2 ธ.ค. เวลา 11:30 • หนังสือ

“วงการฟรีแลนซ์มันอยู่ยาก ไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้”

สิ่งที่ฟรีแลนซ์ต้องรู้จากหนังสือ “ว่างงานแต่ไม่ว่างเงิน”
หลายคนคงรู้ดีว่าการเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัวไม่ง่าย ทั้งความเสี่ยงด้านปริมาณงาน การจ้างงาน รวมถึงเรื่องค่าตอบแทนที่มักเข้ามาแบบไม่สม่ำเสมอ ถ้าวางแผนไม่รอบคอบเพียงพอปัญหาด้านการเงินจะตามมาแน่นอน ทำให้บางคนต้องกลับไปทำงานประจำ
วันนี้ aomMONEY อยากนำเสนอวิธีการคิดและการจัดการการเงิน จากหนังสือ “ว่างงานแต่ไม่ว่างเงิน” เขียนโดย โยอิจิ อิโนะอุเอะ และแปลโดย มนชนก มากบุญประสิทธิ์ ที่ทำให้เห็นว่าวิถีที่จะไปสู่การเป็นฟรีแลนซ์เต็มตัวมีสูตรสำเร็จด้านการเงินอย่างไร การสร้างความมั่นคงในหน้าที่การงานให้เทียบเท่าหรือดีกว่าการทำงานประจำ สามารถรับผิดชอบดูแลตัวเองและครอบครัวได้
จากประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนที่เคยเป็นพนักงานประจำก่อน 8 ปี แล้วเลือกออกมารับงานฟรีแลนซ์หรืออยากทำงานอิสระเอง เนื้อหาค่อนข้างครอบคลุมจึงเกิดเป็นวิธีคิดและ Know how 4 บทหลักๆ สำหรับการเป็นฟรีแลนซ์ คือ
📖บทที่ 1 เตรียมใจ “กฎเพื่อจะได้มีกินตลอดชีวิต 8 ข้อ”
ข้อนี้จะเน้นถึงแนวความคิดพื้นฐานและการมองว่างานฟรีแลนซ์ไม่ใช่การเน้นหาเงินให้ได้เยอะ แต่ต้องปรับให้มีกินมีใช้อย่างไม่ขัดสนในระยะยาวครับ
เริ่มจากการโฟกัสเป้าอย่างชัดเจน ต้องรับรู้และตอบตัวเองให้ได้เสมอว่าทำไมถึงออกมาเป็นฟรีแลนซ์ และพฤติกรรมที่ต้องทำให้เป็นนิสัยเลยคือ
1. ต้องตระหนักว่ามีเรื่องที่เราทำไม่ได้ และต้องกล้าปฏิเสธงานที่ไม่ถนัดด้วย ผู้เขียนได้แบ่งงานในอุดมคติฟรีแลนซ์ ออกเป็น 4 แบบ คือ
➡️ อยากทำ และ ได้เงินมาก = งานในอุดมคติ
➡️ อยากทำ แต่ ได้เงินน้อย = งานที่ทำให้ทุกข์ใจ กลุ้มใจ
➡️ ไม่อยากทำ แต่ ได้เงินมาก = งานที่เราอาจทำออกมาไม่ดี
➡️ ไม่อยากทำ และ เงินน้อย = งานที่เราอาจทำออกมาไม่ดี และไม่มีความสุข
2. ต้องเป็นมืออาชีพ รักษาสัญญาและคำพูด หากรับปากรับงานมาแล้วต้องรับผิดชอบจนจบงานให้ได้
3. ต้องส่งให้ทันกำหนด รักษาความเร็วและการบริการเพื่อรักษาลูกค้าให้ได้ด้วยตัวเอง
4. ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ต้องรักษาสุขภาพเพราะถ้าป่วยขึ้นมาหมายความว่าจะขาดรายได้ไปเลย
การหาเงินเยอะๆ เป็นก้อนไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตฟรีแลนซ์เสมอไป ทว่าการหาเงินให้ได้สม่ำเสมอต่างหากคือคำตอบ ที่สำคัญกว่าเงินก็คือ “เวลา” อย่าใช้เวลาอย่างฟุ่มเฟือย เพราะทุกคนมีเวลาเท่ากัน เราสามารถใช้แรงทำงานเพิ่มได้ ตามจำนวนงานที่เรารับงานมา แต่เราไม่สามารถสร้างเวลาเพิ่มได้
