องการให้คุณเห็นและได้ยิน เพื่อที่จะฝึกฟัง ก่อนที่จะพูดได้
2. เมื่อเราได้ยินคำว่า "มูเตลู" เราต้องตั้งสติ เริ่มใคร่ครวญวิปัสสนา ว่าคำนี้มาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร หากเราหยิบยืมมาจากภาษาตปท. เรายิ่งต้องใคร่ครวญว่ามันหมายถึงอย่างใดกันแน่ คำนี้ถูกสันนิษฐานว่ามาจากบทในภาพยนต์ตปท.ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการทำเสน่ห์
3. สมมุติว่าเราหยิบ "มูเตลู" มาใช้ โดยนิยามว่าหมายถึง การใช้วิธีใดๆ เหนือธรรมชาติ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ในการเอาชนะแรงปรารถนา และมีความเชื่ออย่างแรงกล้า เราก็จำต้องยอมรับว่า มันคือชุดความเชื่อหนึ่งในสังคม" ซึ่งไม่เกี่ยวกับศาสนาใดๆ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคล
4. อย่างไรก็ตามชุดความเชื่อต่างๆ มีพื้นฐานมาจากความไม่รู้ บวกกับความกลัวและแรงปรารถนาต่างๆ และสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจาก "จิตที่ปรุงแต่ง" ดังนั้นแต่ละศาสนาจึงพยายามเข้ามาทำหน้าที่กำหนดทิศทางการดำเนินชีวิตที่ดีที่สุดสำหรับมนุษย์
สรุปการมูฯไม่เกี่ยวกับศานาใดๆ
มันคือชุดความเชื่อ
และไม่ได้แปลว่าคนที่ไปมูฯ โง่งมงาย
มันอาจเป็นเพราะพวกเขาไม่มีทางเลือก
หมดสิ้นหนทาง หรือไม่ก็ทำไป
ด้วยเหตุผลทางสังคมที่พวกเขาดำรงอยู่
...และที่จริงแล้ว....
แม้แต่การจุดธูปไหว้พระ การไหว้ศาล จุดประทัด
การบนบาน การไหว้แม่ย่านาง
เหล่านี้ก็คือแรงปรารถนา เหนือธรรมชาติทั้งสิ้น
พระพุทธเจ้า ไม่เคยสอนให้จุดธุปไหว้พระ
โฆษณา