📖บทที่ 2 สร้างงาน “ที่มีแต่เราเท่านั้นที่ทำได้” ขึ้นมา
2
เมื่อมีเป้าหมายแล้วต่อมาคือการค้นหาจุดเด่นหรือจุดแข็ง คือ จุดตัดคู่แข่งในตลาด หรือการสร้างอิทธิพล ว่าเราสามารถทำงานอะไรได้บ้าง? โดยเขียนออกมาเป็นข้อๆ ยิ่งละเอียดมากยิ่งดี เพราะมันจะโยงไปยังการมองกลุ่มลูกค้าที่ชัดขึ้น ง่ายต่อการรับงานและเข้าถึงลูกค้า
โดยการระบุความสามารถตัวเอง ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดแค่งานด้านใดด้านหนึ่ง เพราะอาจเอาสิ่งที่เราถนัดหรือสนใจมาผสมผสานเป็นสิ่งที่มีแต่เราเท่านั้นที่ทำได้ ซึ่งจะสโคปคู่แข่งและตลาดให้แคบลง เช่น เป็นฟรีแลนซ์ทำบัญชี และกำลังสนใจศึกษาการทำเวปไซต์ก็อาจจะเขียนเวปไซต์สำหรับรับงานตรวจบัญชี เป็นต้น
ส่วนการตั้งราคาก็ควรดูราคามาตรฐานตลาด และต้องแจกแจงให้ละเอียดชัดเจน ควรตั้งราคาต่อชิ้นให้สูงไว้แล้วแบ่งเป็นแพกเก็จหลายๆ ตัวเลือกให้ตอบโจทย์ลูกค้า รวมถึงกำหนดขอบเขตการทำงานให้ชัดเจนจะช่วยลดการต่อรองราคา หากโดยต่อรองราคาจริงๆ ให้เราเลือกลดงานบางอย่างออก ให้เลือกงานหลายรูปแบบ/หลายช่องทาง/หลายอุตสาหกรรม เพื่อรับเงินหลายๆ ทาง ป้องกันความเสี่ยงการถูกเลิกจ้างจากเจ้าใดเจ้าหนึ่งก็ยังมีเจ้าอื่นรองรับ ผู้เขียนแนะนำให้ รายได้หลักจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งไม่ควรเกิน 30% เพื่อลดความเสี่ยงการขาดรายได้กระทันหัน
ข้อแนะนำ 6 หลักการรับงานของฟรีแลนซ์ คือ
1. งานที่มีอิทธิพลสูง คือ งานนั้นสามารถใส่พอร์ตฟอลิโอได้ต่อหรือได้รับการเผยแพร่ในสเกลใหญ่
2. งานที่ค่าตอบแทนต่อชิ้นก็สูง แน่นอนว่าค่าตอบแทนของงานที่จะเลือกรับต้องสมเหตุสมผลด้วย
3. งานที่ทำให้ลูกค้าดีใจ คือ งานที่ตอบสนองลูกค้าได้ตรงจุดและต่างฝ่ายต่างมีความสุข
4. งานที่เราเท่านั้นที่ทำได้
5. งานที่ทำแล้วสนุก คือ เพื่อตอบสนองตัวเอง
6. งานที่ทำให้เราเติบโต คือ ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ เพื่อการต่อยอดรับงานที่หลากหลายในอนาคตได้
1
📖บทที่ 3 “เล่าตัวตน” เพื่อเรียกงานที่อยากทำเข้ามาหา
2
จากที่อ่านสรุปได้ว่าฟรีแลนซ์ต้องรู้จักหาช่องทาง “โฆษณาตัวเอง” ให้เป็น เรียกงานให้เข้ามาเราเองด้วยเครื่องมือออนไลน์ตอนนี้ก็มีหลากหลายให้เลือกนำเสนอ อย่างเช่นการเขียน “บล็อก” เพราะสามารถเขียนและนำเสนอลักษณะแนวทางงานที่ถนัด โชว์ความสามารถ ผลงาน จุดเด่นที่เราลิสต์ไว้ในข้อ 2.ให้เห็นเป็นรูปธรรม ให้ลูกค้ารับรู้และเห็นคุณค่า
เราต้องเสนอสิ่งแตกต่างจากเจ้าอื่นหรือที่คนอื่นทำไม่ได้ และเลียนแบบยาก คำแนะนำจากผู้เขียนคือ ให้เลือกเขียน เนื้อหาที่ลึกมากกว่าใหม่, เขียนวิธีการแก้ปัญหาที่พบมา, เขียนคำตอบที่มีคำถามเข้ามาบ่อย ๆ, เขียนเนื้อหาที่เป็นสิ่งที่ได้รับหรือได้เรียนรู้มา, เขียนเรื่องที่เคยมีประสบการณ์ตรงเหมือนเล่าสู่กันฟัง
โดยหนังสือเล่มนี้แนะนำให้เขียนบล็อกอย่างน้อย 1 ปี เพื่อสร้างพอร์ตสะสมตัวงานให้ชัดเจน และต้องสร้างช่องทางการติดต่องานที่ดีด้วย
📖บทที่ 4 “หมุนเงิน” วิธีใช้เงินให้เกิดประโยชน์แบบฟรีแลนซ์มืออาชีพ
คำว่าหมุนเงินจากหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้หมายถึงการหมุนเงินแบบเดือนชนเดือนหรือไม่พอใช้ แต่หมายถึงต้องรู้จักเอาเงินไปลงทุนต่อยอดเรื่องที่คุ้มค่า เพื่อให้กลับมาสร้างคุณค่าและรายได้ให้เพิ่มขึ้น รวมถึงการลดค่าใช้จ่ายและภาษีด้วย สิ่งที่คุ้มค่าต่อการทุ่มเงินลงทุน คือการลงทุนเพื่อพัฒนาตนเอง
หนังสือได้ยกตัวอย่าง เช่น การเพิ่มทักษะสื่อสาร ฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและป้องกันการเข้าใจผิดได้, การสัมนาอบรมเพื่อพบปะคนและเข้าสังคมมันคือการสร้างคอนเนกชัน, การลงทุนกับอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่จำเป็นก็จะเอื้อต่อการทำงาน เช่น โนตบุ้ค อินเทอร์เนต หรือลงทุนกับสิ่งที่ทำให้สุขภาพดี
และต้องใช้จ่ายอย่างระมัดระวังไม่เสียเงินไปกับเรื่องที่ไม่ได้ประโยชน์ เช่น การมีออฟฟิศเพราะสมัยนี้สามารถใช้โคเวิร์กกิงสเปซได้ หรือการลงเงินไปกับการตีพิมม์หนังสือตัวเอง เป็นต้น
ฟรีแลนซ์ควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อจัดการกระแสเงินสด (cash flow) โดยต้องจดรายการเงินเข้าออกอย่างเป็นระบบ เพื่อติดตามและวางแผนหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่เงินไม่พอ และรู้จักวางแผนภาษีด้วยตัวเอง
ทริกอีกอย่างหนึ่งคือการรับงานแต่ละชิ้นให้ตกลงรับเงินล่วงหน้าด้วย เมื่อได้เงินมาต้องแยกบัญชีค่าใช้จ่ายส่วนตัวออกจากค่าใช้จ่ายธุรกิจออกจากกันอย่างชัดเจน
#aomMONEY ฝากทิ้งท้ายไว้ว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะกับฟรีแลนซ์ คนที่อยากทำงานอิสระ ลองไปหามาอ่านดู เพราะก็ยังมีข้อแนะนำอีกหลายอย่างที่ค่อนข้างอินไซต์และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงครับ
#aomMONEY #Money #Moneymanagement #การเงิน #ออม #วางแผนการเงิน #ว่างงานแต่ไม่ว่างเงิน #ฟรีแลนซ์
โฆษณา